เผยแพร่ |
---|
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ขอนแก่น นับเป็นจังหวัดที่น่าจับตามองในฐานะเมืองที่มีการพัฒนามากที่สุดในภาคอีสาน โดยเฉพาะการปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง โครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมโดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายแรกที่กำลังก่อสร้างจนใกล้เสร็จ ขอนแก่นก็ยังก้าวต่อไปในการยกระดับให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่นำเอาเทคโนโลยีดิจิตัลเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาและการดำรงชีวิตของผู้คนในเมืองให้ความมีความสะดวกสบายแต่ก็เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
ทักษ์ ศรีรัตโนภาส ผู้อำนวยการด้านโครงการร่วมทุนและการค้าระหว่างประเทศ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และเป็นผู้อำนวยการโครงการขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ ผู้บุกเบิกเมืองขอนแก่นให้ก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะผ่านโครงการต้นแบบที่กำลังเปลี่ยนตึกร้างกลางย่านเก่าแก่ของเมืองให้เป็นอาคารที่ให้บริการครบวงจรและเป็นศูนย์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น เพื่อนำไปสู่การสร้างเมืองอัจฉริยะอีกหลายแห่งในอนาคต ได้อธิบายถึงแนวคิดเมืองอัจฉริยะที่กำลังจะเกิดขึ้นในขอนแก่นว่า ส่วนที่เข้าไปพัฒนาคือย่านศรีจันทร์ของเมืองขอนแก่น ซึ่ง NIA หรือสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กำหนดให้เป็นย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ของเมือง แต่จริงมี 2 ย่าน นอกจากย่านศรีจันทร์ ก็ยังมีย่านกังสดาล รอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ย่านศรีจันทร์ เน้นเรื่องของเขตสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทีนี้ การที่ทำให้อาคารสิ่งปลูกสร้างมีความอัจฉริยะ คำว่านวัตกรรมอะไรนั้นมีความหลากหลาย เราจะทำอะไรให้อัจฉริยะขนาดไหน เราไม่มีตัวชี้จัด ทางดีป้าหรือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า อาคารหรือโครงการอะไรที่ถือเป็น “อัจฉริยะ” ยังไง ผมแนะนำ 7 แพลตฟอร์มอัจฉริยะซึ่งจะใช้มาตรฐานการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ก็ขอย่นไปในส่วนเล็กคือโครงการสร้างตึกนวัตกรรมของมิตรผล คือ ศูนย์นวัตกรรมขอนแก่น
