10 ปี เมษา-พฤษภา 53 : “วรรณสิงห์” โร่แจง ถูกขุดร่วมล้างเลือดหลังวันสังหารประชาชน

โลกออนไลน์แห่ขุดภาพ “วรรณสิงห์” ร่วม Big cleaning day หลังสังหารหมู่ปี 53 เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เจ้าตัวโร่ทวีตแจง แกนนำ นปช. ชี้ คือวันจงใจทำลายหลักฐาน

ผ่านไปกว่า 10 ปี เหตุการณ์ Big cleaning day ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่ชาวกรุงเทพมหานครบางส่วน และ กลุ่มกิจกรรมจำนวนหนึ่ง ออกมาล้างทำความสะอาดพื้นที่ชุมนุมของกลุ่ม คนเสื้อแดง หลังวันที่ 19 พ.ค. 2553 ซึ่งอยู่ในช่วงเดียวกันกับเหตุการณ์การสังหารหมู่ “เมษา-พฤษภา 2553” มีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยศพ บาดเจ็บกว่าสองพันคน

กิจกรรมนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์หลากหลายจำนวนมากในเวลานั้น เนื่องจากมองในมุมของการทำความสะอาดและการร่วมแรงร่วมใจเพื่อก้าวข้ามความขัดแย้งแล้ว หากมองอีกด้าน ก็คือการทำลายหลักฐานและพยายามลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในแง่ของเหตุการณ์การปราบปรามผู้ชุมนุมทางการเมือง ที่มีการเสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

“Ten years challenge Big cleaning day: 23 พฤษภาคม…

โพสต์โดย มิตรสหายท่านหนึ่ง เมื่อ วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2020

เมื่อวานนี้ (23 พ.ค.) ครบรอบ 10 ปี สำหรับเหตุดังกล่าวที่เกิดขึ้น ทำให้ห้ผู้คนจำนวนมาก เริ่มตั้งคำถามในอีกแง่มุม สำหรับคนที่เคยไปล้างถนนในวันนั้น ว่าในวันนี้ยังรู้สึกแบบเดิมอยู่หรือไม่ จนกระทั่งเรื่องดังกล่าว กลายเป็นดราม่าในโลกออนไลน์

มีผู้นำภาพ “วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” พิธีกรรายการโทรทัศน์ที่เคยร่วมกิจกรรมดังกล่าวมาโพสต์ เพื่อตั้งคำถามว่า วรรณสิงห์ ได้ทบทวนสิ่งที่ตัวเองเคยทำหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้ทวิเตอร์ กระดกดื้บดึ๊ยดื้บดืบ REST. @nongfierceheee แท็ค @wannasingh ซึ่งเป็นบัญชีของ วรรณสิงห์ เพื่อทวีตตั้งคำถาม

ต่อมา วรรณสิงห์ ทวีตตอบว่า ยอมรับครับตอนนี้ไม่ได้เข้าใจอะไรเรื่องบ้านเมืองมากนัก อายุ 25 ปี ชนชั้นกลาง ไม่ได้เข้าใจจริงๆ ว่าทำไมถึงมีการชุมนุม แต่ตอนชุมนุมก็พยายามลงไปคุยกับผู้ชุมนุมอยู่หลายๆครั้งเพราะอยากจะเข้าใจมากขึ้น ทำให้ตอนนั้นไม่ได้มองคนเสื้อแดงเป็นคนน่ากลัวอย่างที่หลายๆ เคยรอบตัวรู้สึก ก็เลยไป

คิดว่าความรู้สึกหลักๆคืออยากไปสำรวจเพื่อ make sense ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมืองเรา วันนั้นจำได้ว่าเห็นตึกเซ็นทรัลเวิลด์หลังไฟไหม้ถล่ม ก่อนจะถูกเอาฉากกั้นมาปิดไว้ ยอมรับว่าไม่ได้เข้าใจว่าการไป ตอนนั้นในเชิงการเมือง มันมีความหมายอะไร

“มองย้อนกลับไป เข้าใจแล้วว่ามันเป็นเข้าร่วมการทำลายหลักฐาน และการไม่ให้เกียรติผู้ตายอย่างไรบ้าง ตอนนั้นไม่เข้าใจ “ขอโทษครับ” หลังจากนั้นก็พยายามเข้าใจ สังคมไทย และบริบทของสิ่งต่างๆให้มากขึ้นเรื่อยมาครับ อย่างไรก็ตามแต่ ขอโทษด้วยครับ ไม่น่าไปเลยครับ” วรรณสิงห์ ทวีตยอมรับความผิดพลาด

ด้าน น.พ.เหวง โตจิราการ แสดงความคิดเห็นต่อกรณีนี้เช่นกัน โดยระบุว่า บิ๊กคลีนนิ่งเดย์ คือวันจงใจทำลายหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ ของการฆ่าประชาชนสองมือเปล่ากลางเมือง เมื่อพฤษภา 53 ไปจนหมดสิ้น

ทุกคนที่ไม่ได้เรียนกฎหมาย ไม่ได้เรียนตำรวจ ไม่ได้เกี่ยวข้องทางด้านนิติศาสตร์เลยแม้แต่น้อย
ก็พอจะรู้ว่าในคดีอาชญกรรมทุกๆคดี หลักฐานเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่จะนำอาชญกรมาดำเนินคดี ดังนั้นอาชญกรที่มีสติปัญญาไหวพริบในการก่ออาชญกรรมทุกคนล้วนทำลายหลักฐานของการก่ออาชญกรรมของตนให้ไม่เหลือหลอเพื่อที่ตนเองจะได้พ้นเงื้อมมือกฏหมายลอยนวลภายหลังการก่ออาชญกรรมไปได้เพื่อไปก่ออาชญกรรมครั้งต่อๆไป

ดังนั้นฟากอาชญกร จึง สร้างกระแส “บิ๊กคลินนิ่ง” ขึ้นมา เพื่อทำลายหลักฐานของการฆ่าประชาชนสองมือเปล่ากลางเมืองให้หมดสิ้น หรือให้มากที่สุดจนไม่อาจจะต่อภาพของการ “ฆ่าประชาชนกลางเมือง”ได้ พวกที่เข้าร่วมใน “บิ๊กคลินนิ่ง” ก็รู้ดีว่า นี่คือการทำลายหลักฐานอย่างเป็นระบบครั้งมโหฬารและเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายความมั่นคงรวมไปถึงฝ่ายรักษาความยุติธรรมทั้งหลายก็รู้ดี

แต่ไม่เห็นมีการห้ามปรามหรือ กล่าวถึงแม้สักนิด

นี่เป็นการชี้บ่งชัดเจนว่า เป็นการดำเนินการของ “ฝ่ายฆ่าประชาชน”ต้องการสร้างมาตรการที่ทำลายหลักฐานทั้งหมดทำให้ไม่สามารถสาวถึงตัวพวกเขาได้ ยิ่งเป็นการยืนยันว่า “การฆ่าประชาชนสองมือเปล่ากลางเมืองปี2553นั้น” เป็นการกระทำของฝ่ายรัฐ ฝ่ายศอฉ.ฝ่ายรัฐบาลอภิสิทธิ์นั่นเอง

คนที่เข้าร่วมใน “บิ๊กคลินนิ่ง” ครั้งนั้นก็ไม่ต่างอะไรจากเครื่องมือ หรือผู้ช่วยสำคัญในการฆ่าประชาชนสองมือเปล่ากลางเมือง ทางกฎหมายถือว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมโดยตรงในการกระทำฆาตกรรม