E-DUANG : โฉมใหม่ รัฐบาล พลังประชารัฐ โฉมเก่า รัฐบาล พลังประชาชน

การก่อรูปขึนของพรรคพลังประชารัฐ เมื่อประสานกับความมุ่งมั่นของพรรคพลังประชารัฐในการสร้างฐานทางการเมืองเพื่อรองรับกับการสืบทอดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ด้านหนึ่งได้สร้างความหงุดหงิดเป็นอย่างสูงในทางการเมือง

โดยเฉพาะที่เลือกพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรี รวมไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนชาวไทย

และบางส่วนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย เพราะเชื่อในความชัดเจนของหัวหน้าพรรคทั้ง 2

แต่ด้านหนึ่งเพราะการก่อรูปขึ้นของพรรคพลังประชารัฐและเพราะการเข้าร่วมของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย

ก่อให้เกิดอาการ”ตาสว่าง”ในทางการเมืองได้อย่างลึกซึ้ง

 

จะเข้าใจอาการ“ตาสว่าง”ได้จำเป็นต้องย้อนไปยังสถานการณ์ก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 สถานการณ์ก่อนรัฐประ หารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

บทบาทเมื่อก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 เป็นของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

นำโดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล

บทบาทเมื่อก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นของมวลมหาประชาชนที่เรียกตนเองว่า “กปปส.” นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

มองในแง่พรรคการเมืองก็โจมตีพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย

หากตรวจสอบคนสำคัญของคสช.และของพรรคพลังประชา รัฐในขณะนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นคนซึ่งเคยทำงานมากับพรรคไทยรัก ไทย พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทยทั้งสิ้น

รัฐบาลของพรรคพลังประชารัฐจึงมีฐานของ 3 พรรคการเมืองนั้นเพียงแต่หัวคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เท่านั้น

 

บรรดากองเชียร์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกปปส.ที่เคยรังเกียจพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย

สู้ตั้งแต่ปี 2548 เรื่อยมาจนถึงปี 2562

แทนที่จะได้คนหน้าใหม่เข้ามาบริหารตรงกันข้ามกลับได้คนของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทยมา

โดยมีพรรคประชาธิปัตย์พรรคภูมิใจไทยร่วมอยู่ในรัฐบาล