‘ชูศักดิ์’ เสนอแพคเกจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของพท. ย้ำแม้ยากก็ต้องทำ

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญในส่วนของพรรค พท. ว่า เหตุผล และความจำเป็นในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 1.รัฐธรรมนูญฉบับนี้ร่างขึ้นโดยผลพวงของการรัฐประหาร บนแนวคิดต้องการกาจัดคู่แข่ง ทางการเมืองและเพื่อการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร 2.เป็นรัฐธรรมนูญที่ต้องการสร้างรัฐราชการแต่ลดบทบาทของประชาชนและตัวแทนของประชาชน 3.เนื้อหาหลายส่วนของรัฐธรรมนูญเป็นการนำพาประเทศถอยหลัง และไปสู่วิกฤตของหายนะ เช่น การใช้ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นระบบที่ไม่ชอบ ธรรมและสร้างปัญหาต่อระบบการเมืองอย่างมาก, การกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยที่ยุทธศาสตร์ดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่ขาดการมีส่วนร่วมและเป็นแนวคิดของ คสช. ที่มาจากคนเพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่จะพันธนาการ ประเทศชาติไปอีกยาวนาน, การลดบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารแต่เพิมอำนาจให้กับศาล และองค์กรอิสระก่อให้เกิดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอานาจที่ไม่สมดุล, การกำหนดให้รัฐธรรมนูญแก้ไขยากจนไม่อาจแก้ไขได้จะนำมาซึ่งวิกฤตรัฐธรรมนูญในอนาคต, การได้มาซึ่งนายกฯขาดความเป็นประชาธิปไตย 4.รัฐธรรมนูญนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค ซึ่งไร้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และเปิดโอกาศให้อำนาจนอกระบบหรือกองทัพเข้าแทรกแซงทางการเมืองได้ง่าย

เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทำได้ยากจนถึงยากที่สุดที่ไม่ อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้เลย โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมไว้ในมาตรา 255 และมาตรา 256 และ 5.การแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางหมวดนั้น ก่อนดำเนินการต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ก่อนซึ่งรวมถึงหมวดว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ในสภาพการณ์ที่ ส.ว. มาจากการคัดเลือกของ คสช. และถือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ คสช. โดยหัวหน้า คสช. ผันตัวเองมา เป็นนายกรัฐมนตรี เช่นนี้แล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเป็นไปได้ยาก

นายชูศักดิ์กล่าวอีกว่า พรรค พท.ได้ออกแถลงการณ์เน้นย่าจุดยืนว่าพรรคไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตั้งแต่ในชั้นยกร่างแล้ว เพราะเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาและที่ปรากฏชัดแล้วคือเรื่องระบบเลือกตั้ง ดังนั้นพรรคจึงนับสนุนและพร้อมที่จะผลักดันให้มีแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ เพราะถือเป็น นโยบายสำคัญของพรรคตามที่ได้ประกาศไปแล้ว โดยประเด็นสาคัญเบื้องต้นที่จะดำเนินการแก้ไข เพิ่มเติมคือ ประการแรก ต้องแก้ไขเพิ่มเติมหมวดว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 256 โดยแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมและรัฐธรรมนูญให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นให้การแก้ไข เบื้องต้นรัฐธรรมนูญสามารถทาได้ในความเป็นจริง ประการที่สอง เนื่องจากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญมีหลายส่วนที่ต้องแก้ไขเกี่ยวพันกันหลายหมวด หลายมาตรา และประชาชนไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการยกร่าง แม้จะมีส่วนในการออกเสียงประชามติ ให้ความเห็นชอบแต่ก็เป็นประชามติที่ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริงดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการยกร่างทั้งในส่วนของกระบวนการและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่า ควรจะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกของประชาชนมา ดำเนินการยกร่าง ในกรณีนี้จึงจำเป็นต้องเพิ่มเติมบทบัญญัติให้รัฐธรรมนูญในหมวดของการแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ กรณีดังกล่าว สามารถทำได้โดยไม่ขัดกับแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เคยวินิจฉัยไว้ โดยนำประเด็นดังกล่าวไปขอความเห็นชอบจากประชาชนโดยการออกเสียงประชามติก่อนดำเนินการ ประการที่สาม เนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นอย่างไรก็ต้องให้สภาร่างรัฐธรรมนูญและประชาชนร่วมกันพิจารณาต่อไปโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนถึงการออกเสียงประชามติ ให้ความเห็นชอบเป็นร่างรัฐธรรมนูญ

“การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ยากก็ต้องทำ ต้องแก้วิธีแก้รัฐธรรมนูญ ยึดหลักการมี สสร.ที่มาจากประชาชนมายกร่าง และขอประชามติจากประชาชน” นายชูศักดิ์กล่าวว่า

 

มติชนออนไลน์