วิเคราะห์ : 9 ปี วิกฤตฟูคุชิมา ผลกระทบอันไม่ปฏิเสธได้

ทวีศักดิ์ บุตรตัน

ในทันทีที่สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ปีหน้ารัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมแผนปล่อยทิ้งน้ำปนเปื้อนกัมตภาพรังสีที่มาจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูคุชิมา ไดอิชิ ลงทะเลปริมาณกว่า 1,200,000 ตัน

ได้เกิดปฏิกิริยาคัดค้านจากชาวประมงอย่างหนักหน่วงเพราะหวั่นเกรงอุตสาหกรรมประมงจะพังพินาศย่อยยับ

ย้อนความไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 เกิดแผ่นดินไหวแรงสั่นสะเทือน 9 ริกเตอร์สเกลในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งผลให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าฟูคุชิมาที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งของเมืองฟูคุชิมาหยุดทำงานอัตโนมัติ

ราวๆ 40 นาทีต่อมาคลื่นสึนามิสูง 4 เมตรซัดกระหน่ำโรงไฟฟ้าฟูคุชิมา สร้างความเสียหายให้กับระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์และเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง สารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมา เจ้าหน้าที่ต้องใช้น้ำฉีดเข้าไปหล่อเลี้ยงเตาปฏิกรณ์เพื่อลดแรงดันและปรับสถานะของเตาปฏิกรณ์ให้กลับสู่ระดับปกติ

น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีเก็บใส่ถังกว่า 1,000 ถังเป็นเวลานาน 9 ปีแล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นยื้อเวลาเอาไว้เพราะกรรมวิธีในการกำจัดนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากมาก แต่ในปีหน้าคาดว่าสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย จะมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจึงได้หยิบเอามาเป็นประเด็นพิจารณาเมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ในประเด็นการพิจารณานั้น มีการเสนอให้เอาถังทั้งหมดทิ้งลงทะเล หรือก่อสร้างโกดังเก็บถังกัมมันตรังสีในพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากพื้นที่ในโรงไฟฟ้าฟูคุชิมามีที่ว่างเหลืออยู่น้อยนิด

ผลสรุปในท้ายสุดได้เลือกทิ้งลงทะเล แต่กระบวนการนี้ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 40 ปีจึงจะแล้วเสร็จ

 

กลุ่มนักสิ่งแวดล้อม ชาวประมงพากันคัดค้านการตัดสินใจของรัฐบาลเพราะห่วงทะเลจะมีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อน และผลผลิตจากท้องทะเลจะขายไม่ออก

กระแสคัดค้านดังกล่าวแพร่ขยายไปถึงเกาหลีใต้ประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่นซึ่งประกาศว่าถ้ารัฐบาลญี่ปุ่นทิ้งถังเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าฟูคุชิมา จะห้ามสินค้าประมงจากญี่ปุ่นเข้าไปขายในตลาดแดนโสม และยังชี้อีกว่า วิธีการเช่นนี้เป็นการคุกคามระบบนิเวศทางทะเล

ส่วนนักวิชาการของจีนเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นพูดคุยกับเพื่อนบ้านก่อนจะลงมือปฏิบัติการเทสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนทะเล และควรจะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากจีนไปร่วมตรวจสอบด้วย

สารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้าฟูคุชิมามีสตรอนเทียม แคลเซียมและทริเทียมซึ่งเป็นไอโซโทปของอะตอมไฮโดรเจน

หลังเกิดเหตุร้าย รัฐบาลญี่ปุ่นคิดค้นระบบการกักเก็บของเหลวปนเปื้อนสตรอนเทียม และแคลเซียม เป็นไอโซโทปของอะตอมไฮโดรเจนที่ทันสมัยมากแต่ไม่สามารถกรองสารทริเทียมเป็นไอโซโทป 1 ใน 3 ชนิดของอะตอมไฮโดรเจนออกจากน้ำที่ฉีดเข้าไปหล่อเลี้ยงเตาปฏิกรณ์

ทริเทียมเป็นสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและคนหากมีปริมาณเข้มข้น เพราะฉะนั้น ต้องทำให้น้ำปนเปื้อนทริเทียมเจือจางก่อนทิ้งลงทะเล

รัฐบาลญี่ปุ่นมั่นใจว่า วิธีการทำให้น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีเจือจางลงจนไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศนั้นสามารถทำได้

แต่ปัญหาก็คือผู้บริโภคเกิดความรู้สึกหวาดกลัวการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีไปแล้วจึงไม่ซื้อสินค้าประมงไปบริโภค