7 หลักเกณฑ์เมืองอัจฉริยะ ประกอบด้วย 1. ความเป็นอัจฉริยะในสิ่งแวดล้อม (Smart Environment) จะทำยังไงให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ 2.พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ทุกการขับเคลื่อนของเมืองล้วนต้องอาศัยพลังงาน จะทำยังไงให้การใช้พลังงานอย่างอัจฉริยะ 3.ประชาชนอัจฉริยะ (Smart People) โดยเฉพาะผู้คนในอาคาร หร่ือคนอยู่ในชุมชนก็ดี มีความอัจฉริยะ ยกระดับศักยภาพมากขึ้น 4.การบริหารงานรัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) ที่จะเกี่ยวกับการบริหารปกครอง งานราชการก็ดี ต่อมาคือ 5.เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) อันไหนจะเกี่ยวกับการแข่งขันธุรกิจ มนุษย์อยู่ดี เมืองอยู่่ได้ ต้องเกิดการเคลื่อนไหว ที่มีประสิทธิภาพนั้นก็คือ 6.การขับเคล่ื่อนอัจฉริยะ (Smart Mobility) ให้การเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ นานที่สุด ประหยัดที่สุด สุดท้ายแน่นอน ความเป็นของอาคารหรือชุมชนโดยรอบ ต้องตอบโจทย์ที่ 8. การใช้ชีวิตแบบอัจฉริยะ (Smart Living)
นี่เป็นข้อคิดให้เห็นว่าองค์ประกอบเมืองอัจฉริยะมีอะไร
พอเราทำโครงการอะไรต้องผ่าน EIA หรือ EHIA มีจะยุ่งยาก แต่ก็สอนเรา ให้กลับไปเช็คว่า เราได้ทำอะไรสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหรือไม่ กับโครงการนี้เราทำกติกาทุกอย่าง ทำให้เราทบทวนสิ่งที่เราก่อสร้าง ซึ่งอาคารนี้เป็นตึกร้างตั้งแต่ยุคต้มยำกุ้งแล้วถูกทิ้งร้าง พอเรามาปรับปรุงใหม่ให้เป็นการใช้งานเอนกประสงค์ กฎหมายช่วงปี 2540 กับไม่กี่ปีก่อนนั้นเปลี่ยนไป เราต้องปรับปรุงหลายอย่างเพืื่อทำให้อาคารนี้ ผ่าน EIA อย่างสมบูรณ์ แล้วเริ่มทำการก่อสร้าง แล้วเราต้องทีมตรวจความเรียบร้อย นี่เป็นสิ่งแรกที่ทุกธุรกิจต้องคำนึงถึง
อีกเรื่องที่สำคัญคือการจัดการน้ำ มันมีทั้งน้ำดี น้ำเสียและน้ำฝน ตอนนี้เราไม่จัดการน้ำฝนให้ดี น้ำท่วม เดี๋ยวขอนแก่นก็เจอพายุเข้าอีก อาคารนี้เราจัดการการเก็บน้ำฝน ก่อนหน้านี้ พอฝนตกน้ำก็ซึมในอาคาร แล้วไหลลงท่อ แต่พออาคารมีการก่อสร้างมีการใช้งาน น้ำฝนที่ตกลงมาจะเยอะเพิ่ม เพราะผิวอาคารรับน้ำฝน น้ำฝนจะไปไหน ก็ลงถนน ท่วมเลย แต่เราไม่ได้ทำแบบนั้น เราเอาน้ำฝนมาเก็บในบ่อเก็บใต้ดิน น้ำฝนที่เก็บไว้ เอามารดต้นไม้ เอากลับมาใช้ในสุขภัณฑ์ และแนวโน้มที่จะทำต่อไปคือ เราจะดูแลน้ำเหล่านี้ ให้กลับมาเป็นน้ำดีได้ จากการเก็บน้ำฝน นี่คือผมเรียกว่าอาคารอัจฉริยะ คือมันต้องสมดุลระหว่างการลงทุน กับความจำเป็น
แน่นอนว่า อาคารนี้เป็นอาคารร้าง พอมาปรับปรุงเป็นอาคารเอนกประสงค์ ผมแสดงภาพอาคารมีตั้งแต่ชั้นบนเป็นโรงแรม ชั้นนี้เป็นสำนังาน ศูนย์วิจัย ศูนย์การค้า เป็น co-working space มีองค์ประกอบหลายอย่าง การที่หลายฟังก์ชั่น เราต้องลงทุนระบบเยอะมาก และซับซ้อนสำหรับอาคารร้างมานาน พอมาปรับปรุง สิ่งที่เราเรียกว่าอัจฉริยะ เราประหยัดปูนซีเมนต์ เหล็กไปเท่าไหร่ ถือว่าเป็นอัจฉริยะ เราก็ปรับปรุงอาคารนี้จาก ของสิ้นเปลืองให้กลับมามีค่า (Return waste to value) กับอาคารร้างมาเป็นอาคารที่ใช้ประโยชน์ แทนที่ลงทุนสร้างใหม่ แต่หลายคนห่วงความแข็งแร่งของอาคาร ผมให้บริษัทตรวจสอบโครงสร้างและชั้นดินแล้ว เราผ่านในแง่โครงสร้างสถาปนิก
