“อำนาจที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน” ง่ายต่อการละเลยต่อความเดือดร้อน

โลกเคลื่อนเข้าสู่ออนไลน์ในทุกมิติ

แม้ช่วงนี้การเมืองออนไลน์ดูจะเห็นได้ชัดเจนที่สุด โลกของเด็กกับผู้ใหญ่ที่สื่อสารกันไม่ได้ ไล่กันไม่ทันทั้งความรู้ ความคิด และความเคลื่อนไหว เป็นที่ร็กันว่าเกิดจขากช่องว่างจองความสามารถในการเข้าถึงและใช้งานโลกออนไลน์

กิจกรรมของสังคมที่เปลี่ยนเข้าสู้โลกออนไลนฺ มีทั้งที่เป็นประโยชน์อและเป็นโทษ

ในส่วนที่เชื่อว่าจะสร่างคุณภาพใหม่ให้กับชีวิตคือ “5 จี”ที่จะให้การใช้เครื่องมือออนไลน์เกื้อกูลการพัฒนาให้เกิดขึ้นมโหฬาร เป็นโอกาสสำคัญในการปรับฐานคุณภาพของประเทศในทุกด่าน ทั้งแต่ชีวิตความเป็นอยู่ การดูแลสุขภาพ ธุรกิจค้าขาย การสร้างประเทศในทุกด้าน ทุกมุม

ในด้านเสียหาย คือเป็นช่องทางของมิจฉาชีพที่ควรบคุมได้ยาก

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือที่เรียกกันติดปากตามชื่อเก่าสั้นๆว่า “สภาพัฒน์” ได้ทำงานรายงานสภาวะประเทศและสังคมในทุกด้านของ “ไตรมาส 3 ปี 2563”หรือช่วงเดือน “ก.ค.-ก.ย.”ที่ผ่านมา

จับความเอาเฉพาะเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับโลกออนไลน์

รายงานฉบับนี้ระบุว่ามีการร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มใครองผู้บริหาร (สคบ.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)เพิ่มขึ้น

ไตรมาสสาม ปี 2563 สคบ. ได้รับการร้องเรียนสินค้าและบริการเพิ่มจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน

ร้อยละ 7.5 โดยการร้องเรียนด้านขายตรงและตลาดแบบตรงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.2 เนื่องจากมีการรวมตัวร้องเรียน

บริษัทธุรกิจขายตรงที่ฉวยโอกาสจากวิกฤต COVID-19 หลอกให้ร่วมลงทุน

ขณะที่การร้องเรียนผ่าน กสทช.เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการ

นอกจากนี้ ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการซื้อขายออนไลน์ข้ามประเทศ (Cross-Border E-Commerce :CBEC) ที่กำลังเติบโตไปตามการพัฒนาของนวัตกรรม การปรับตัวทางธุรกิจ และวิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งส่งผลให้ห่วงโซ่การค้ามีความซับซ้อนมากขึ้น และเกิดช่องทางในการเอาเปรียบผู้บริโภค เนื่องจากสินค้าที่นำเข้ามาในช่องทาง CBEC นั้นอาจมีปัญหาด้านคุณภาพ เพราะไม่ได้ผ่านการขออนุญาตจาก อย. หรือผ่านการตรวจสอบคุณภาพจาก มอก. ท าให้อาจมีการผลิตสินค้าปลอม/เลียนแบบ สินค้าไม่ได้มาตรฐาน/ใช้งานไม่ได้จริง โดยอาศัยการทำการตลาดด้านราคาเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ซึ่งการด าเนินการเมื่อเกิดปัญหาจะมีความยากล าบากเนื่องจากมีอุปสรรคทางด้านภาษา ระยะทาง หรือข้อจ ากัดอื่นๆ ดังนั้น ควรมีมาตรการมาก ากับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจัง

กิจกรรมอนอนไลน์ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในอัตราเร่งสูงยิ่ง

จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลสังคมออนไลน์จะต้องมีความพร้อม เพื่อรับมือให้ทัน

หน่วยงานนั้นคือ กสทช.

ความประหลาดเหลือล้ำของการทำงานของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความเป็นไปของประเทศยุคนี้คือ

พูดทุกอย่างให้ดูดี แต่ในทางปฏิบัติดูจะเป็นคนละด้าน

ผู้บริหารสูงสุดของกสทช.คือ “คณะกรรมการ” หรือที่เรียกว่า “บอร์ด” หมดวารมาเนิ่นนาน คณะรัฐมนตรีมีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน หรือ 4 เดือนที่ผ่านมา ให้เริ่มและเร่งกระบวณการสรรหา

แต่วันนั้นจนถึงวันนีสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเรื่องสรรหาให้เรียบร้อย ยังขยับไปได้เหมือนเต่าคลาน

รับสมัคร และเข้าสู่กระบวณการตรวจสอบตคุณสมบัติ ซึ่งโลกยุคออนไลน์สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว แต่แต่ที่จะดำงานแบบดิติตอล กลไกของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภากลับมีความสามารถแค่อนาล็อค

ไม่ขยับไปไหน

สะท้อนถึงอาการขาดความรู้ความเข้าใจว่า “ความล่าช้าสร้างความเสียหายให้ประเทศและชีวิตประชาชนแค่ไหน” จากการเสียเวลาของโอกาสที่จะพัฒนาเทคโนโลยี และการรับมือผลร้ายที่เกิดจากความไม่มีความสามารถในการควบคุมโลกออนไลน์ไม่ให้ทำร้าย ทำลายสังคมและชีวิตคน

เรื่องราวนี้หากจะบอกว่าเป็นเพราะ “อำนาจที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน ง่ายต่อการละเลยต่อความเดือดร้อน”

ก็คงไม่ผิด