วงเสวนา 90 ปี อภิวัฒน์สยาม : ยุคคณะราษฎรก่อสำนึกใหม่จากพลเมืองถึงอาหารการกิน/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ

 

วงเสวนา 90 ปี อภิวัฒน์สยาม

: ยุคคณะราษฎรก่อสำนึกใหม่จากพลเมืองถึงอาหารการกิน

 

วันที่ 23 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา เมื่อเวลา13.00 น. ณ ห้องริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สำนักพิมพ์มติชน วารสารศิลปวัฒนธรรม ศูนย์ข้อมูลมติชน มติชนสุดสัปดาห์
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดงาน 90 ปี 2475 อภิวัฒน์สยาม ในวาระครบครอบการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยในช่วงเสวนา (อ่าน) 90 ปี คณะราษฎร อดีต ปัจจุบัน อนาคต

มีผู้ร่วมเสวนาอาทิ นริศ จรัสจรรยาวงศ์ ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริงและ ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสง

ในช่วงแรก ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และดร.ตามไท ดิลกวิทยวัฒน์ ได้กล่าวปาฐกถาในวาระครบปีที่ 90 ของประชาธิปไตยในไทยว่า

ดร.ตามไท กล่าวว่า การศึกษาเหตุการณ์ 2475 มีอะไรที่ยังรอการศึกษาต่อ ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าเรื่อยๆ การศึกษา 2475 แรกๆเริ่มกันในปี 2500 คนกลุ่มแรกที่สนใจคือ คนสนใจที่จบจากสหรัฐฯในด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ตอนนั้นในปี 2500 เป็นยุคเผด็จการและเศรษฐกิจด้อยพัฒนา
นักวิชาการอยากรู้ว่าความด้อยพัฒนาเริ่มจากตรงไหน ความสมัยใหม่ก็มาจากปี 2475 คนส่วนใหญ่มองเหตุการณ์นี้เชิงลบ นั้นทำให้มีคนมองว่าทำไมถึงมอง ทำไมทำให้เศรษฐกิจไทยด้อยพัฒนา

แต่พอหลังปี 2520 การศึกษา 2475 เริ่มขยายตัวและมีความเปลี่ยนแปลง จากการทำงานทั้งนักวิชาการอย่างชาญวิทย์ ตัวอ.ชาญวิทย์คือส่วนหนึ่งของการสร้างองค์ความรู้นี้ ตลอด 40 ปีมีงานด้านนี้มากขึ้น
โดยมี 3 ระยะ

ระยะแรกคือ การศึกษาปัญหาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เราเน้นว่า คนก่อการคือใคร แต่เวลาต่อมามีการศึกษาแล้วว่า ก่อนเหตุการณ์ 2475 ระบอบเก่ามีปัญหาแล้ว แม้แต่คนในระบอบเก่ายังรู้สึกได้
เช่นงานศึกษาของนครินทร์ เบนจามิน ไชยันต์ รัชชกูล กุลลดา เกตุบุญชู

ระยะที่สอง ศึกษาคนที่เกี่ยวข้องกับอภิวัฒน์สยาม ก่อนหน้าเราสนใจสมาชิกคณะราษฎร แต่หลังๆศึกษาคนที่ได้รับผลจากเหตุการณ์ เช่น ข้าราชการ ชาวนา กรรมกรรวมถึงงานศึกษาคนที่เรียกว่า ปฏิปักษ์อภิวัฒน์ทำให้ภาพเหตุการณ์ที่กว้างมากขึ้น มีความเห็นหลายแง่มุม

และระยะที่สามที่สำคัญและขยายตัวมาก เป็นงานที่ศึกษาผลกระทบ 2475 ไม่ใช่เหตุการณ์แต่หลังจากนั้น นี่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะคนก่อการมีภาพอนาคตที่สร้างอยากเห็น ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่ความพยายามนี้มีอยู่จริง

ในช่วงคณะราษฎรอยู่ พวกเขาพยายามทำอะไร มีนโยบายอะไรที่จะทำบ้าง เป็นคุณูปการมากที่ปัจจุบันพยายามทำ ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงความรับรู้ในคนรุ่นใหม่มากขึ้น สำนึกประวัติศาสตร์แบบใหม่มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอนาคต และงานศึกษาแนวนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ งานศึกษาหลายที่ พบว่ามีการศึกษาผลพวงของการก่อการของคณะราษฎรมากขึ้น ซึ่งน่าสนใจมากว่า หลัง 2475 ก่อความเปลี่ยนแปลงเป็นวงกว้าง

ด้านชาญวิทย์ กล่าวว่า 23 มิถุนายนวันนี้ พรุ่งนี้ เป็นวันยลมหาศรีสวัสดิ์ เป็นเพลงที่ผมโตขึ้นมาในช่วงปลายรัฐบาล จอมพล ป. เมื่อผมรู้ความและเรื่องราวบางอย่างในประวัติศาสตร์ ผมร้องเพลงนั้นเป็นอย่างดี แต่เอาเข้าจริง เรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติ 2475 จะใช้คำว่า การอภิวัฒน์ รัฐประหาร ก็ยังได้ เป็นหนึ่งในบรรดารัฐประหารทั้งหลาย แต่ผมสมัคใจเรียกว่าเป็นปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475
ผมมาวันนี้ นึกถึงนักพูดคนหนึ่ง เขาหยิบหนังสือกองใหญ่และเอามาวางให้ทุกคนเห็น ผมหยิบมาหลายเล่มนะครับ

มีเล่มที่ผมภูมิใจมาก ที่ตั้งชื่อหลอกว่า จาก 14 ถึง 6 ตุลา นั้นคือ 14 ตุลาคม 2516 จนถึง 6 ตุลาคม 2519 ประวัติศาสตร์พิสดารของสยามสมัยใหม่

ผมมีอีกเล่มที่มาอวด เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ เล่มสุดท้ายในชีวิตแล้ว ผมอายุ 80 ปีแล้ว ผมเป็นคนรุ่น Builder ก่อนเบบี้บูม พวกเขาเป็นลูกศิษย์ผม ผมสอนที่ธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2486 มีลูกศิษย์ทั้งดีและชั่ว
คุณจะโทษใครก็ได้ในประวัติศาสตร์ พวกเขาถูกบังคับให้เรียนอารยธรรมไทยกับผม ที่สอนว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ผมเขียนเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษจะพยายามแปลไทย แต่ไม่รู้ว่าแปลแล้วจะอยู่รอดไหม

ในส่วนตัวของผมแล้ว ผมเรียนรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รุ่น 12 แล้วเปลี่ยนเป็นประวัติศาสตร์ตอนปริญญาเอก แม้ผมได้เกียรตินิยมของรัฐศาสตร์ก็ตาม ผมอยู่ในกะลานะครับ

ผมได้ถามอ.ณัฐพล ผมถามว่า อาจารย์ตาสว่างเมื่อไหร่ เขาตอบ ตอนเรียน ป.โท ผมเรียนปริญญาโทรที่ UCLA ผมก็ยังตาไม่สว่าง แต่พอเรียนป.เอกประวัติศาสตร์ ผมตาสว่าง เราไม่รู้เรื่องจริงๆ
ประวัติศาสตร์ไทยที่เราเรียน ไม่น่าเป็นประวัติศาสตร์แต่เป็นลัทธิทางการเมืองมากกว่า ผมเลยเริ่มอ่านหนังสือในห้องสมุด อย่างที่ทราบกันดี ก่อนเป็นห้องสมุดดีๆใช่้เวลานานมาก

