ประวัติศาสตร์ “ความอัปยศ-อดสู” สภาไทย ตำนาน “แย่งเก้าอี้” ประธานสภาฯ

ผู้ทรงเกียรติ”ฉาว” 

เป็นประวัติศาสตร์ของ “ความอัปยศ-อดสู” อีกครั้ง นับตั้งแต่เริ่มมีรัฐสภาไทย เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475

นั่นคือเหตุการณ์ในการประชุมสภา ผู้แทนฯ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 เมื่อพรรคประชาธิปัตย์โดดเข้าขวางการเลื่อน ระเบียบวาระ นำเอาร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ…. จำนวน 4 ร่าง ขึ้นมาพิจารณาก่อน

พฤติกรรม ส.ส.ผู้ทรงเกียรติ ล้วน “ช็อก” ความรู้สึกประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการตะโกนโห่ร้อง พูดคำหยาบ ปล่อย “เห้” หนักๆ

โดยนายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ประท้วงว่า “ถ้าผู้นำฝ่ายค้านลุกขึ้นพูดพวกผมจะโห่ตลอด โห่ทำเห้อะไร”

ทำให้นายอภิชาติ สุภาแพ่ง ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นชี้หน้านายประชาและตะโกนสวนใส่ “เอาตัวเห้ตัวนี้ออกไปก่อน” ที่สุดนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนประธานรัฐสภา สั่งให้นายประชาถอนคำพูด โดยนายประชายอมถอนคำพูด

ความวุ่นวายยังไม่จบ

ต่อมา นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม. พรรกประชาธิปัตย์ ตะโกนใส่ไมค์ว่า “จะเผด็จการรัฐสภาหรือจะทำอย่างนี้เหรอ ค้อนปลอมตราดูไบ เป็นเผด็จการรัฐสภา เป็นลูกจ้างของใครหรือเปล่าพิจารณามา 2 ชั่วโมงจะรีบไปไหนพวกผมเป็นส.ส.ไม่ใช่ขี้ข้าใคร” โดยส.ส.ต่างกรูไปยังหน้าบัลถังก์ประธานสภา โดยนายกุลเคช พัวพัฒนกุล ส.ส.อุทัยธานี พรรดประชาธิปัตย์ บุกขึ้นไปบนบัลลังก์ นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ ส.ส.จันทบุรี

นอกจากนี้ นายอภิชาติ ส.ส.พชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ วิ่งแซงหน้าขึ้นบนบัลลังก์ไปยกมือไหว้นายสมศักดิ์ 2 ครั้งโดยขอเชิญให้นายสมศักดิ์ ลงจากบัลลังก์ประธานสภา

จากนั้นนายอภิชาติดึงแขนนายสมศักดิ์ จนเซจนเกือบตกเก้าอี้ ระหว่างนั้นส.ส.พรรถเพื่อไทย โดยนายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พ.ต.อามันย์ วัชโรทัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ นำทีมส.ส.กรูขึ้นไปอารักขานายสมศักดิ์โดยเบียดตัวนายอภิชาติออกจากตัวนายสมศักดิ์

กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภากว่า 20 คน ต่างกรูเข้ามาอารักขาบนบัลลังก์เพื่อรักษาความปลอดภัยให้นายสมศักดิ์ และส.ส.พรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่ต่างตีวงล้อมเป็นเกราะป้องกันประธานสภา โดยนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เดินเข้าค้ำคอนายอภิชาติออก ทำให้นายอภิชาติตอบโด้ด้วยการบิดข้อมือนายพร้อมพงศ์ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเข้ามาห้ามปราม

ส.ส.หญิงก็ไม่ยอมน้อยหน้า

ระวหว่างนั้น มีความวุ่นวายเล็กน้อยเมื่อน.ส.รังสิมา รอครัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พยายามขึ้นไปลากเก้าอี้ประธานลงจากบัลลังก์ แต่ถูกนางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุขส.ส.เลย น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อนำทีมส.ส.หญิงบุกขึ้นไปยื้อแย่งเก้าอี้คืน โดยมีส.ส.หญิงพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา เข้าไปช่วยน.ส.รังสิมา จนชนกับนางเปล่งมณี ล้มลงไปนั่งกับพื้น จนเกือบเกิดเหตุการณ์ตบตีกัน แต่ถูกนายพงศ์เวช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเข้าห้ามปราม