ส่วนต่อมา อาคารอยู่ได้ ต้องวิ่งได้ด้วยพลังงาน พลังงานส่วนใหญ่ในอาคารคือไฟฟ้า ให้แสงสว่างและปรับอากาศ ในส่วนของโรงแรมจะใช้ระบบพลังงานหมุนเวียน ดูทิศลม อาคารส่วนนี้มีพื้นที่เปิดรับอากาศและวิวมาก ผมให้สถาปนิกดูชั้น 28 แล้วเปลี่ยนโฉมใหม่ และอีสานเวลาหน้าหนาว อากาศดี เป็นการประหยัดพลังงาน เราให้บริษัทบ้านปู การติดเซนเซอร์วัดการใช้พลังงานทุกจุด ดูว่าเราใช้ไปแต่ละชั้นเท่าไหร่ ครัว ห้องพัก เอาท์เร็ตใช้ไปเท่าไหร่
อีกอันที่บ้านปูมาร่วมลงทุนคือ โซลาร์เซลล์ อาคารนี้มองแล้ว ประมาณ 5 หมื่นตารางเมตรไม่มาก แต่ก็สามารถผลิตกระแสไฟจากแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 700 กิโลวัตต์์ ก็เกือบ 1 เมกะวัตต์ จริงๆผมอยากฝากไว้ว่า ด้วยเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์การผลิตจะดีขึ้น วันข้างหน้าอาจเกิน 1 เมกะวัตต์ ซึ่งต้องส่งเสริมให้เกิดขึ้น กับการที่ผมเลือกโซลาร์เซลล์ไม่ใช่แค่ต้นทุน แต่ดูระดับการใช่้งาน เนื่องจากโซลาร์เซลล์ เมื่อหมดอายุ จะกลายเป็นภาระทันที จะต้องมีโลหะหนักมีพิษที่ต้องจัดการ นี่เป็นต้นทุนนึงที่คำนึง โซลาร์เซลล์ควรใช้แต่ใช้ยังไงให้มีประสิทธิภาพ
อีกสิ่งที่ปูทางสู่อนาคตคือ ยานยนต์อีวี เรามีสถานีชาร์จ แต่อีวีไม่ได้มีแค่รถยนต์ ยังมีรถจักรยานยนต์อีวีอีก ตอนนี้เราคุยกับทางบริษัทของไตัหวันที่ผลิตจักรยานยนต์อีวีและสถานีชาร์จ คือไม่ต้องรอชาร์จเลย แค่ขี่มอเตอร์ไซค์ ดึงแบตเตอรี่ออก มีสถานีเอาแบตใส่ขี่ต่อได้เลย จะซื้อหรือเช่าก็ได้ หรือฟูลคาร์คิดรายชั่วโมงก็ดี ยิ่งเป็นนักศึกษาม.ขอนแก่น ขับรถอีวีมาศูนย์นี้ได้ มาเจอนักธุรกิจและขับรถกลับ หรือคืนรถที่นี่แล้วเดินเที่ยวต่อได้
อีกอันคือ ผู้คนอัจฉริยะ จะทำยังไงให้ยกระดับประชาชนในพื้นที่มีศักยภาพ อาคารนี้จริงๆเราอยากจะทำศูนย์ฟูกฟักศักยภาพ ซึ่งไต้หวันมีศูนย์แบบนี้ถึง 200 แห่ง เป็นศูนย์เฉพาะแต่ละด้านเลย เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง หรือไมโครชิป แต่ผมอยากให้ตึกเป็นศูนย์ฟูมฟัก 5 ธุรกิจ เช่น เกษตรกรรมอัจฉริยะ,อาหารอนาคต, เทคโนโลยีชีวภาพ (ไบโอเทค) เช่น วัสดุชีวภาพหรือชีวเภสัช,อันต่อมา คือ ดนตรีและศิลปะ นี่เป็นเศรษฐกิจใหม่ เกาหลีใต้เติบโตเรื่องพวกนี้ยังไง อุตสาหกรรมเกมส์ คนไทยเก่งมากเรื่องนี้ แต่ขาดการฟูมฟัก ศูนย์นี้จะช่วยพัฒนาคนให้เป็นทรัพยากรในอนาคต
เมื่อกี้พูดถึงเกษตรอัจฉริยะ มิตรผลก็ได้ลงทุนสร้างศูนย์วิจัยอาหารด้วย ซึ่งเรามีกิจกรรมในอาคารนี้แล้ว
และเรายังมีออฟฟิศแบบสมัยใหม่ นอกจากเป็น co-working space แล้ว ยังเป็นกึ่งออฟฟิศ กี่โต๊ะ มีพื้นที่ร่วม บริการจัดห้องประชุม นี่เป็นการตอบโจทย์ใหม่ให้ธุรกิจในอนาคต
การบริหารงานรัฐอัจฉริยะ อาคารนี้เราจะเป็นหน้าต่างเชื่อมต่อให้ เวลาติดงานราชการ ไม่ต้องวิ่งหาหน่วยงานแล้ว มาติดต่อตัวแทนที่นี่ ทุกอย่างเป็นออนไลน์ เป็นศูนย์ติดต่อครบวงจร