สมัยผม ยากเย็น ธรรมศาสตร์สมัยที่้มีจอมพลถนอมเป็นอธิการบดี ขณะที่จุฬาฯมี จอมพลประภาสเป็นอธิการบดี ประหลาดมหัศจรรย์มาก ผมใช่้เวลานานมากจนเรียนจบปริญญาเอกจนรู้ว่าไทยถูกครอบงำด้วยอคติ เป็นจุดเปลี่ยนของผม ผมอาจโม้ได้ว่า เมื่อท่านปรีดี ย้ายจากจีนในปี 2513 ผมบังเอิญอยู่ปารีสพอดี ผมมีเพื่อนที่โน่นเยอะ มีหอแองแตร์ ที่รวมของนักศึกษาจากหลายประเทศ เราก็คบหาสมาคม คุยการเมืองกัน เริ่มรู้จักท่านปรีดีเขียน

การพบปะของสมาชิกคณะราษฎรที่ ลูซง เดอ มารา ท่านปรีดีย้ายอยู่ปารีสก็ได้พบท่านครั้งแรกในชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข เลี้ยงข้าวด้วยข้าวคลุกกะปิ ผมจดจำจนถึงวันนี้ ทำให้ผมสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับปฏิวัติ 2475 ที่ผมเขียนค่อนข้างละเอียด ผมขอกล่าวว่า ในบทแรกๆของหนังสือของผม ผมใช้เวลาเขียนหลายปี เอาเข้าจริงคือเขียนไม่จบ ผมตั้งใจให้ผมจบประมาณตุลาๆ แล้วอยู่มาที่ 6 ตุลา พอดี ผมอยู่กับอ.ป๋วย จนลี้ภัยกัน

ผมเขียนว่า “ถ้าต้องการรู้เรื่องราว 2475 ของสยาม ท่านต้องศึกษาเรื่องราวในวันศุกร์ที่ 24 ถึงวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2475 จบลงที่มีรัฐธรรมนูญ การตั้งรัฐสภา มีการเปิดประชุมสภา 5 วันจบ ขอเวลาเพียง 5 วัน ไม่ได้ขอนาน 8 ปีนะครับ 5 วันนี้สำคัญมาก ประเด็นต่อมา เราต้องทำความเข้าใจ 90 ปีที่แล้วคือ เรื่องราวของคณะราษฎรและคณะเจ้า การมีคณะราษฎรตามนัยยะ ก็ต้องมีคณะเจ้า การมีสยามใหม่ของรัชกาลที่ 5 ก็ต้องมีสยามเก่าของขุนนางเก่านำโดยตระกูลบุนนาค เราต้องศึกษาขบวนการที่ปารีส เห็น 2 ด้านของ 2475 คุณจะมองหาวีรบุรุษหรือแพะ จะด้วยอะไรไม่ทราบ ท่านหลุดข้อหาล้มเจ้า ไม่เป็นแพะ แต่ทั้งจอมพล ป.และปรีดีถูกทำให้เป็นแพะ

ยายผมเป็นครู อยู่ตลอดสงครามโลก กินหมากไม่หยุด ไม่ได้ตัดผมแบบสมัยใหม่ ทำไมยายไม่โดนจอมพลป.บังคับให้เปลี่ยน ทั้งที่อยู่ปากน้ำ ผมเลยรู้สึกว่า เรื่องราวที่เคยได้ยินเกี่ยวกับจอมพล ป.เป็นการกุหาให้เป็นแพะ เช่นเดียวกับปรีดีหรือไม่ คือเรื่องกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 เรื่องราว 2475 มีทั้งบวกและลบ เป็นวาทกรรมที่ผู้มีอำนาจสร้าง “วาทะ” และเรารับ “กรรม”

เราต้องดูภูมิศาสตร์สังคม ชนชั้นนำ อุดมการณ์ชาตินิยมและประชาธิปไตย เราจะเข้าใจวันนี้ เราต้องเข้าใจประวัติศาสตร์พิสดาร เราต้องย้อนดูกลับไปว่าก่อนหน้าเหตุการณ์ 2475 มีเหตุก่อการ รศ.131 ของคณะหมอเหล็ง หรือย้อนไปอีกเท่าไหร่ วันนี้เราย้อนกลับไป 90 ปี หรือย้อนไป 60 ปี 150 ปี เราจะกลับไปยัง รศ.130 หรือคำกราบบังคมทูลรศ.103 ที่ขุนนางเชื้อพระวงศ์อยากให้มีรัฐสภา แบบเดียวกับปฏิรูปเมจิ เกิดพร้อมกับปฏิรูปในรัชกาลที่ 5 แต่สยามหาได้ปฏิรูปอยากจริงจังไม่

จุดสำคัญคือ หมอบลัดเรย์ เรารู้จักกันในแง่การแพทย์สมัยใหม่ หมอบลัดเรย์มีบทบาทสำคัญผ่านมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ ในแง่ยา วัคซีน กันไข้ทรพิษ โรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลสมัยใหม่ในการรักษา หมอบลัดเรย์ เป็นทั้งแพทย์ ครูสอนศาสนาและนักหนังสือพิมพ์ ผมภูมิใจ อ.ขรรค์ชัย เอารูปหล่อหมอบลัดเรย์ขึ้นตั้งไว้ หมอบลัดเรย์ออกหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ ภาษาไทยฉบับแรก แปลรัฐธรรมนูญอเมริกา สมาชิกร้อยกว่าคนของหนังสือพิมพ์ บางคนจ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง คนอ่านนี่มีพระจอมเกล้า
มีพระปิ่นเกล้า มีเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ มีคณบดีอยู่ต่างจังหวัด ดูรายชื่อแล้ว สยามประเทศไม่ได้เชยนะ ในโลกที่กำลังเปลี่ยนสู่สมัยใหม่สยามประเทศรับรู้แล้ว แล้วทำไมเราถึงช้า

ถ้าเรามองกลับไป เอาเข้าจริง ปฏิวัติ 2475 ไม่ได้ชิงสุกก่อนห่ามหรอก แต่มาพร้อมกระแสสมัยใหม่ทั่วโลก ถ้าดูประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ที่ปรีดีเขียนไว้ เขียนว่าไทยเป็นประเทศสุดท้ายที่ยังไม่ได้ปฏิวัติประชาธิปไตย สหรัฐฯในยุควอชิงตัน เขาตั้งราชวงศ์ได้นะแต่เขาไม่เอา จากสหรัฐฯไปสู่ฝรั่งเศส ตรงกับยุครัชกาลที่ 1 เอาเข้าจริง มี 1776 มี 1789 มี 1911 ปฏิวัติซิงไห่ ซึ่งตรงกับรศ.130 ของคณะก่อการหมอเหล็ง เราชิงสุกก่อนห่ามจริงหรือ ทั้งที่ไทยและนอกประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