 

ข่าวสัตว์ในทะเลฟูคุชิมาปนเปื้อนกัมมันตรังสีแพร่สะพัดมานานแล้ว

ตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุกับโรงไฟฟ้าเมื่อ 9 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์อเมริกันออกมาแฉว่า ปลาทูน่าครีบสีน้ำเงิน ชาวประมงอเมริกันจับได้บริเวณชายฝั่งทะเลของเมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนียจำนวน 15 ตัวปนเปื้อนแคเซียม-137 และแคเซียม-134

สูงกว่ามาตรฐานถึง 10 เท่าของปลาทูน่าพันธุ์เดียวกันที่จับได้ในทะเลแห่งเดียวกัน

นักวิทยาศาสตร์อเมริกันเชื่อว่า ปลาทูน่าครีบสีน้ำเงินซึ่งอาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณฝั่งทะเลของญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ เมื่อโตขึ้นจะอพยพโยกย้ายไปหากินบริเวณฝั่งทะเลสหรัฐอเมริกา

ปลาทูน่าครีบสีน้ำเงินที่จับได้ในฝั่งทะเลของรัฐแคลิฟอร์เนียมีน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม พิสูจน์ได้ว่าระหว่างหากินอยู่ในทะเลญี่ปุ่นได้รับสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้าฟูคุชิมา

คาดกันว่าเมื่อเกิดเหตุโรงไฟฟ้าฟูคุชิมาระเบิดแล้ว ปริมาณของสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกมีไม่น้อยกว่า 18,000 เทราแบคเคอเรล

ข่าวนี้มีผลทำให้สินค้าประมงจากทะเลใกล้ๆ กับโรงไฟฟ้าฟูคุชิมายอดขายตกฮวบ ชาวประมงลดปริมาณการจับปลาเหลือแค่ 16 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับยอดจับปลาก่อนเกิดสึนามิและแผ่นดินไหว

รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามลดความหวาดวิตกด้วยการให้เจ้าหน้าที่ประมงตรวจสอบตัวอย่างปลาและสัตว์น้ำที่จับขึ้นมาจากทะเลใกล้ๆ กับโรงไฟฟ้าฟูคุชิมา ถ้าพบว่ามีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนเกินกว่า 50 แบคเคอเรลต่อกิโลกรัมสั่งห้ามจำหน่ายทันที

ต่างกับพื้นที่อื่นๆ ที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนของกัมมันตรังสีในอาหารทะเลไว้ที่ 100 แบคเคอเรลต่อกิโลกรัม

ศูนย์ “โอนาฮามะ” ตรวจสอบการปนเปื้อนกัมมันตรังสีมีพนักงาน 8 คนคอยปฏิบัติการตรวจตัวอย่างสินค้าประมงของฟูคุชิมา ใช้เวลาราว 5-30 นาทีขึ้นอยู่กับขนาดของสินค้า แต่เจ้าหน้าที่ประมงบอกว่า เรื่องใหญ่กว่านั้นคือข่าวลือถึงอันตรายของสัตว์น้ำในทะเล

ผลการสำรวจผู้บริโภคญี่ปุ่นเมื่อถามถึงการซื้อสินค้าประมงจากฟูคุชิมาพบว่า ต้องคิดทบทวนอย่างน้อยๆ 2 ครั้งว่าควรจะซื้อมากินหรือไม่

ราว 20 เปอร์เซ็นต์ตัดสินใจไม่ซื้อเลย

 

ก่อนหน้านี้กลุ่มกรีนพีซจากเยอรมนีเข้าไปตรวจสอบบริเวณโรงไฟฟ้าฟูคุชิมาพบว่าการปนเปื้อนของกัมมันตรังสี ไม่ใช่มีแค่ในน้ำทะเล แต่ผิวดินบริเวณโดยรอบของโรงไฟฟ้าปนเปื้อนไปด้วยกัมมันตรังสีหลายล้านลูกบาศก์เมตร

การกำจัดกัมมันตรังสีปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมของฟูคุชิมาให้หมดสิ้นนั้นดูจะเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ อาจต้องใช้เวลาหลายทศวรรษ รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ยอมรับถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพยายามหาทางแก้ปัญหา แต่ทางเลือก เช่น เอาน้ำเปื้อนสารพิษไปฝัง เผาหรือต้มให้เดือดจนน้ำกลายเป็นไอ เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ยุ่งยากกว่าเอาไปทิ้งลงทะเล

รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นเองก็ยอมรับว่า ไม่มีทางเลือกอื่นๆ ยกเว้นการทิ้งลงทะเล