“ขัตติยา” ยืนยันไม่มีตบกัน

น.ส.ขัตติยากล่าวถึงเหตุชุลมุนที่เกิดขึ้นบริเวณบัลลังก์ที่นั่งของประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า ตนและเพื่อนส.ส.หญิงพรรคเพื่อไทย เห็นว่าน.ส.รังสิมา พร้อมด้วยส.ส.หญิงของพรรคประชาธิปัตย์ อีกคนหนึ่งซึ่งตน จำชื่อไม่ได้ ได้ขึ้นไปลากเก้าอี้ของประธานสภาถึงบนบัลลังก์ พวกตนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้องจึงพากันขึ้นไปห้ามไม่ให้เขาลากเก้าอี้ออกไป ซึ่งยืนยันว่าเป็นเพียงการยื้อเก้าอี้กันไปมาไม่มีการลงไม้ลงมือ หรือถูกตัวกันทั้งสิ้น

“บนบัลลังก์ประธานสภา ตอนนั้นมีส.ส.ประชาธิปิตย์ ยืนอยู่เต็มไปหมด แต่เมื่อเห็น ส.ส.ประชาธิปัตย์ นำเก้าอี้ไปแบบนั้น พวกเราก็พูดกันว่าทำไมทำแบบนี้มันไม่ถูกต้องก็เลยขึ้นไปต่างฝ่ายต่างก็ใ ช้มือยื้อเก้าอี้กันไปมาไม่มีมือที่จะลงไม้ลงมือกันแน่นอน” น.ส.ขัตติยา กล่าว

จากนั้น ส.ส.ปชป.ก็ได้พากันล่ารายชื่อในหนังสือเพื่อยื่นถอตถอนออกจากประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยก่อนจะเปิดการประชุมอีกครั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาลากเก้าอี้มาไว้บ่นบัลลังก์เหมือนเดิม

กระทั่งเวลา 18.26 น.การประชุมเปิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยมีนายวิสุทธิ์ ไขยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เป็นประธานการประชุมแทนนายสมศักดิ์

เมื่อกดออดเริ่มประชุม ส.ส.ปชป.ยังคงไม่ยอมนั่งประจำที่และตะโกนพร้อมกันให้ “ปิดประชุม” อยู่หลายครั้ง

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตวัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา กำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อส.ส.เพื่อถอดถอนนายสมศักดิ์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรออกจากตำแหน่ง โดยจะยื่นต่อประธานวุฒิสภาในวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 เนื่องจากนายสมศักดิ์ มีพฤติกรรมไม่เป็นกลางในการทำหน้าที่ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งแล้ว และมีท่าทีที่แข็งกร้าวมาโดยตลอด

บรรยากาศเครียด ต้องปิดประชุม

จากนั้นเวลา 18.26น. ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกันส่งเสียงตะโกนว่า “ปิดประชุมๆ” โดยนายสาทิตย์กล่าวว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้สร้างความไม่สบายใจให้กับทุกฝ่าย สิ่งที่เสนอไปก็มีทางออกอยู่ว่าจะต้องกลับไปวินิจฉัยว่าเป็นร่างการเงินหรือไม่

นายวิสุทธิ์พยายามเสนอให้ประธานวิปฝายรัฐบาลและฝ่ายค้านพูดคุยหารือกัน แต่นายจุรินทร์ ปฏิเสธ โดยขอเรียกร้องให้ประธานปิดประชุม รวมทั้ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายคน ก็ได้ลุกขึ้นเรียกร้องขอให้ปิประชุมสภา แต่นายวิสุทธิ์ชี้แจงว่า ยังไม่สามารถปิดการประชุมได้ เนื่องจาก นพ.ชลน่าน ยังไม่ถอนญัตติ

อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการหารือในที่ประชุมยังคงเป็นไปด้วยความเคร่งเครียด ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่ยังคงยืนยันเสนอให้ประธานปิดการประชุม ทำให้นายวิสุทธิ์กล่าวว่า เมื่อ นพ.ชลน่าน ไม่ถอนญัตติ ตนขอให้ไปพิจารณาต่อในวันที่ 31 พ.ค. 2555 เวลา 09.00 น. และให้ประธานวิปสองฝ้ายไปพบนายเจริญที่ห้องจากนั้น นายวิสุทธิ์จึงสั่งปิดประชุมในเวลา 19.35 น.

“ปรองดอง”องศาแตก 

หลังเหตุการณ์ “ชุลมุน” ผ่านไป วิปรัฐบาลได้พยายามหา “ทางออก” ด้วยการให้ประธานสภา เรียกประชุมประธานกรรมาธิการสามัญประจำสภา 35 คณะ มาหารือเพื่อหาข้อยุติว่า ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรองดองทั้ง 4 ฉบับ เกี่ยวข้องกับการเงินหรือไม่

การประชุมมีขึ้นในเวลา 11.00 น.ตรง ประธาน กมธ.ทั้ง 35 คณะ จากเพื่อไทย 19 คน พรรคประชาธิปัตย์ 11 คน พรรคภูมิใจไทย 2 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคชาติพัฒนา 1 คนและพรรคพลังชล 1 คน พร้อมกับผู้เสนอร่างทั้ง 4 เข้าประจำที่ ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างแยกกัน นั่งคนละฝั่งอย่างชัดเจน มี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ ประธาน กมธ. ป.ป.ช.คนเดียวเท่านั้นที่นั่งในฝั่งของพรรคประชาธิปัตย์