มีบทหนึ่งสั้นๆที่ผมกำลังแปล รัชกาลที่ 7 กับปัญหาประชาธิปไตยและความไม่พร้อมของสยาม ใครไม่พร้อมกัน ลองศึกษาดู รวมถึงในที่สุดหนีไม่พ้นว่า ความเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น ถ้าไม่มีทหารกลุ่มหนึ่งก่อการ การอภิวัฒน์สยามของไม่สำเร็จ คณะทหารนำโดย พระยาพหลฯ คนกลุ่มนี้ อ.ณวัฒน์ผู้ล่วงลับเ ขียนเรื่อง 2475 ระบุว่า คณะทหารพระยาพหลฯเป็นพี่ใหญ่ ส่วนจอมพล ป.เป็นรุ่นน้อง

มีคนเคยเสนอให้ตั้งชื่อถนนสายใต้ว่า พิบูลสงคราม แต่จอมพลป. ปฏิเสธ เลยเป็นชื่อ ถนนเพชรเกษม

ผมขอจบว่า ถ้าเราจะเข้าใจ 24 มิถุนายน 2475 เข้าใจ 90 ปี มีความเห็นหลายด้านมาก เราต้องศึกษาในแง่ประวัติศาสตร์ระยะยาว เราถึงจะรู้ว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มีกระบวนการใหญ่โตมาก ต้องดูระยะยาวและเปรียบเทียบ ไม่รู้จะเปรียบกับใคร เปรียบกับพม่าก็ได้ว่าใครถึงประชาธิปไตยก่อนกัน

ต่อมาในช่วงเสวนา เมื่อถามถึงช่วงก่อนเหตุการณ์อภิวัฒน์สยาม จริงไหมกับวาทกรรมอภิวัฒน์เป็นเรื่องคนกลุ่มเดียว ณัฐพลกล่าวว่า การปฏิวัติ 2475 เป็นปฏิบัติหลัก คนจะรู้น้อยมาก แต่สำหรับคนธรรมดาในเมือง รู้สึกเหมือนกับคนยุคนี้ว่า ไม่มีความหวังว่ารัฐบาลจะพาประเทศรอดไหม คณะราษฎรก่อการอย่างฉับพลัน แต่คนจำนวนมากไม่มีการต่อต้าน ชนบทก็ไม่มีปฏิกิริยา เพราะไม่อยากยุ่ง คนชนบทยังไม่ได้สนใจ ไม่แน่ใจว่าระบอบใหม่เป็นยังไง จนรัฐบาลยุคณะราษฎรตั้งกระทรวงโฆษณาการ ให้ข้อมูลจนชนบทรับรู้ และคนหนุ่มสาวก็รับรู้ทั้งระบอบเก่าและใหม่ ผมศึกษาหนังสือในช่วงนั้น ม.8 คนที่มีชีวิตหลังปี 2475 ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง คนหนุ่มสาวสมัยนั้นไม่ได้ต่อต้านแถมกลับชื่นชม

คนส่วนใหญ่ไม่อยากยุ่งกับอำนาจรัฐ คนที่รับรู้ก็ไม่ได้ต่อต้าน 90 ปีที่แล้ว ฟังข่าวก็ไม่ได้ต่อต้าน คนทั่วไปเม้ามอยกับรัฐบาลเก่าอย่างมาก การปฏิวัติสยามนั้นทำแบบฉับพลัน ไม่มีคนรู้มาก ไม่งั้นการก่อการจะไม่สำเร็จ ไม่ให้เหมือนกรณีคณะรศ.130 ซึ่งปรีดีรับรู้จากอดีตผู้ก่อการว่าล้มเหลวเพราะอะไร ต่อมาก็มีการจัดตั้งกลุ่มเล็กๆแยกกัน อ.ปรีดีเรียนรู้ประสบการณ์จากรศ.130 มาเป็นองค์กรจัดตั้ง แบ่งหน้าที่ตัวเองชัดเจน ไม่รู้จักกัน พองานจบก็มาพบกันทุกคน

ด้านนริส กล่าวว่า ผมเคยได้ทำการศึกษา กรณีพุทธทาสกล่าวถึงเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม ตอนนั้นท่านอายุ 26 ปี อ.ปรีดีอายุ 32 จอมพล ป. 35 ปี พุทธทาสได้เทศน์ในปี 2486 กับชาวบ้าน เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
ตอนปฏิวัติใหม่ๆ ท่านทราบ แต่คำเทศนาที่พบ ตอนที่หลวงพิบูลสงครามขึ้นเป็นนายกฯ ในปี 2481 ท่านพุทธทาสในวัย 32 เทศน์ยาว 8 หน้ากระดาษเพื่อสนับสนุนระบอบใหม่ ท่านแต่งกลอนรัฐนิยม เปลี่ยนชื่อจาก สยาม เป็นประเทศไทย ที่สำคัญปีนี้ วันเกิดจอมพลป. ตรงกับวันเข้าพรรษา (14 กรกฎาคม)

ในปี 2482 เราเห็นบทกลอนพุทธทาสสนับสนุนรัฐนิยม ในความเห็นเรา สื่อสมัยใหม่มีผลมาก ถ้าหอจดหมายเหตุจะทำ ก็น่าสนใจ ถ้าเห็นก็จะชัดเจนว่า ความเป็นฟาสซิสต์ไม่ใช่เรื่องผิดปกติในตอนนั้น
ผมชมอ.ณัฐพลในการใช้เอกสารชั้นต้น เราไปค้นแล้ว อย่างกรณีพุทธทาส อาจเคยโจมตีกรณีแนวคิดธรรมิกสังคมนิยม แต่เอกสารชั้นต้นสะท้อนวิธีคิดของพุทธทาสในช่วงหนึ่งที่มีมุมมองต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ท่านตอนนั้นมีความก้าวหน้า ปีนี้นอกจากเป็น 90 ปีอภิวัฒน์สยาม ยังครบรอบก่อตั้งสวนโมกข์ด้วย ผมมองพัฒนาการนี้เหมือนกัน และสะท้อนว่าคนสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน พุทธทาสเป็นตัวอย่างชัดเจน อ.ปรีดีนิมนต์พุทธทาสมาคุยเรื่องพุทธศาสนา

เอาว่าง่ายๆ พุทธทาสท่านเป็นหัวขบถต่อระบอบเก่า ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงการปกครองจะเป็นยังไง

นริศกล่าวอีกว่า ทัศนคติของปรีดีต่อประชาธิปไตยนั้น ท่านรับรู้เหตุการณ์ รศ.130 ตอนอยู่อยุธยาเมื่ออายุ 11 ปี เผลอๆครูของแกเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะก่อการด้วย เลยทำให้เห็นว่า จริงๆแล้วสภาพสังคมในตอนนั้นมีความพร้อม คณะทหารประชุมร้อยกว่าคน อายุเฉลี่ย 25 ปี เป็นทหารชั้นผู้น้อย พอดูคณะราษฎร เป็นนักเรียนนอก ไม่ว่า ทวี บุณยเกตุ เป็นลูกพระยา ท่านปรีดีตกลงกันก็อายุ 25 ใน 7 คนที่ริเริ่มที่ปารีส มี 2 คน คนหนึ่งเป็นลูกชาวนาจากอยุธยา อีกคนเป็นลูกชาวนาเมืองนนท์ เป็นนักเรียนทุนทั้งคู่

ตอนปรีดีกลับมาไทย จอมพลป.ก็ไม่มีกำลัง ก็ต้องชวนประยูร ที่เป็นมือประสาน ชวนเจ้าคุณพระยาพหล อายุน้อยทั้งนั้น น้อยสุด 20 ปี ก็คือ โดยทั้งหมดแล้ว ในกลุ่มคณะราษฎรมีทหารรุ่นใหม่ พระยาพหลฯ พระยาทรงสุรเดช เรียนต่างประเทศก่อนสงครามโลก

