รายงานพิเศษ / โชคชัย บุณยะกลัมพ/หุ่นยนต์มีอิทธิพล ต่อความคิดของเด็กๆ ได้ แม้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ตาม

รายงานพิเศษ / โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

 

หุ่นยนต์มีอิทธิพล

ต่อความคิดของเด็กๆ ได้

แม้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ตาม

 

วัยเด็กเป็นวัยแห่งการเตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

ถ้าเด็กได้รับสิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกๆ ด้าน เด็กก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ได้อย่างราบรื่น เด็กในวัยนี้จะมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่เข้าโรงเรียน เด็กจะเริ่มเรียนรู้ในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อนแล้วจึงค่อยเป็นประสบการณ์ไปหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ไกลตัวออกไป

ความอยากรู้อยากเห็น สามารถจำเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ มีความสนใจที่จะทำสิ่งต่างๆ และจะพยายามทำให้สำเร็จ รู้จักชอบหรือไม่ชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้ มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรม

ในยุคปัจจุบันการเรียนรู้ของเด็กได้มีการเปิดกว้างขึ้นและเข้าถึงได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน เนื่องจากวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ รวมไปถึงชนิดของสื่อ เครื่องมือ และอุปกรณ์ multimedia ต่างๆ มีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ออกมา เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ และใช้ประโยชน์

การเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริงๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์ การ์ตูน หรือจากการอ่านจากหนังสือได้

ช่องทางการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อเด็ก ไม่ว่าจะเป็นสื่อสารมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น นิตยสาร หรือแม้กระทั่งสื่อเชิงกิจกรรม เช่น เกม อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ ประเภท social networking ต่างๆ

การเลียนแบบนั้นเด็กอาจจะเลียนแบบทั้งสิ่งที่ไม่ดีและสิ่งดีปะปนกันไปตามสถานการณ์ที่เด็กได้ประสบพบเจอมา

 

ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย Plymouth ได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์ตระหนักถึงผลกระทบต่อทางสังคมที่จะเกิดขึ้นกับลูกหลานของเราในอนาคต และหาแนวทางวิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงของเยาวชนจากอิทธิพล วิวัฒนาการของหุ่นยนต์ที่จะมีต่อพวกเขา

ในอนาคตหุ่นยนต์มนุษย์สามารถมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของเด็กๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Plymouth ประเทศอังกฤษพบว่า เด็กเยาวชนมักมีจะตอบสนองต่อคำตอบของหุ่นยนต์แม้ว่าจะเป็นคำตอบที่ผิดก็ตาม

ในการศึกษาของ Anna Vollmer และเพื่อนร่วมงานได้เปรียบเทียบว่าเด็กและผู้ใหญ่ตอบสนองต่องานที่เหมือนกันได้อย่างไร

ทีมวิจัยพบว่าเด็กและเยาวชนมีความผูกพันใกล้ชิดกับหุ่นยนต์มากกว่าผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่สามารถควบคุมความรู้สึกที่มีต่อหุ่นยนต์มนุษย์ได้ดี

สำหรับอิทธิพลของหุ่นยนต์มนุษย์ที่มีต่อเด็ก โดยให้เด็กอายุระหว่าง 7-9 ปี ที่ทำการทดลองนั่งอยู่คนเดียวในห้อง และให้ทำข้อสอบ ปรากฏว่า เด็กๆ สามารถทำคะแนนได้ดีในระดับร้อยละ 87

แต่เมื่อให้หุ่นยนต์หลายตัวเข้ามารวมอยู่ในห้องด้วย ปรากฏว่า คะแนนสอบของพวกเด็กร่วงลงไปอยู่ที่ร้อยละ 75

และที่น่าตกใจมากก็คือ ร้อยละ 74 ของข้อสอบที่พวกเด็กตอบผิดนั้นมาจากการชี้แนะของหุ่นยนต์ที่ใช้ทดสอบอีกด้วย

แต่ขณะที่ทำการทดสอบของผู้ใหญ่ไม่พบความคิดแบบภาวะคล้อยตามหุ่นยนต์ในระหว่างการทดสอบนี้ด้วย

ซึ่งทำให้เกิดประเด็นคำถามต่อไปว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นหากหุ่นยนต์เหล่านี้มีการพัฒนาตัวมันเองไปถึงขั้นที่สามารถแนะนำชี้แนะสิ่งต่างๆ ให้แก่เด็กได้ เช่น สินค้าที่ควรซื้อ หรือแม้กระทั่งสามารถควบคุมความคิดของเด็กว่าควรจะเป็นไปในทิศทางใด

 

ศาสตราจารย์ Belpaeme อาจารย์ด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ผู้เป็นหัวหน้าการศึกษาครั้งนี้บอกว่า เราทราบดีว่าคนเราจะคล้อยตามความเห็นของคนที่เราคุ้นเคยเชื่อถือ ซึ่งเรียกกันว่าภาวะความเห็นพ้องต้องกัน

แต่หากในอนาคตเร็วๆ นี้เราจะได้พบการมีหุ่นยนต์เข้ามาอยู่ในบ้านหรือที่ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดคำถามว่าเราจะรู้สึกคุ้นเคยกับจักรกลเหล่านี้มากขึ้น จนหุ่นยนต์มีอิทธิพลต่อความคิดของมนุษย์อย่างพวกเราแล้วเราจะทำตามหุ่นยนต์ได้หรือไม่?

โดยอาจารย์โนเอล ชาร์กกี ผู้อำนวยการ Foundation for Responsible Robotics บอกว่า การศึกษาครั้งนี้ได้ทำให้เกิดความตระหนักถึงการใช้หุ่นยนต์กับเด็กและเยาวชน เพราะหากหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถโน้มน้าวจิตใจเด็กๆ ว่าข้อมูลที่ได้รับผิดเป็นข้อมูลที่ถูกได้นั้น อาจเป็นการสร้างปัญหาที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต ถ้าหากเราจะนำหุ่นยนต์มาใช้เป็นพี่เลี้ยงเด็กหรือเป็นครูสอนเด็กมันจะเกิดอะไรขึ้น

เพราะในอนาคตอันใกล้นักวิจัยกำลังจะนำเอา L2TOR ซึ่งวางแผนที่จะออกแบบหุ่นยนต์ที่เป็นครูสามารถช่วยสอนได้ หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนหุ่นยนต์จะนำมาช่วยสอนหนังสือเรียนภาษาให้กับเด็กก่อนวัยเรียนในการเรียนรู้ภาษาที่สองของพวกเด็กๆ ในอนาคต

ทั้งนี้ หุ่นยนต์บางตัวมีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่มีเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น หุ่นยนต์คิดและปฏิบัติตนเหมือนมนุษย์มากขึ้น ทั้งในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมและทางธุรกิจ รวมทั้งสิ่งของใช้ในบ้านของผู้คนเรานี้เอง

 

การอ้างอิง

https://marketbusinessnews.com/humanoid-robots/185766/