“ธนาคารโลก” เตือน “โควิด-19” ระบาด ก่อผลกระทบใหญ่ต่อศก.จีน

วันที่ 31 มีนาคม 2563 สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า อาทิตยา มัทตู หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านเอเชียตะวันออกและแปซิิฟิคของธนาคารโลกเปิดเผยว่า การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ได้เป็นเหตุทำให้เกิดภาวะช็อกทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต้องชะงักและเพิ่มความยากจนไปทั่วภูมิภาค

อาทิตยากล่าวว่า แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีที่สุด แต่ภูมิภาคก็ยังมีอัตราการเติบโตลดลงอย่างมากโดยการขยายตัวของจีนช้าลงไปที่ 2.3% จาก 6.1% ในปี 2019 ตามรายงานจากผลกระทบของการระบาดใหญ่ในภูมิภาค

อีกทั้ง 2 ใน 3 ส่วนของประชากรทั้งโลกที่อยู่ภายใต้มาตรการปิดเมืองเพื่อลดการแพร่ระบาด แม้จะรอดจากภาวะถดถอยไปได้ แต่ก็จะประสบกับการชะลอตัวอย่างหนัก

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกคาดการณ์ว่าจีนจะเติบโตปีนี้อยู่ที่ 5.9% ซึ่งเป็นอัตราที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ปี 1990

รายงานยังระบุว่า ไม่เพียงแค่จีน ทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค อาจมีอัตราการเติบโตช้าลงไป 1.3% จากเส้นพื้นหรืออยู่ที่ 2.8% ในสถานการณ์แง่ร้ายมากเมื่อเทียบกับร้อยละ 5.8 ในปีที่แล้ว

“การระบาดครั้งใหญ่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างลึกซึ้ง แต่ความลึกและระยะเวลาของการช็อกนั้นไม่แน่นอนอย่างผิดปกติ” รายงานระบุ และยังกล่าวเตือนว่า การกักกันการระบาดใหญ่จะช่วยให้สามารถฟื้นตัวได้ แต่ความเสี่ยงจากความเครียดทางการเงินยังอยู่ในระดับสูงไปไกลกว่าปี 2563 และกลุ่มเปราะบางที่สุดคือประเทศที่พึ่งพาการค้า การท่องเที่ยวและสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนัก ซึ่งจะก่อหนี้อย่างหนักหน่วง และนั้นทำให้ขึ้นอยู่กับกระแสการเงินที่ผันผวน

มัตทูกล่าวอีกว่า ในบรรดา 17 ประเทศ 17 ที่สำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานระดับโลกและมูลค่าการค้าที่คิดเป็นราว 70 เปอร์เซ็นต์ของการค้าโลก “ได้รับผลกระทบทั้งหมด” และขณะนี้เป็นกลุ่มประเทศที่มีผู้ป่วย COVID-19 จำนวนมากที่สุดในโลก

“ในโลกของการพึ่งพากันและกันที่จุดหมายทางเศรษฐกิจเกี่ยวพันกัน ภาวะช็อกนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศสำคัญ ๆ เหล่านี้ในเวลาเดียวกัน” มัทตู กล่าวและว่า อาจต้องจ่ายด้วยต้นทุนที่สูงในแง่เศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม มัทตูกล่าวว่า ยังไม่สายเกินไปหากดำเนินตามรอยเกาหลีใต้ ด้วยการเร่งตรวจเชื้อปูพรมและกักกันเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเริ่มสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด และนี่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์จรวด แต่ความช่วยเหลือแบบนี้ แม้แต่ประเทศยากจนก็ทำได้เช่นกัน