เครือข่ายคณะราษฎร 3 กลุ่มคือ พลเรือน ทหารบกและทหารเรือ ตัวเลขสมาชิกไม่ชัดนัก แต่รวมกันราวๆ 120 คน แต่ในรายชื่อเหลืออยู่ 102 คน พลเรือน 50 คน ลูกศิษย์ปรีดีส่วนใหญ่ เป็นนักกฎหมาย ส่วนทหารบก รุ่นใหญ่ พระยาฤทธิอาคเนย์ พระยาพหลฯ

แต่ก็แตกคอกันกรณีสมุดปกเหลือง ทำให้เกิดเกียร์ว่างของทหารชั้นผู้ใหญ่ตอนกบฎบวรเดช ท้ายสุดพระยาพหลฯมาเป็นคนหนุน ทหารหนุ่มอย่างจอมพล ป.ขึ้นมามีอำนาจ แล้วขัดแย้งกันกับกรมขุนชัยนาทนเรนทรกรณีกบฎพระยาทรงสุรเดช

ตอนจอมพล ป.ก็มีช่วงโหดคือกรณีประหารชีวิต 18 กบฎ เป็นรอยร้าวครั้งแรก ครั้งที่ 2 ก็คือ เสรีไทย ในมิติของ 2475 ถ้าเจาะลึก มีรายละเอียดเต็มไปหมด มีตัวละครอีกมาก แม้แต่พระยาพหลฯยังรู้กันน้อยมาก ต้องศึกษาตัวละครด้วย เหตุการณ์ 2475 หรือรัฐธรรมนูญฉบับแรก ก็ศึกษาในเชิงวรรณกรรมได้ แม้แต่ที่บรรจุอัฐิคณะราษฎรในวัดพระศรีมหาธาตุฯ สมาชิกบางคนไม่อยู่ที่เดียวกัน แต่อยู่วัดอื่น เป็นการบอกใบ้ถึงความขัดแย้งในคณะราษฎร

เมื่อถามถึงเรื่องที่มาที่ไป พัฒนาการทางโภชนาการหลังอภิวัฒน์สยาม ผศ.ชาติชาย กล่าวว่า สิ่งที่อ.ชาญวิทย์สอนผมคือการไม่เชื่อ ซึ่งเป็นยาอย่างดี ต้องศึกษาอย่างละเอียด การที่สังคมไทยใช้ปัญญารับรู้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญ ผมจะพูดตามหลักฐาน ไม่มีสันนิษฐาน

ผมเบื่อหรือไม่ชอบการสันนิษฐาน มาดูว่าเราถูกหลอกอะไรบ้าง มายาคติการกิน เราเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในยุคที่เรารับรู้ การเป็นสมัยใหม่ในเรื่องอาหารการกินก็ถูกชี้ว่าเริ่มจากรัชกาลที่ 5 ก็ดูว่าจริงไหมที่เรารับรู้กันในประวัติศาสตร์นิพนธ์ อดีตที่เกิดขึ้นมากมายอาจไม่ได้เป็นประวัติศาสตร์ แต่รับรู้ได้เพราะคนไปศึกษา นักประวัติศาสตร์ก็มีหลายจำพวก ขอให้รู้ว่าความรู้นั้นพิสูจน์แล้วหรือยัง มาจากไหน

คำถามง่ายๆ ผมสนใจว่า 2475 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรสชาติไหม เพราะต่างประเทศเคยศึกษาอาหารหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส และพบว่าอาหารนำไปสู่การปฏิวัติ การกินอาหารคนไทยเช่น แกงมัสมั่น รสชาติเครื่องเทศสมุนไพร ซึ่งเป็นเคมีที่มีผลต่อมนุษย์ อาหารสมัยใหม่ ขอให้นึกถึงอาหารฝรั่งเศสที่คำนึงถึงรสชาติของวัตถุดิบ เขาก็มีการศึกษา แต่การปฏิวัติรสชาติอาหาร ทำให้ชนชั้นใหม่มีวัฒนธรรมใหม่ พร้อมกับการเมืองแบบใหม่ แล้วเรามีอะไรแบบนี้ไหม ก็ลองเปรียบเทียบดู แล้วเรามีการปฏิวัติด้านรสชาติและการกินแบบชนชั้น

ท่านคุณหญิงเปลี่ยน ทำตำราแม่ครัวหัวป่า เป็นความพยายามหนึ่งของสยามสู่สมัยใหม่ แต่จำกัดเฉพาะชนชั้นนำเท่านั้น จนเมื่อเกิดปฏิวัติสยาม ดร.ตั๊ว ลภานุกรมกับหมอยง ชุติมา เป็นคนที่พูดในวิทยุดีมาก เป็นผู้ก่อตั้งกรมส่งเสริมอาหารและสนใจการกิน ไปดูงานที่ญี่ปุ่น เรียนสาธารณสุขด้านโภชนาการ
ก่อนปฏิวัติ แต่พอมีปัญหากับกระทรวงก็ต้องออกทุนเอง เป็นคนลุกขึ้นเปลี่ยนวิธีการกิน แต่เดิมรสชาติที่เรากินเป็นอะไร หมอยงชี้คนไทยกินเค็มจัด เผ็ดจัด ถ้าดูคนที่ห่างไกล อย่างบ้านชาวปะกาเกอญอ ก็มีแค่พริกกับเกลือ ซึ่งจะช่วยรักษาความเป็นกลางของธาตุ เรากินรสจัด

หม่อมคึกฤทธิ์เขียนว่าเรากินน้ำพริกเพื่อให้อยากกินข้าว ชาวบ้านกินแบบนี้ แต่ในอาหารวัง ก็รสชาติแบบละมุน หวานละมุน ฉะนั้นรสชาติ ยังแบ่งชนชั้น พอจอมพลป.ขึ้นมา กินข้าวน้อยๆ กินกับมากๆ จอมพล ป.ทำยังไง ก็หาของกิน ส่งเสริมถั่วเหลือง ไม่กินรสจัดหรือกินจุกจิก เป็นความพยายามเปลี่ยนรสชาติ
เป็นสิ่งที่ จอมพลป.นำเสนอก๋วยเตี๋ยวในช่วงน้ำท่วม ก๋วยเตี๋่ยวเป็นการบูรณาการของรัฐบาลคณะราษฎร งานทุกอย่างของจอมพลป.มาใส่ในชาม

ผมอ่านบทวิทยุของจอมพลป.ว่า ก๋วยเตี๋ยว มีเส้น มีหมู มีปลา ทำน้ำปลา เกิดอาชีพ ทำให้คนมีรายได้ เป็นการบูรณาการในปี 2482 แล้วมีกฎหมายส่งเสริมการปลูกสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ ในโครงการนี้ รัฐบาลส่งเสริมจริงจัง จอมพลป.เคยทสั่งข้าราชการไปทำสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ คือสั่งแล้วต้องทำได้
ใช้สถานที่ราชการ ทำแล้วเขียนรายงาน แสดงว่ามีความจริงจัง

