ศาลพิพากษากรมเจ้าท่าชนะคดีปม สั่งให้พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ รื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำแควน้อย

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษากรมเจ้าท่าชนะคดีปม สั่งให้พล..เสรีพิศุทธ์รื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในแม่น้ำแควน้อย ชอบด้วยกฎหมาย ชี้เป็นการถมที่ดินลงน้ำหาประโยชน์ โดยไม่ได้รับอนุญาต

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ศาลปกครองถนนเเจ้งวัฒนะ   ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ยกฟ้อง ในคดีที่พล..เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ยื่นฟ้องกระทรวงคมนาคม สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงคมนาคม  กรมเจ้าท่า อธิบดีกรมเจ้าท่า และเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 สาขากาญจนบุรีขอเพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมเจ้าท่า ที่ให้รื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในแม่น้ำแควน้อย  โดยศาลให้เหตุผลว่า

กรณีที่มีที่ดินบางส่วนที่อยู่นอกโฉนดที่ดินของพล..เสรีพิศุทธ์ โดย อ้างว่าเป็นที่งอกริมตลิ่งนั้น แต่ข้อเท็จจริงตามที่พล..เสรีพิศุทธ์ กล่าวอ้างว่า กระแสน้ำในแม่น้ำแควน้อยมีความรุนแรงและเชี่ยวกราก กัดเซาะที่ดินริมตลิ่งในที่ดินของตน เพื่อขออนุญาตทิ้งหินกันน้ำเซาะ ย่อมไม่อาจเป็นไปได้เลยว่าจะเกิดที่งอกริมตลิ่งออกจากที่ดินของพล..เสรีพิศุทธ์ แต่เป็นที่ดินที่พล..เสรีพิศุทธ์ได้ว่าจ้างให้ถมดินลงไปในแม่น้ำแควน้อยพื้นที่ประมาณ 1,500 ตร.แล้วได้ทำประโยชน์ในที่ดินส่วนนี้โดยการปลูกต้นไม้ จัดพื้นที่เป็นสวนหย่อมและทำทางเท้า ซึ่งปูด้วยหินแผ่นไปตามแม่น้ำแควน้อย  

การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนการอนุญาตของเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 สาขากาญจนบุรี โดยมีการทิ้งหิน ดิน เกินกว่าแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี ลงในแม่น้ำแควน้อยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ตาม . 119 แห่ง...เดินเรือในน่านน้ำไทย .. 2456 จึงเป็นการทิ้งหินถมดินลงในแม่น้ำแควน้อยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าฯ

และเมื่อ พล..เสรีพิศุทธ์ได้ปลูกต้นไม้ทำเป็นสวนหย่อม และทำทางเท้าซึ่งปูด้วยแผ่นหิน การกระทำดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการปลูกสร้างสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปในน้ำ หาได้มีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามที่ได้รับอนุญาตให้ทิ้งหินกันน้ำเซาะลงในแม่น้ำแต่อย่างใดจึงถือว่าเป็นการกระทำสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปในแม่น้ำแควน้อยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ตาม .117 วรรคหนึ่ง แห่ง ...ดังกล่าว

ซึ่งเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 สาขากาญจนบุรี ผู้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมเจ้าท่า จึงมีอำนาจสั่งให้พล..เสรีพิศุทธ์รื้อถอนสิ่งล่วงล้ำในแม่น้ำแควน้อยออกให้พ้นเสียจากแม่น้ำภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของปลัดกระทรวงคมนาคมที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน 

โดยสามารถอ่านรายละเอียดคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่แนบมาพร้อมนี้

อ่าน คำพิพากษาฉบับเต็ม