จรัญ มะลูลีม : การทูตคานอำนาจแบบสหรัฐฯ หลังปฏิวัติ 1979 ถึงสงครามอิรัก-อิหร่าน

จรัญ มะลูลีม

สหรัฐ-อิหร่าน จากอดีตถึงปัจจุบัน (6)

รัฐอันธพาลและการทูต (ต่อ)

“การก่อไฟความไร้เสถียรภาพ” ของอิหร่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิรักเป็นเรื่องที่ตกแต่งขึ้น ซึ่งในบรรดาอาชญากรรมอื่นๆ นั้น ครั้งหนึ่งอิหร่านได้เข้ามาช่วยชาวเคิร์ดด้วยการปกป้องพวกเขาจากการรุกรานของ ISIS และสร้างอาคารโรงงานไฟฟ้าราคา 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ได้อีกในระดับที่เป็นอยู่ก่อนการรุกรานของสหรัฐ

ข้อถกเถียงอื่นๆ ที่มีอยู่ในที่นี้ก็คือ หากอิหร่านมีบันทึกเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เลวร้ายแล้ว ทำไมสหรัฐจึงยกเลิกข้อตกลงกับรัฐเช่นนี้ได้เล่า?

ลีออน วีเซลไทเออร์ (Leon Wieseltier) บรรณาธิการร่วมของวารสารเสรี Atlantic ที่น่าเลื่อมใส กล่าวว่า สหรัฐควรเริ่มที่ “พันธมิตรที่สหรัฐให้การอุปถัมภ์ระหว่างอิสราเอลกับรัฐซุนนีทั้งหลาย” เสียก่อน

นี่เป็นปฏิกิริยาของเขาที่มีต่อสหรัฐและการทำลายล้างอื่นๆ ที่สหรัฐจะทำการตกลงกับรัฐบาลที่น่ารังเกียจในอิหร่าน

ปัญญาชนเสรีนิยมที่ได้รับความเคารพผู้นี้ยืนยันว่าซาอุดีอาระเบียทำให้อิหร่านมองดูเหมือนสวรรค์อย่างแท้จริง เมื่อเปรียบเทียบอิสราเอลกับอาชญากรรมที่เลวร้ายในกาซาและที่อื่นๆ แล้ว ควรที่พันธมิตรจะสอนอิหร่านให้มีพฤติกรรมที่ดีอย่างนั้นหรือ

บางทีการให้การยอมรับก็ไม่ได้มีเหตุผลไปเสียทั้งหมดเมื่อเราพิจารณาบันทึกด้านสิทธิมนุษยชนกับรัฐบาลต่างๆ ที่สหรัฐนำมาใช้และสนับสนุนทั่วโลก

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่ารัฐบาลอิหร่านคุกคามประชาชนของตน แม้ว่ามันจะน่าเสียใจ แต่ก็มิได้ทำลายสถิติในเรื่องนี้และไม่ได้ตกลงมาในระดับเดียวกับพันธมิตรที่เป็นที่ชื่นชอบ (ของสหรัฐ)

แต่นั่นมิได้เป็นเรื่องที่สหรัฐสนใจและแน่ละ มิได้เป็นเรื่องที่อิสราเอลและซาอุดีอาระเบียสนใจเช่นกัน

 

ทันทีที่อิหร่านโค่นรัฐบาลของชาฮ์ในปี 1979 สหรัฐก็หันไปสนับสนุนการโจมตีโดยซัดดัม ฮุสเซน ที่โหดเหี้ยมต่ออิหร่าน

โรนัลด์ เรแกน ไปไกลถึงขั้นปฏิเสธอาชญากรรมครั้งใหญ่ของซัดดัม รวมทั้งการโจมตีในสงครามเคมีต่อประชาชนชาวเคิร์ด ซึ่งเรแกนอ้างว่าเป็นการกระทำของอิหร่าน

เมื่อซัดดัมถูกสอบสวนภายใต้การดูแลของสหรัฐ อาชญากรรมที่น่ากลัวและเรื่องอื่นๆ ที่สหรัฐได้มีส่วนร่วมในการทำผิดก็ค่อยๆ ถูกนำออกมาจากการถูกกล่าวหาที่มุ่งไปที่อาชญากรรมอันน้อยนิดของเขา การฆาตกรรมชาวชีอะฮ์ 148 คนในปี 1982 เป็นบันทึกอันน่าสยดสยองของซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัมนั้นเป็นดังเพื่อนที่มีค่าของสหรัฐ ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับการยอมรับอย่างที่อิสราเอลเท่านั้นเคยได้รับมาก่อน นั่นคือการโจมตีเรือของสหรัฐ USS Stark ในปี 1987 สังหารลูกเรือไป 37 คนโดยไม่ต้องรับโทษ

อิสราเอลก็ทำแบบเดียวกันในปี 1967 ด้วยการโจมตีเรือ USS Liberty ในขณะที่อิหร่านยอมแพ้ในระยะเวลาสั้นๆ หลังจากสหรัฐใช้ปฏิบัติการ Praying Mantis กับเรือของอิหร่านในน่านน้ำของอิหร่านเอง