ผมเคยไปลำปาง โรงงานน้ำตาลแห่งแรกของไทย เป็นอุตสาหกรรมหนักแห่งแรกเพื่อทดแทนการนำเข้า ในรัชกาลที่ 5 นำเข้ามา น้ำตาลเป็นของแพงที่นำเข้าจากชวา แต่ชาวบ้านต้องใช้น้ำตาลพื้นบ้าน น้ำตาลอ้อย แต่น้ำตาลทรายไม่มีทางนอกจากต้องรวย สมัยคณะราษฎร อุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นแห่งแรก
เข้าใจว่ายังอยู่ใน ใกล้พระธาตุลำปางหลวง นอกจากอุตสาหกรรมก็เป็นการค้า มีการส่งเสริม การเปลียนการกิน มาพร้อมกับการเปลี่ยนโภชนาการ รัฐบาลต้องการให้ราษฎรมีงานทำ ทำเกษตร การค้าและอุตสาหกรรม เป็นผลของนโยบายใหญ่ทั้งหมด ที่เรารู้ๆกันว่า ก๋วยเตี๋ยวเป็นของเล่น แต่เป็นเรื่องจริงจัง มีการทำชุดทำก๋วยเตี๋ยวเคยเข้าวาระครม.ด้วย

ไก่ในสมัยจอมพลป. มีความพยายามให้เลี้ยงแล้วแต่ระยะแรก เลี้ยงหลังบ้าน ทำกินในครัวเรือน แต่จะเป็นอุตสาหกรรมใหญ่เอาตอนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

นริสกล่าวว่า ดร.ตั๊วมีปัญหาเวลาไปดูงาน กับพบราษฎรผอมแห้งแรงน้อยเพราะขาดโปรตีน โภชนาการเป็นเรื่องสำคัญของคณะราษฎร มีความคิดทำปศุสัตว์แต่ติดเรื่องความเชื่อบาปบุญ ทำให้การปศุสัตว์อยู่กับนักลงทุนต่างชาติ เรื่องก๋วยเตี๊่ยวหลังน้ำท่วม มี 8 สูตรที่กรมประชาสงเคราะห์ออก มีผัด 3 สูตร สูตร 6 เป็นผัดไท สูตร 7 เป็นราดหน้า ก๋วยเตี๋ยวลวกที่ใส่ถั่วงอก ก๋วยเตี๋ยวเป็นแป้ง อาหารแต๊จิ๋ว 8 สูตรที่ว่า ยังไม่มีการเรียกผัดไท แต่นี่สะท้อนการผลักดันของรัฐบาลคณะราษฎร เป็นเรื่องไม่ปกตินะ ก๋วยเตี๋ยวของไทยไปได้ทั่วประเทศ ก๋วยเตี๋ยวลวกของจีน ต้องไปหูหนาน ของไทยต้องเรียกเป็นการกำกับควบคุม ลวกมี 5 แบบ ใส่ของต่างๆตามสูตร แล้วสูตรนี้ 80 ปี น้ำท่วมปี 2485 เป็นการรวมสูตรทั่วประเทศเป็นหนึ่งเดียว ที่ผมสนใจคือตอนนั้นยังไม่มีลูกชิ้น แล้วลูกชิ้นมาตอนไหน แต่ว่าก๋วยเตี๋ยวขาดถั่วงอกไม่ได้ บางมื้อจอมพลป.กินก๋วยเตี๋ยวต้องมีถั่วงอก

ผศ.ดร.ชาติชาย กล่าวเสริมว่า ถ้าเราดูเรื่องนี้ ความตื่นตัวเรื่องวิตามิน เรื่องโภชนาการ เริ่มมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 คนตายจากโรคมากกว่าสงคราม แสดงว่าเรามีปัญหาสุขภาพเพราะขาดสารอาหาร จนนักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิตามิน เช่น วิตามินซีเป็นสารเคมีตัวนี้ รู้ว่าหาได้จากไหน การไม่กินผักสดและผลไม้ เกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน

ความรู้นี้ สหรัฐฯพอเป็นชาติมหาอำนาจก็เผยแพร่ความรู้นี้ด้วย โภชนาการที่เป็นโบราณ คือการกินตามทฤษฎีธาตุ จะรู้ว่ากินยังไงให้ธาตุสมดุล แต่โภชนาการใหม่ อาศัยสารเคมีเพื่อบำรุงสุขภาพ ตามกลไกชีวภาพ ซึ่งเป็นความรู้ในศตวรรษที่ 17 นักเรียนนอกของคณะราษฎรก็รู้เรื่องพวกนี้ การเรียนต่างประเทศของหมอยง ก็เรียนรู้สิ่งนี้ เป็นความตื่นตัวทั่วโลก

และรัฐบาลหลังอภิวัฒน์สยาม ต้องการสร้างประชากรที่แข็งแรงและประเทศที่เข้มแข็ง ตามที่มีการกล่าวว่า รัฐมีอำนาจตามชีวการเมือง ต้องการสร้างประชากรแข็งแรง หรือที่เรียกว่า การสร้างรัฐประชาชาติที่แท้จริง ที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศที่สำคัญ

เมื่อถามถึงเยาวรุ่นในตอนนั้น มีส่วนขับเคลื่อนแค่ไหน ณัฐพลกล่าวว่า ในหนังสือราษฎรปฏิวัติ ในการศึกษาเรื่องนี้ เพราะว่าเป็นเหตุการณ์ร่วมสมัย แต่เดิมผมศึกษาบทบาทชนชั้นนำ ไม่ได้คิดว่าสังคมมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก จนในปี 2563 คนรุ่นใหม่รวมตัวกันเรียกร้อง แล้วกลับศึกษาแนวคิดเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ

ด้วยความชอบเดินดูหนังสือเก่า จนเหตุการณ์ 2-3 ปีมานี้ ผมได้อ่านเรียงความ แล้วพบการประกวดเรียงความในวันฉลองรัฐธรรมนูญ เขาถามว่า พวกเขาคิดอะไร ดังนั้น หนังสือเล่มนี้ จึงคัดเลือกปก เด็กร่วมสมัย ถ่ายในปี 2480 ลงหนังสือเมืองไทยเสมอภาค และยังมีภาพในหนังสืออีกเล่ม ว่า เด็กในผมจุกเขียนวานนี้ กับเด็กหญิงที่เขียนว่าวันนี้ เชิดหน้ามองข้างหน้าอย่างทรนง

เด็กยุคปฏิวัติต่างจากเด็กยุคอดีต เลยเลือกภาพนี้เพื่อสะท้อนความคิดความเชื่อคนรุ่นนั้น หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงบริบทที่ทำให้เกิดบุคลิกคนสมัย ทั้งความคิดความอ่าน และบทบาททางการเมือง ในช่วงอภิวัฒน์สยาม พอเหตุการณ์จบกลับไร้การต่อต้าน แสดงว่าประชาชนไม่มีการต่อต้าน รวมกันวิจารณ์รัฐบาลระบอบเก่า อะไรเป็นจุดสำคัญ

ผมเชื่อว่า ภาวะของคนตอนนั้นยังนิ่งเฉยเหมือนรออะไรบางอย่าง เราไม่เคยเปลี่ยนแปลงระบอบ ส่วนใหญ่มีแต่เปลี่ยนคนในระบอบนั้นๆ แล้วมีการเปลี่ยนระบอบ รัฐธรรมนูญมีหน้าตายังไง
ตามบันทึกของกรมโฆษณาการ คนชนบทไม่รู้ข่าว ไม่อยากยุ่งกับรัฐ รัฐต้องออกไปหาชาวบ้านเพื่อบอกว่าระบอบใหม่เป็นยังไง จนต่อมารัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติ พอไปชาวบ้านก็หวั่นว่าจะเสียใจ แต่พอบอกไป ชาวบ้านกลับเฉย