มาถึงเศรษฐกิจอัจฉริยะ เราพูดถึงเรื่องนี้ ไม่พูดถึงเรื่องโลกดิจิตัลไม่ได้แล้ว แต่โลกดิจิตัลจะทำยังไงให้เข้าสู่แพลตฟอร์มนี้ สิ่งสำคัญคือ wifi 5G คือตอนนี้มีมือถือ แต่ไม่มีไวไฟ จ่ายไม่ได้ ฉะนั้นเราจะมีฮอทสปอร์ท 5G จะทำให้ในอาคารนี้ สร้างบรรยากาศ ผู้คนอัจฉริยะขึ้น เป็นชุมชนอัจฉริยะจริงๆ
มาถึงสิ่งสำคัญคือ การขับเคลื่อนอัจฉริยะ ว่าสิ่งนี้นอกจากรถอีวี ระบบต้องอัจฉริยะด้วย อย่างตัวเราเป็นนักศึกษาม.ขอนแก่นจะมาอาคารนี้ ผมหยิบมือถือขึ้นมาว่า รถจักรยานยนต์อีวีจากสถานีมข.ว่างไหม ผมสั่งจองผ่านมือถือ ผมขับมาถึงก็ดูเลยมีที่จอดไหม ต้องมีจุดจอดรถอัจฉริยะด้วย ผมจะมาประชุม ผมจองประชุมหรือจองนัดผ่านมือถือ อยากกินข้าวเราต้องจะมีเมนูสั่งล่วงหน้าผ่านจอเลย มาเช็คอินโรงแรม สามารถเช็คได้ ซึ่งจะบอกในอนาคต
การขับเคลื่อนอัจฉริยะนี้ ขอนแก่นเองก็พยายามจะเชื่อมโยงระหว่างการขับรถยนต์ ตอนนี้ขอนแก่นดีมาก เจอพายุเข้าก็มีแผนที่จากศูนย์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าถนนไหนน้ำท่วมบ้าง ลึกแค่ไหน ใครผ่านได้ไม่ได้ เราจะเคลื่อนไปทางไหน ไม่ใช่ปล่อยไปให้รถจอดตาย หรือจำกรณีปล้นทองขอนแก่นได้ คดีนี้จับได้เร็ว เพราะเรามีกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ และในโครงการนี้จะเราติดตั้งกล้องจดจำใบหน้า ซึ่งจะทำให้การจับกุมง่ายกว่า
และสุดท้าย การใช้ชีวิตอัจฉริยะ เรามีโรงแรมในอาคารนี้ จะใช้ระบบโรงแรมอัจฉริยะ เราจะใช้แบบว่าจองที่พักตั้งแต่อยู่บนเครื่องบิน ทำเช็คอิน เข้าไปถึง มือถือจะเป็นกุญแจเข้าห้องพักได้ เสร็จเปิดม่านปิดม่านเปิดไฟ ซื้อของออนไลน์ของชุมชนจากมือถือได้ คือโรงแรมต้องดึงชุมชนเข้าร่วม ถึงจะกลายเป็นย่านสร้างสรรค์ได้จริงๆ
แน่นอนว่า การสร้างเสาอัจฉริยะ ในเมืองขอนแก่นมีย่านกังสดาลและในเมือง เรามีเสาช่วยส่งสัญญาณ wifi ให้การขับเคลื่อนอัจฉริยะไปอย่างราบรื่น ไม่งั้น ถ้าขาดจุดได้ รถจะไม่รู้สัญญาณว่าเมื่อไหร่พลังงานจะหมด ไฟจะเหลือเท่าไหร่ สิ่งนี้จะสอดคล้อง และกลายเป็นโครงสร้างดิจิตัลให้อัจฉริยะได้
ตะกี้พูดเรื่องอาหารอนาคต เราได้พัฒนาเนื้อทดแทน ทางมิตรผลสนใจเนื้อจากโปรตีนพืช จะตอบโจทย์ประชาชนในอนาคต ที่มีปัญหาสุขภาพหรือกินเจ เราสร้างเนื้ออวตาร มีรสชาติและรายละเอียดเหมือนเนื้อจริงๆ อย่างหมูกรอบคือหมูกรอบจริงๆ
สำหรับอาคารนี้ ทักษ์กล่าวว่า จะดึงมหาวิทยาลัยขอนแก่่นเข้ามา ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมนี้ เพราะว่า มหาวิทยาลัยมีองค์ความรู้ เราสามารถเชื่อมโยงธุรกิจได้ ปัญหาปัจจุบันคือ การวิจัยและพัฒนา มันจบที่ชั้นวางหนังสือหรือในตำรา ไม่ได้ถูกแปลงให้เป็นการต่อยอดทางธุรกิจ ศูนย์นวัตกรรมนี้นอกจากจะช่วยการพัฒนาวิจัยพัฒนาและสามารถเชื่อมโยงตอบโจทย์ธุรกิจและการค้าได้จริง