ปฏิบัติการนี้จบลงด้วยการยิงเครื่องบินพลเรือนบนน่านฟ้าของอิหร่านจากเรือ USS Vincennes โดยไม่มีการคุกคามใดๆ จากอิหร่านที่น่าเชื่อถือเกิดขึ้นเลย มีผู้ถูกสังหารไป 290 คน ต่อมามีการมอบรางวัล Legion of Merit ให้กับผู้บัญชาการเรือ Vincennes สำหรับ “การกระทำที่น่าสรรเสริญ” และ “สำหรับการรักษาไว้ซึ่งความสงบและบรรยากาศของการเป็นมืออาชีพ”

ในช่วงที่มีการโจมตีเครื่องบินเกิดขึ้นนั้น “เราได้แต่ยืนขึ้นอย่างหวาดหวั่นในสิ่งที่ได้เห็น และในสิ่งที่ได้รับการยอมรับจากชาวอเมริกัน!” ทิลล์ รากู (Thill Raghu) วิพากษ์

 

หลังจากสงครามสหรัฐยังคงสนับสนุนซัดดัม ฮุสเซน ศัตรูเบื้องต้นของอิหร่านต่อไป ประธานาธิบดีบุชที่ 1 และรัฐบุรุษบุช ยังได้เชิญวิศวกรนิวเคลียร์ของอิรักไปเยือนสหรัฐเพื่อฝึกการผลิตอาวุธต่างๆ อันเป็นการคุกคามต่ออิหร่านเป็นอย่างมาก

การแซงก์ชั่นอิหร่านมีความหนักหน่วงขึ้น ทั้งการแซงก์ชั่นบริษัทต่างชาติที่มีข้อตกลงกับอิหร่าน รวมทั้งปฏิบัติการในการห้ามอิหร่านจากระบบการเงินระหว่างประเทศอีกด้วย

ในไม่ช้าไม่นานมานี้ ความเป็นปรปักษ์ได้ขยายไปสู่การก่อวินาศกรรมด้วยการสังหารนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ (คาดกันว่าโดยอิสราเอล) และสงครามไซเบอร์ ซึ่งประกาศขึ้นด้วยความภาคภูมิใจ

กระทรวงกลาโหมประกาศว่า สงครามไซเบอร์เป็นการก่อสงครามที่สามารถตอบโต้ได้โดยใช้ทหารตามข้อตกลงของนาโต้ (องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ) ซึ่งให้การยอมรับในเดือนกันยายนปี 2014 ว่าการโจมตีทางไซเบอร์อาจนำไปสู่การป้องกันร่วมกันตามอำนาจข้อบังคับที่มีอยู่ของนาโต้เมื่อเราเป็นเป้า แต่มิได้เป็นผู้กระทำความผิด

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยุติธรรมที่จะเสริมว่ากระบวนการนี้ได้ยุติลง ประธานาธิบดีบุชที่ II ได้มอบของขวัญหลายอย่างให้อิหร่านด้วยการทำลายศัตรูสำคัญของอิหร่าน ทั้งซัดดัม ฮุสเซน และฏอลิบาน

ดูเหมือนจะมีหลักฐานแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ว่าอิหร่านจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในปี 2005 ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน อะลีคอเมเนอีออกฟัตวา (คำวินิจฉัย) ต่อต้านการมีอาวุธนิวเคลียร์

แล้วทำไมจากความเชื่อนี้ชาวอิหร่านถึงอยากที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ที่ไม่เคยมีอยู่ของพวกเขาเล่า?

 

เราสามารถตัดสินด้วยตัวของเราเองได้ว่าทำไมผู้นำอิหร่านจึงปฏิเสธ ที่อยู่เหนือคำถามในอดีตก็คือ พวกเขามีความตั้งใจดังกล่าว ในเมื่อได้มีการย้ำอย่างเปิดเผยจากผู้มีอำนาจหน้าที่สูงสุด ซึ่งรายงานต่อนักหนังสือพิมพ์ต่างประเทศว่าอิหร่านจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ “อย่างแน่นอนและเร็วกว่าที่คิดไว้”

บิดาของโปรแกรมพลังงานนิวเคลียร์และอดีตผู้นำขององค์การพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่านมีความมั่นใจว่าแผนการของการเป็นผู้นำก็คือการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ สำนักงานข่าวกรองกลาง (CIA) ก็ยังรายงานว่า “ไม่เป็นที่สงสัย” เลยว่าอิหร่านจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาหากประเทศเพื่อนบ้านของอิหร่านทำ (อย่างที่พวกเขาทำ)

ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ชาฮ์ อันเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดที่เพิ่งอ้างถึง ในช่วงเวลาที่เจ้าหน้าที่ชั้นสูงของสหรัฐ ดิ๊ก เชนีย์ (Dick Cheney) โดนัลด์ รัมส์เฟลด์ (Donald Rumsfeld) เฮนรี่ คิสซิoเจอร์ (Henry Kissinnger) กดดันมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้หาแนวทางสำหรับความพยายามเหล่านี้