ดังนั้น จากข้อความนี้ ประชาชนระบอบเก่าไมได้รู้สึกกับระบอบเก่าที่จบ แต่ไม่รู้ว่ารู้สึกยังไงกับระบอบใหม่ ก็ต้องมีการเผยแพร่แนวคิดระบอบใหม่ จนเมื่อเกิดกบฎบวรเดช ชาวบ้านรับรู้ มีทหารอาสาเข้าร่วมทั้งที่ไม่ได้เรียกตัว หนุ่มสาวอาสาร่วมรบ ใครรบไม่เป็นก็มาอาสาขนของ อาจเป็นคนที่อยู่ปลายระบอบเก่า
เห็นทั้งระบอบเก่าและระบอบใหม่ ทำไมพวกเขาถึงเลือกและสู้เพื่อระบอบใหม่ เพราะมองว่าอาจมอบโอกาสใหม่ให้เขา

นอกจากนี้ ไม่ใช่แค่คนหนุ่มสาว เยาวรุ่นหญิงชื่อพยงค์ กลิ่นสคนธ์ หญิงสาวคนนี้อยู่สมุทรสาคร อยากอาสาไปแนวหน้า นั่งรถไฟจากมหาชัยถึงหัวลำโพงแล้วจะต่อรถไปโคราช ไปสู้กับกบฎบวรเดช แต่พอไปถึงโคราช เหตุการณ์จบนานแล้ว ผู้ใหญ่ส่งเขาไปโรงครัว หญิงสาวคนนี้ไม่พอใจ อยากไปแนวหน้า เลยสั่งไปแจกอาหารให้แนวหน้า

เป็นตัวอย่างจริงๆที่เกิดขึ้นในเวลานั้น จะบอกได้ยังไงว่าประชาชนไม่รู้เรื่องแล้วออกมาหวงแหนปกป้องประชาธิปไตย มีการแจกเหรียญกล้าหาญ ประมาณ 2 หมื่นเหรียญ เราจะเห็นข้าราชการหลายคนรวมถึงปรีดีติดเหรียญปราบกบฎบวรเดช

เป็นเหรียญเแห่งความภูมิใจตอนนั้น แม้แต่เด็กเท้าเปล่า ก็ติดเหรียญกล้าหาญนี้

พอเมื่อรู้ว่าคนหนุ่มสาวอยากปกป้องประชาธิปไตย รัฐบาลจะทำยังไง ส่วนใหญ่อยู่ชนบท จึงมีการผลิตหนังสือ หลายคนคงเคยเรียนตำรา สมบัติผู้ดี ซึ่งเป็นหนังสือระบอบเก่า ซึ่งสะท้อนความเป็นชนชั้น พลเมืองแบบระบอบเก่า

รัฐบาลคณะราษฎร จึงผลิตคู่มือพลเมืองให้ประชาชนอ่าน แจกพิมพ์หลายแสนเล่น ขายแจกจนหมด เนื้อหาในหนังสือ ถอดแบบจากคู่มือพลเมืองของฝรั่งเศส พลเมืองคืออะไร ภาษีคืออะไร ระบบการเมืองเป็นยังไง เชื่อว่าระบอบเก่าคงไม่บอกเรา

คนรุ่นปู่เราเรียนแบบนี้ ถ้าอยากมีอำนาจการเมือง ก็มีหนังสือนักการเมือง หาเสียงยังไง ปาฐกถายังไง ต้องพูดยังไงให้ประชาชนจับใจ ไม่ใช่เอารถถังมาวิ่ง แต่ไปเลือกตั้ง พูดง่ายๆคือคนรุ่นนั้นไม่เหลือแล้ว แต่คนรุ่นที่มีปัญหาคือคนรุ่นสงครามเย็น

ความรู้เป็นความเขลา ความจริงมีหนึ่งเดียว คนรุ่นเก่าหลักการหนักแน่นมาก อยากมีอำนาจทางการเมือง ลงไปหาประชาชน ประชาชนคือจุดเริ่มต้นของอำนาจทางการเมือง ประชาชนเลือกสภา สภาเลือกรัฐบาล นี่คือบันไดการเมือง ไปข้างล่าง ไม่ใช่วิ่งหาข้างบน

ผมประหลาดใจว่าคนรุ่นสงครามเย็นไม่เหมือนพ่อแม่พวกเขา เกิดช่องว่างความคิด แม้แต่คนรุ่นสงครามเย็นกับคนยุคอินเตอร์เน็ต คนยุคสงครามเย็นไม่ได้เชื่อแบบนี้ แต่เชื่อผู้ปกครองคนดี อย่าเกลือกลั้วประชาชนจากการเลือกตั้ง แต่ยุคคณะราษฎรเรียนแบบนี้
พอเรียนแบบนี้ก็จัดเขียนเรียงความ ในวันฉลองรัฐธรรมนูญที่เริ่มปี 2475 ฉลอง 3 วัน ต่อมารัฐบาลคิดออกว่าจัดประกวดเรียงความ เริ่มขึ้นปี 2481 มีแบ่งกลุ่มมัธยมกับอุดมศึกษา ในปีแรกที่น่าสนใจคือ สงวน โพธิ์โต มาจากรร.อมรินทร์โฆสิฐ น่าสนใจว่า

“ประเทศสยามเจริญได้เพราะกำลังของพลเมือง” นี่คือสำนึกใหม่ของคนรุ่นหลังปฏิวัติ ผมเชื่อว่าปู่ย่าตาทวดเขาโอเค อาจมีปัญหาบางอย่างในช่วงสงครามเย็นที่ทำให้ได้คนรุ่นมีปัญหา
ดูสมุดจดแบบเรียน ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เราคิดว่าคนรุ่นนั้น เป็นเด็กปกติ ตามมาตรฐานสากล เป็นตามคติประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เห็นหลัก 6 ประการ ข้างล่างเป็นรัฐธรรมนูญ มีครุฑแต่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
เป็นสิ่งที่เด็กรุ่นนั้นได้เห็น เป็นเด็กที่มีความคิดประชาธิปไตย

ผมคิดว่า เรียนรู้ทั้ง 2 อย่างคือจากประสบการณ์ด้วยตัวเอง บางส่วนรับรู้จากการผลิตของรัฐบาล โรงเรียน แต่ปกหนังสือแบบนี้ทำจากบริษัทเอกชน ไม่ได้มาจากหน่วยงานรัฐบาล เด็กซื้อตามร้านทั่วไป
เด็กรุ่นนั้น เขียนถึงความฝัน เรียงความเหล่านี้ ที่เห็นหลายครั้งคือ เขียนถึง เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ คตินั้น ผมไม่แน่ใจยังมีอยู่ไหม 2-3ปีมานี้ ยังได้ยินแนวคิดนี้ไหม เรียงความเหล่านี้คนรุ่นปู่ย่าเราเขียน

