อะไรคือ ‘ฝ้ายซินเจียง’ จนเป็นดราม่าไม่ใช้แรงงานบังคับชาวอุยกูร์-จีนแบนสินค้าต่างชาติ

ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยเฉพาะแฟชั่นและแบรนด์ทั่วโลก เริ่มให้ความสำคัญกับที่มาของเสื้อผ้า ซึ่งหมายถึง ที่มาและวัตถุดิบในการทำเสื้อผ้าต้องถูกต้องตามจริยธรรม ในซินเจียง ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตฝ้ายกว่าร้อยละ 85 ของฝ้ายในจีน และร้อยละ 20 ของฝ้ายทั่วโลก ถูกตั้งข้อสงสัยว่าจะมีขบวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบอยู่ เนื่องจากรัฐบาลจีนถูกจับตามองในการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอุยกูร์มาโดยตลอด จนถึงขั้นบางชาติเรียกนโยบายปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ของจีนว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ ในซินเจียง มีประชาชนมากกว่า 1 ล้านคนถูกควบคุมตัวอยู่ และมีหลักฐานที่ชัดเจนว่ากลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มน้อยหลายกลุ่มในจีน กำลังถูกบังคับให้ทำงานในโรงงานสิ่งทอ แต่รัฐบาลจีนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาต่าง ๆ และยืนกรานว่า ค่ายดังกล่าวเป็นโรงเรียนฝึกหัดอาชีพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการบรรเทาความยากจนของประเทศ

BBC

โครงการขจัดความยากจน สู่ ค่ายกักกัน

จริงอยู่ว่า สี จิ้นผิง ตั้งเป้าหมายจะขจัดความยากจนไปจากประเทศ แต่ในซินเจียง กลับมีหลักฐานยืนยันว่า มีเป้าหมายทางการเมืองที่มากกว่านั้น เช่น มีการควบคุมสั่งการในระดับมากกว่าปกติ เหตุที่ การที่จีนสนใจในภูมิภาคนี้มากขึ้น เป็นเพราะสถานการณ์เหตุทำร้ายคนจีน ซึ่งรัฐบาลจีนกล่าวหาว่าเป็นฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนและกลุ่มอิสลามอุยกูร์

CCTV

ในปี ค.ศ. 2016 จีนได้พยายามหาทางแก้ด้วยการสร้างค่ายปรับทัศนคติ แก่ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ โดยมีการละเมิดความเป็นส่วนตัวต่าง ๆ เช่น ติดตั้งแอพพลิเคชันส่งข้อความที่เข้ารหัสทางโทรศัพท์ เพื่อดูเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา เป็นต้น ทางการจีนเรียกสถานที่นี้ว่า โรงเรียนสลายแนวคิดสุดโต่ง ที่มีจุดประสงค์ให้กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มน้อยหลายกลุ่มในจีน ภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ และสลายอัตลักษณ์ดั้งเดิมลง

ในปี ค.ศ.2018 เป็นปีที่จีน มีการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้ต้องมีการก่อสร้างโรงงานหลายร้อยแห่ง มีการเกณฑ์ชาวอุย์กูร์จำนวนมาก ไปทำงาน อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า มีอาชญากรรมที่ขัดแย้งต่อมนุษยธรรม เช่น การบังคับใช้แรงงาน การล่วงละเมิดทางเพศ และ การสังหารหมู่ เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว

Nike

นานาชาติคว่ำบาตร ชาวจีนแห่ปกป้องประเทศ

จนกระทั่งในวันที่ 22 มี.ค. นานาชาติได้ร่วมประกาศมาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน ต่อการคุกคามสิทธิมนุษยชนในชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ ซึ่งจีนตอบโต้ด้วยการ ประกาศมาตรการคว่ำบาตร กับเจ้าหน้าที่ยุโรป และปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

ฟากโซเชียลมีเดีย มีการนำแถลงการณ์ของแบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังต่าง ๆ ที่เคยแสดงความกังวลต่อการบังคับใช้แรงงาน การละเมิดมนุษยธรรม ในพื้นที่ซินเจียง และบริษัทต่าง ๆ ระบุว่า จะไม่ใช้วัตถุดิบจากซินเจียง เพราะไม่สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้สำนักข่าวในจีน ออกข่าวตอบโต้ เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ในจีน ร่วมกันถอดแบรนด์สินค้าเหล่านี้ออก เป็นการต่อต้านและปฏิเสธข้อกล่าวหาที่มีต่อรัฐบาลจีน และชาวจีนออกมาติดแฮชแท็กสนุบสนุนให้ใช้ฝ้ายซินเจียงเพื่อสนับสนุนรัฐบาลจีน

BBC

กระแสการปกป้องรัฐบาลจีนจึงเกิดขึ้นไปพร้อมกับกระแสการต่อต้านแบรนด์เสื้อผ้าต่างชาติ รวมถึงต้นสังกัด และ เหล่าดารา นักแสดงชื่อดังของจีน จำนวนไม่น้อย ออกมาโพสต์โซเชียลมีเดีย เว่ยป๋อ ประกาศยุติสัญญากับแบรนด์ดังจำนวนมาก รวมถึงแบรนด์ที่ยังไม่แสดงความชัดเจนกับสถานการณ์ก็ถูกยุติสัญญาเช่นกัน

AFP

ขอบคุณข้อมูล BBC