‘รองโฆษกรัฐบาล’ เผยไทยติดอันดับ 8 ประเทศมีศักยภาพ เติบโตด้านการค้ามากที่สุดในทั่วโลก

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 ที่ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เปิดตัวรายงานเทรด 20 ที่เป็นการสำรวจ 66 ประเทศทั่วโลก โดยมีตัววัด 12 ด้านภายใต้แกนหลัก 3 ด้านคือ พลวัตทางเศรษฐกิจ ความพร้อมด้านการค้า และความหลากหลายของการส่งออก เผยไทยติดอันดับที่ 8 ใน 20 ประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตด้านการค้ามากที่สุด โดยมีปัจจัยหนุนจากความพร้อมในด้านการค้า และการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในด้านการค้าขายออนไลน์หรือทำการค้าออนไลน์ (อีคอมเมิร์ซ)

ทั้งนี้ ครม.ได้รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีอาเขียนด้านพลังงาน (เออีเอ็มอี) ครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 26 กันยายน 2562 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งมีผลการประชุมที่สำคัญ อาทิ ไทย สปป.ลาว และมาเลเซีย ยืนยันการเพิ่มปริมาณการซื้อขายไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ผ่านไทยไปยังมาเลเซียที่ปริมาณสูงสุด 300 เมกะวัตต์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 – ธันวาคม 2564 และรับทราบแนวทางการสนับสนุนเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดและการผลักดันการจัดตั้งศูนย์องค์ความรู้ด้านถ่านหินอาเซียน เพื่อรองรับการเติบโตโรงไฟฟ้าถ่านหินภายในปี 2583

นอกจากนี้ ครม.มีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะทำงานสาขาควมร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดนภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 3 ตามที่ นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่การกระทรวงพาณิชย์เสนอและอนุมัติให้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นผู้ลงนามในร่างเอกสารดังกล่าวที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2562 ณ สปป.ลาว ซึ่งการลนามในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาค คือ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย (ซีแอลเอ็มวีที) ร่วมกันกับจีน ในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระยะ 5 ปี สำหรับความร่วมมือทางศรษฐกิจข้ามพรมแดน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเนันการเชื่อมโยงและพัฒนาศรษฐกิจ และการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนและอุตสาหกรรมโดยเน้นการพัฒนาสาขาที่มีความสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย – อินเดีย ครั้งที่ 8 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9- 10 ตุลาคม 2562 ณ กรุงนิวเคลี ประเทศอินเดีย โดยมอบหมายให้นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แผนไทยเป็นผู้ลงนาม ซึ่งร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ โยมีประเด็นสำคัญ อาทิ ด้านความเชื่อมโยงระหว่างไทยกับอินเดียเดินหน้าโครงการถนนสามฝ่าย อินเดีย เมียนมา ไทย และเชื่อมโยงทางการค้าทางทะเลระหว่างกันตามแผนแม่บทด้านความเชื่อมโยงของความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ เป็นต้น