การตัดสินใจของรัฐบาลญี่ปุ่นครั้งนี้ไม่เพียงส่งผลกระเทือนต่อชาวประมงเท่านั้น แต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล จะเป็นภาพลบที่ญี่ปุ่นไม่อาจลบเลือนได้

 


โค้งสุดท้ายกับโปรโมชั่นเอาใจคอนิตยสารในเครือมติชน

สมาชิกตลอดปีลดทันที 40%
.
มติชนเอาใจนักท่าน จัดโปรโมชั่นให้กับผู้สมัครนิตยสารในเครือมติชน ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 31 ตุลาคม 2563 ที่ลดราคาพิเศษมากถึง 40% จัดส่งลงทะเบียน ได้แก่
.
📷มติชนสุดสัปดาห์ 52 ฉบับต่อปี
จากราคา 3,692.- เหลือเพียง 2,652.-
*รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
[https://cutt.ly/wgo32TT](https://cutt.ly/wgo32TT?fbclid=IwAR04elXa3x7sarnLW6XV_rpaz_iBPRjklMsARiSFCmwI8bPV2XvtUFpz9cU)
.
📷ศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับต่อปี รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
จากราคา 1,692.- เหลือเพียง 1,116.-
*รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
[https://cutt.ly/8go39qV](https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fcutt.ly%2F8go39qV%3Ffbclid%3DIwAR1_bNE5QNkuUrUk6AWV4IErd2yJV8C_KxbMMGSNF8uuBEyv5zeMizXPOxA&h=AT1cca8T767PgQR-dUL9viQ1qaiYSrdmaaW9dZDtCLJMj3kbmKG8yPlD6Lq7C8CP64TXzlRK-G-9iqvTLMMLhaA6c6QR56P1rhwurkRDtYJfHQkxt2EETYa9RXxdrTarfmUX&__tn__=-UK*F)
.
📷เทคโนโลยีชาวบ้าน 24 ฉบับต่อปี รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
จากราคา 1,704.- เหลือเพียง 1,224.-
*รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
[https://cutt.ly/cgo39D2](https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fcutt.ly%2Fcgo39D2%3Ffbclid%3DIwAR3nl3HmZQY84OGLn5Vc3NCx171_Z1ZOvM6MgJxSO6wx6jpjp-pTJuhTrCE&h=AT0SV643sUGwxQ_ruE9zOfxa3FiVXunxX6fu2is3d9XgyM9wIvdcudrui57szQKMjSRDq-6ZB0YWalSeCg1y9dmeY8GjhXv_WATOMRXhBnZAilZ5EA8W7NfGP7UsZff6tpjG&__tn__=-UK*F)
.
📷สมาชิกนิตยสาร 3 ปกรายปี ประกอบด้วย
– นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์รายปี (52 ฉบับ)
– นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านรายปี (24 ฉบับ)
– นิตยสารศิลปวัฒนธรรมรายปี (12 ฉบับ)
.
จากราคา 7,088.- เหลือเพียง 4,992.-
*รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
[https://cutt.ly/qgo8uAY](https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fcutt.ly%2Fqgo8uAY%3Ffbclid%3DIwAR3u7VdRS2d10lbrzDE9GIlXmQPQDBPbt8VEyVqPVVLtQcecsnS3D5o-pXU&h=AT2JZSVkP3xc6ZAYXUEhYE5-OoU9GZpqfHNrMZlbESEZ3WC3r6GeJSIBrCREr46o_XiAPxn_c_AMY4bpyY0yFXRWV6PbC9n4yake5awbYZxj8YKhekmyI2uejHsfhhar8Rki&__tn__=-UK*F)
.
.
ดูโปรโมชั่นพ็อกเก็ตบุ้คและนิตยสารต่างๆ ได้ที่ [www.matichonbook.com](https://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fwww.matichonbook.com%2F%3Ffbclid%3DIwAR2Uq1niVpjq0kG5tUTK8MPPt_eU5Sl6MrpFgUOWG3dGqTEJYRidtfPrgms&h=AT2ApMefnkFj0WaHM-IguZ_FsN4TSvnJTkmkPRjmiWsZT8DETR8kRqI19OrJRUy6bNuCqq3tgDXFb1NCojzfwKawg7Cdtx7RmIOWjCMpUTuD0WmrszBFZZFOWjrktJfn40E7&__tn__=-UK*F)
.
ห้ามพลาด
สมัครสมาชิกนิตยสารในเครือมติชน
ลดราคาพิเศษ 40%
ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 31 ตุลาคม 2563