งานฉลองรัฐธรรมนูญ จะจัดในเดือนธันวาคม จัดกันที่ลานพระบรมรูป สนามหลวงและสวนสราญรมย์ เป็นงานรื่นเริงที่จัดยิ่งใหญ่ ปรีดีเขียนว่า งานนิทรรศการของระบอบเก่า กับงานฉลองหลังปฏิวัติ ต่างอารมณ์กัน
งานนิทรรศการแบบระบอบเก่า ประชาชนเป็นเพียงตัวประกอบ สงวน โพธิ์โตเขียนว่า งานในระบอบเก่าไม่สนุกเท่างานของคณะราษฎร เดินตัวตรง มีความสุข เพราะเป็นงานรื่นเริงที่จัดให้พลเมือง ไม่ใช่จัดนามธรรมหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่จัดให้พลเมืองและระบอบใหม่

งานฉลองรัฐธรรมนูญปีแรก คนมีความสุขมาก วัดพระแก้ว สนามหลวง มีประชาชนยืนเต็ม ได้เสมอภาคเพราะรัฐธรรมนูญ เป็นงานของประชาชน งานของระบอบใหม่ สนามหลวง มีลิเก เป็นเทศกาลเลย สนามหลวงกลายเป็นสนามราษฎรฉลองระบอบใหม่
พอมาดูปีที่ 2 จาก 3 วัน จัดครึ่งเดือน หลังชนะกบฎบวรเดช เพื่อบอกสังคมไทยว่าระบอบประชาธิปไตยชนะเหนืออนุรักษ์นิยม ขบวนแห่โชว์แสนยานุภาพกองทัพ ฉลอง 3 ภพ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ประกาศชัยชนะยิ่งใหญ่

นอกจากนี้ ยังกิจกรรมการแข่งขันกีฬา ทั้งชกมวย หมากรุกคน ตะกร้อ ว่ายน้ำและแข่งเรือบนแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงวิ่งมาราธอนจากฝั่งธนถึงพระนคร แสดงว่าคนจัดคิดว่า ควรให้ความสำคัญกับฝั่งธนบุรีด้วย ไม่เหมือนงานฉลอง 150 ปี รัตนโกสินทร์ ฉลองเฉพาะพระนคร
ซึ่งบอกว่า มนุษย์มีความเข้มแข็ง

พอปีต่อมา คนเยอะมากขึ้น จอมพลป.แนะให้ย้ายจัดงานที่สวนอัมพร จนทำให้มีงานจัดที่สวนอัมพรจนถึงเขาดิน

มีคนเขียนงานฉลองว่า งานฉลองทำให้คนตัดเสื้อผ้ามากขึ้น ไปใส่งานเต้นรำ คนขายเสื้อพาหุรัดขายดีมาก เป็นงานที่คนอยากไปไม่ต้องเกณฑ์

รัฐประหาร 2490 อวสานคณะราษฎร

นริศ กล่าวว่า หลังรัฐประหาร สายพลเรือนสิ้นอำนาจ อ.ปรีดีพยายามกลับคืนสู่อำนาจ เราต้องอ.ปรีดีเป็นนักปฏิวัติ ช่วงนั้นลี้ภัยไปจีนในยุคเจียงไคเช็ค ระดมสรรพาวุธ แต่ก็พ่ายแพ้
ถึงงั้นก็น่าสนใจว่า ปรีดีหนีไป 2 ครั้ง ครั้งแรกไปสัตหีบ ตอนนั้นทูตช่วยจากคลองเตย ที่สงสัยคือ หนีแล้วทำไมไม่มีใครไปจับ เห็นว่าดุลอำนาจ ไม่สามารถเข้าดินแดนสัตหีบไปจับตัวปรีดี
หรือตอนอ.ปรีดีกลับมา ก็คึกโครม แต่ความพ่ายแพ้ครั้งนั้น บุคคลสำคัญของปรีดี แม้ว่าทหารเรือมีแค่ 18 คน แต่คนหนุนสำคัญ 2 คน ตอนนั้นทหารเรือไม่น่าจะแพ้
แม้ว่าสุดท้าย พ่ายแพ้เเพราะยอมเจรจาหยุดรบทั้งที่โอกาสชนะมีสูง ทำให้ที่เราเห็นความสัมพันธ์ของปรีดีกับทหาร หนังสืองานศพจะบอกใบ้ หลวงสังวรณ์ฯได้คำอาลัยฉบับยาวของปรีดี
และมีเรื่องของปรีดีที่นั่งเรือมาสัตหีบ หรือกบฎวังหลวง ที่เรียกว่าขบวนการประชาธิปไตย พอแพ้ปรีดีต้องซ่อนตัวอยู่ที่ฝั่งธนบุรีครึ่งปี ก่อนลี้ภัยไปจีน

อ.ปรีดีลี้ภัยถาวร ตอน 1 ตุลาคม 1949

ตอนนั้นทหารเรือไม่น่าจะแพ้ สฤษดิ์กับเผ่ารู้อยู่ด้วย แต่พอเกิดกรณีแมนฮัตตัน ไม่ว่ากรณียังไง มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า อ.ปรีดีมีกลับมา แล้วมีความซับซ้อนมาก แต่ไม่ว่ายังไง ปรากฎว่า พอกลายเป็นกบฎ
ทำให้รัฐบาลจอมพลป. กับสฤษดิ์-เผ่า สบโอกาสกวาดล้างฝ่ายตรงข้าม กรณีกบฎแมนฮัตตันที่มีคณะราษฎรสายทหารเรือบางส่วนก็ยังโดนด้วย ส.ว.ก็จะเอาประเด็นนี้โจมตีจอมพลป.จนต้องทำการรัฐประหารตัวเอง
จอมพลป.ในช่วง 5 ปีหลังรัฐประหาร เกิดกบฎหลายครั้ง แต่กรณีแมนฮัตตันกลับสร้างความชอบธรรม ระดับจับนายกฯนานหลายชั่วโมง คนที่จับจอมพลป.ไปยังวังปารุสก์ ก็โดนจับ
แล้วเกิดกบฎสันติภาพ ทำให้ปี 2495 ถึง 2500 ไม่มีแรงกระพื่ม เพราะกำลังทหารถูกทำลายลงแล้ว ผมมองว่า รัฐประหาร 2490 คือจุดสิ้นสุดของคณะราษฎรสายพลเรือน กบฎแมนฮัตตันเป็นจุดสิ้นสุดของทหารเรือ

หนังสือเล่มนี้ คนเขียนมีส่วนร่วมเหตุการณ์ เขาไม่ได้เรียนปริญญาตรี แต่กลับมีทักษะการเขียนทั้งวิชาการและบันทึกเรื่องราว เหมือนหนังสงคราม ที่สำคัญมากๆ ที่มาที่ไป เล่มนี้หายจากโลกหนังสือถึง 30 ปี งานชิ้นนี้สำคัญแต่ขาดตลาด
ด้วยอานิสงฆ์ผมได้ค้นพบบันทึกของจอมพลป. แล้วเสนอวารสารศิลปวัฒนธรรม ผมขอบคุณหลายคนแล้วรีบลง เรื่องราว การจับกุม 30 ชั่วโมงของจอมพล ป. ในมุมของจอมพล ป.เอง เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่หายไปร่วม 65 ปี

หนังสือเล่มนี้ก็ผนวกกับบันทึกของจอมพลป. รวมกับ น.อ.มนัส แล้วได้วีระ โอสถานนท์ มาด้วย ผมยกทั้งหมดใส่ในภาคผนวก กับคำไว้อาลัยของปรีดี ใครมีความสำคัญท่านจะเขียนคำไว้อาลัย
ในแง่ของหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องแมนฮัตตันที่สมบูรณ์แบบที่สุด ครบถ้วนในแง่เหตุการณ์ชั้นต้น แม้คนเหล่านี้ต้องติดคุกหลายปี หนังสือเล่มนี้เสนอมุมมองของทุกฝ่ายมาไว้

