E-DUANG : การเติบใหญ่ พื้นที่ อโศกมนตรี กับ การสถาปนา สภาประชาชน

ในที่สุด การชุมนุมในพื้นที่แยกอโศกมนตรี บนถนนสุขุมวิท ก็ทำท่า ว่าอาจจะเป็นการชุมนุมในลักษณะยืดเยื้อ

เป็นไปได้ว่าจะกลายเป็น”ป้อมค่าย”ใหญ่หนึ่งในทางการเมือง

ที่ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ออกมายอมรับว่า แรงบันดาลใจสำคัญของเขามาจากที่ได้เห็นการปรากฏขึ้นของ”ทะลุฟ้า”ในพื้นที่สามเหลี่ยมดินแดงในเดือนสิงหาคม

จากมุมมองของนักออกแบบการเคลื่อนไหวอย่าง นายสมบัติ บุญงามอนงค์ อาจไม่เห็นด้วยกับเสียงปะทัดยักษ์และพลุระเบิด แต่ กลับตื่นตาตื่นใจกับลักษณะเป็นไปเองและความต่อเนื่อง

เป็นความเป็นไปเองทุกเย็นย่ำจะต้องเดินทางไปยังสามเหลี่ยม ดินแดงโดยมิได้มีการนัดหมาย โดยไม่มีใครแสดงตนเป็นผู้นำ เป็น ความเป็นไปเองตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมกระทั่งวันที่ 5 กันยายน

ภาพจาก”สามเหลี่ยมดินแดง”จึงนำมายัง”แยกอโศกมนตรี”

เป็นการประสานระหว่างนักออกแบบเช่น นายสมบัติ บุญงาม อนงค์ กับนักเคลื่อนไหวเช่น นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ

กลายเป็นพื้นที่ของ”ม็อบ เฟสติวัล”อันคึกคักกลางมหานคร

 

จาก 2 ครั้งของการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะมองไปยังเมื่อวันที่ 2 กันยายน ไม่ว่าจะมองไปยังเมื่อวันที่ 5 กันยายน ภาพแห่งเทศกาล ม็อบเห็นอย่างเด่นชัด

เพียงแต่จะประสานเอาข้อดีของ”คาร์ม็อบ”ที่เคยปรากฏตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคมเข้ามาได้อย่างไร

นี่คือ โจทย์ในทางการเมืองที่”นักออกแบบ”จักต้องขบคิด

กล่าวสำหรับการเคลื่อนไหวในบรรยากาศแห่งประกาศสถาน การณ์”ฉุกเฉิน” และข้อกำหนดจากสถานการณ์โควิด การได้มวลชน เข้ามาร่วมจนเต็มพื้นที่นับว่าเหลือเชื่อ

การออกแบบให้”คาร์ม็อบ”เข้ามามีส่วนร่วมจึงคือปัจจัยสำคัญ 

และนี่ย่อมเป็นงานที่ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ จักต้องร่วมขับเคลื่อน

 

คล้ายกับว่าผลการลงมติที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สามารถสยบ ปัญหาภายในพรรคพลังประชารัฐ จะกลายเป็นผลดีทางการเมืองต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

กระนั้น ความฉายโฉ่ที่เห็นและเป็นอยู่ในที่ประชุม”รัฐสภา”

กลับกลายเป็นปัจจัยก่อให้เกิดผล”ด้านลบ”ต่อการดำรงอยู่ของนักการเมืองและทำให้มีความจำเป็นต้องเคลื่อนไหวนอกรัฐสภา

ประการหลังนี้จะสร้างความคึกคักให้กับพื้นที่”แยกอโศกมนตรี”