นิยม วรปัญญา ส.ส.อาวุโส หนึ่งในผู้เสนอร่าง เดินไปนั่งฝั่งเดียวกับฝ่ายค้านยังถูก ฉลาด ขามช่วง ประธาน กมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ กวักมือเรียกให้ข้ามกลับไปนั่งในฝั่งของ ส.ส.เพื่อไทย

ก่อนประธานสภาจะเดินทางมาถึง สุนัย จุลพงศธร ประธาน กมธ.ต่างประเทศพยายามสร้างบรรยากาศปรองดองด้วยการเดินจับมือประธาน กมธ.ในซีกฝ่ายค้าน

แต่สุนัยไม่วายปล่อยมุขสัพยอกถึงเหตุการณ์ ฉกเก้าอี้ประธานสภาเล่นเอาประธาน กมธ. บางคนถึงกับขำไม่ออก

ทันทีที่ขุนค้อนเดินทางมาถึง 3 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วยธนา ชีรวนิจ ส.ส.กทม. วิรัตน์ ร่มเย็น ส.ส.ระนอง และ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ได้เข้ายื่นขออนุญาต ร่วมฟัง ในฐานะที่เป็นผู้ตั้งข้อสงสัยในร่างดังกล่าวว่าเข้าข่ายการเป็น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเงิน

ทำให้บรรยากาศที่ทำท่าจะ “สมานฉันท์” พลิกเป็นตึงเครียด เพราะ กมธ.ในซีกเพื่อไทย ยืนยันว่า ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้

และยืนยันให้ประธานสภาต้องยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ไม่สามารถอนุโลมใดๆ ไม่เช่นนั้นอาจจะมีผู้ร้องว่าการประชุมครั้งนี้ มิชอบได้

ขณะที่ฝ่ายค้านอ้างว่า เรื่องนี้มีผู้เกี่ยวข้อง 3 ส่วน คือ ประธาน กมธ. ผู้เสนอญัตติที่เข้ามานั่งในที่ประชุมแล้ว และผู้ที่ตั้งข้อสงสัยในร่างซึ่งก็คือ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์จำนวน 3 คน หากประธานสภาไม่อนุญาตให้ผู้ตั้งข้อสงสัยมาอธิบาย แต่ให้ผู้ร่างชี้แจงในร่างของตัวเองอย่างเดียว ก่อนใช้เสียงข้างมากลงมตินั้นจะมาประชุมเพื่ออะไร

หลังการถกเถียงกันอย่างดุเดือด ใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง ขุนค้อนเคาะข้อสรุปโดยระบุว่า เพื่อเห็นแก่บรรยากาศการปรองดอง จะอนุญาตให้เข้าร่วมและพูดตามสมควร แต่จะให้เป็นดุลพินิจของประธานในการพิจารณาว่าจะอนุญาตให้พูดในช่วงเวลาใดทั้งสองฝ่ายจะได้ข้อยุติ

แต่ยังไม่เป็นที่ยุติ เมื่อ ธนา ได้กดไมค์เพื่อที่จะพูดหลังจากเข้าสู่วาระการ พิจารณา ปรากฏว่า การุณ โหสกุล และ สุนัยได้ประท้วงทันทีว่าประธานยังไม่อนุญาตให้พูด

ทำให้บรรยากาศ “มาคุ” ขึ้นอีกรอบก่อนที่จะบานปลาย ธนาชิงออกตัวว่าส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 3 คนจะขอออกจากห้องประชุม เพื่อเป็นการตัดปัญหา

กระนั้นความวุ่นวายยังไม่ยุติ เมื่อประธาน กมธ.ของพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่าเมื่อให้ ผู้ตั้งข้อสงสัยออกนอกห้องประชุม ผู้เสนอร่างก็ควรที่จะออกด้วยปล่อยให้เป็นการประชุมภายในระหว่างประธาน กมธ.เท่านั้น ทำให้ ชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ที่พยายามทำหน้าที่เป็น
“คนกลาง” ไกล่เกลี่ย ประกาศให้คนนอกทุกคนรวมไปถึงสื่อมวลชนออกจากห้องประชุม

ก่อนที่จะมีมติ 22 ต่อ 1 เสียง เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการเงิน และให้มีการนำเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

มติดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากประธาน กมธ.ในส่วนของฝ่ายค้านวอล์กเอาต์จากห้องประชุม เหลือเพียง “เชน เทือกสุบรรณ” เจ้าของเสียง “ไม่เห็นด้วย” หนึ่งเดียวเท่านั้น