จุดสิ้นสุดของผู้นำคณะราษฎรอย่างจอมพลป.คือขับรถไปกัมพูชาก่อนบินไปญี่ปุ่น

โภชนาการหลังยุคคณะราษฎร

ผศ.ดร.กล่าวว่า ถ้าเราไป ม.เกษตรศาสตร์ ก็จะเห็นนิสิตเอาไก่ไปถวายอนุสาวรีย์หนึ่งในมหาวิทยาลัย ถ้าสอบติด คือหลวงสุวรรณาวาจกกสิกิจ
ที่ดินที่ผมสอน ที่มศว. เป็นทุ่งหญ้าที่ผลิตให้โคนม แต่เดิมเลี้่ยงควายนมที่บางกระบือ กินกันในหมู่คนต่างชาติหรือคนอินเดีย อุตสาหกรรมนมจึงเกิดขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
คนไทยเลี้ยงไก่หลังบ้านก็จริง แต่ชาวบ้านไม่ได้กิน เป็นเจ้ากับคหบดีกิน หรือเทพเจ้ากิน ไก่เป็นของแพง สิ่งที่ต้องหามาให้คนเปลี่ยนการกิน คือต้องมีของกิน จอมพลป.ส่งเสริมเลี้ยงไก่ตั้งแต่ปี 2482
เลี้ยงไก่หลังบ้าน พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านไม่เลิก พอกลับมาเป็นนายกฯไปตามเรื่องที่มหาดไทยให้กลับมาทำนโยบายอีก และส่งเสริมการเลี้ยงไก่ในครัวเรือน หลวงสุวรรณฯนั่งอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
ไปเรียนที่คอร์แนล แล้วทำไมถึงเป็นไก่ สาเหตุที่สหรัฐฯเลือกไก่เป็นโปรตีนสำหรับโลก คือเอาอาหารไก่อย่างข้าวโพด มาเปลี่ยนเป็นเนื้อได้รวดเร็วและให้เนื้อมาก ไก่ดีไม่ได้ การเร่งผลิตเนื้อต้องสูง แต่ไก่ไทยเลี้ยงปีหนึ่ง
ตัวลีบ คือเลี้ยงปล่อย ทำให้หลวงสุวรรณนำการเลี้ยงไก่ในโรงแรม

เวลาที่ท่านจอมพล ป.เป็นนายกฯ พอถึงวันเกิดก็มีประชาชนนิยมเอาไก่มาเป็นของขวัญ ไก่ที่ชนชั้นนำนิยม เขาเลี้ยงไก่เอาขน เพื่อความสวยงาม พอหลวงสุวรรณส่งเสริม ก็ทำไก่เนื้อ แล้วเอาไข่มากินเป็นอาหาร
แต่เดิมไก่จะเลี้ยงเอาไข่ แต่คนกลับไม่กินไข่ เลยส่งเสริมพร้อมกัน อันหนึ่งที่หลวงสุวรรณฯในฐานะเทคโนแครต อุทิศชีวิตในการพัฒนาไก่เพื่อเผยแพร่ให้การเลี้ยงเกิดขึ้น ชื่อพันธุ์ข้าวโพดสุวรรณ 1 และ 2 มาจากชื่อของท่าน
ผมชี้ให้เห็นอีกด้านว่า การส่งเสริมเลี้ยงไก่ของหลวงสุวรรณฯส่งผลต่อสังคมอย่างมาก รัชกาลที่ 9 ก็เลี้ยงไก่ในวังสวนจิตรลดา หลวงสุวรรณอยากส่งเสริมไข่ให้คนกิน ให้คนป่วยกินไข่เพื่อบำรุง

หลวงสุวรรณฯเองเขียนจดหมายว่า กินไข่วันละฟอง ไม่ต้องไปหาหมอ เลี้ยงไปเลี้ยงมา ไข่ล้นตลาด ต้องตั้งองค์กรขายไข่แถวราชดำริ อาหารมันเปลี่ยน มีการขายตามตลาดนัด รวมถึงงานเกษตรแฟร์ จนเกิดแพร่หลาย
แล้วไก่เนื้อมายังไง เพราะทหารสหรัฐฯมาอยู่ในช่วงสงครามเวียตนาม พอทหารจีไอกิน คนไทยก็เริ่มกินตาม โดยเฉพาะการกินไก่ทอด หรือไก่ย่างเราจะเห็นไก่ย่างอย่างเขาสวนกวาง ไก่ย่างหลังสนามมวย ทหารจีไอกินไก่ตามโรงแรม

บริษัทที่ส่งออกไก่มากที่สุดในโลกก็มาจากการส่งเสริมของหลวงสุวรรณ โดยเฉพาะซีพี ขายอาหารไก่และเทคโนโลยีไก่ในปี 2490 แล้วพอปี 2500 มีการส่งเสริมปลูกข้าวโพด ทำให้เกิดอาหารสัตว์ขนานใหญ่ อุตสาหกรรมไก่จึงขยายตัว
ส่งออกไก่ไปญี่ปุ่น แล้วเนื้อไก่มาแทนปลาทู ในช่วงปี 2520 คนทั่วไปกินโปรตีนของปลาทู ยังสะท้อนชนชั้น

เรียกว่านโยบายสำเร็จ คนไทยได้กินไก่และไข่เป็นอาหารประจำวัน ในสมัยจอมพลป.ครั้งที่ 2 และมักกินไข่ไก่กับกาแฟ เพราะถูกส่งเสริมตามร้านกาแฟก่อน เป็นอาหารบำรุงของคนทุกชั้น ผมเรียกว่า การปฏิวัติรสชาติอาหารจากรสชาติจัดจ้าน
ในยุคก่อน 2475 มาสู่ยุคโภชนาการ มีรสชาติเบาลง ละมุนขึ้น พอเริ่มมีอาหารเป็นจากการเกษตรเป็นอุตสาหกรรม อาหารมาถึงคุณผ่านระบบสายพาน การแช่เย็น ดังนั้นรสชาติอาหารที่กินสดๆ รสชาติหวานตามธรรมชาติ จะไม่หวานแล้วจึงต้องเติม
ผงชูรสก็เข้ามาใน 2500 ที่เอาโภชนาการแบบอเมริกันมาผนวกกับอาหารชนชั้นสูง ปรับอาหารเป็นตำรับชนชั้นสูงอีกครั้ง แต่รสชาติละมุนขึ้น ถึงขั้นเติมน้ำตาลเติมผงชูรสเพิ่มความหวาน เป็นการเปลี่ยนรสชาติ เราอาจจะเห็นว่าเปลี่ยนแปลงตามสังคมเศรษฐกิจ

แต่อุตสาหกรรมน้ำตาลที่เกิดในยุคคณะราษฎร แต่ปี 2503 ก็ล้นตลาด จึงส่งเสริมการบริโภค ทำให้อาหารเปลี่ยนรสชาติไป ปลายลิ้นเราจึงกลายเป็นรสเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจและหวานเก่ายุคก่อนหน้า

“เราจะปลดปล่อยให้ลิ้นได้ลิ้มรสอย่างเสรี” ผศ.ดร.สมชาย กล่าว