ทำไม “เรา” ทุกคนควรเป็นเฟมินิสต์ ?

Activists from women's rights movement Femen, including leader Inna Shevchenko (4th R), stand topless while holding signs on the Place de la Republic in Paris on November 25, 2017 during a demonstration against violence against women. November 25 is the International Day for the Elimination of Violence Against Women. / AFP PHOTO / FRANCOIS GUILLOT

ในสังคมมนุษย์แบ่งเพศตามสรีระร่างกายออกเป็นเพศชาย (Male) และเพศหญิง (Female)

โดยกำหนดให้เพศชายมีหน้าที่ตามรูปร่างที่ธรรมชาติกำหนดคือเป็นผู้ปกป้องดูแล

ขณะที่เพศหญิงถูกสังคมกำหนดให้เป็นผู้ช่วยเหลือ ผู้สนับสนุนและรับการดูแลจากเพศชาย

การกำหนดบทบาทดังกล่าวทำให้สังคมดังต่างๆ ถ่ายทอดวัฒนธรรมและแบบแผนทางสังคมจากรุ่นสู่รุ่น

แต่อีกมุมหนึ่งการกำหนดบทบาทหน้าที่ดังกล่าว เป็นการปิดกั้นศักยภาพและความสามารถของผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถแสดงออกถึงความสามารถที่มีอยู่ได้

สังคมทุกวันนี้จึงมี “ความเหลื่อมล้ำทางเพศ”

Des femmes brandissant des banderoles du MLF participent à une manifestation durant la journée internationale de la femme, le 8 mars 1982, place de la République, à Paris. AFP PHOTO JOEL ROBINE
Women waving banners MLF, French Women’s Liberation Movement, participate in a demonstration during the International Women’s Day, March 8, 1982, Place de la Republique in Paris. AFP PHOTO JOEL ROBINE / AFP PHOTO / JOEL ROBINE

บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาแนวคิดสตรีนิยมจากบทพูดเรื่อง “เราทุกคนควรเป็นเฟมินิสต์” (We should all be feminists) ของ ชิมามานดา เอ็นโกซี อาไดซี่ นักเขียนชาวไนจีเรีย

โดยใช้แนวคิดแบบเสรีนิยมมาวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบว่าทำไม “เรา” ทุกคนควรเป็นเฟมินิสต์

สตรีนิยม (ferminism) ในโลกตะวันตกเป็นที่กล่าวขานมาเป็นเวลาช้านานและมีความหมายแตกต่างกันไปตามยุคสมัยและเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรม

ทว่าสตรีนิยมที่เป็นระบบคิดมีจุดร่วมอย่างน้อยสองประการ

คือเป็นระบบคิดที่พยายามอธิบายสถานะความเป็นรอง ความเป็นอื่นของผู้หญิงและเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงและปลดปล่อยความเหลื่อมล้ำและไร้ตัวตนของผู้หญิงไปตามสัมพันธ์เพศสภาพ (gendar) ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวหรือโลกในบ้าน (private sphere) และพื้นที่สาธารณะ (public sphere)

ฉะนั้น สตรีนิยมที่เป็นระบบคิดจึงมีจุดมุ่งหมาย มิใช่เพียงระบบความรู้ทางวิชาการที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ตำแหน่งแห่งที่ของผู้หญิงในความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง

แต่มีเป้าหมายทางการเมือง เพื่อทวงคืนความเป็นมนุษย์ให้เพศหญิงร่วมอยู่ด้วย

สตรีนิยมจึงเป็นคำที่ผู้หญิงเลือกสร้างขึ้นเพื่อสื่อความหมายถึงเงื่อนไขการดำรงชีวิตและสถานะตัวตนที่มีความไม่เสมอภาค (inequality) การถูกกดทับเอารัดเอาเปรียบ (oppression) และความเป็นรอง (subordination) จากเพศชาย

แนวคิดสตรีนิยมสายเสรีนิยม (Liberal feminism) ถือเป็นแนวคิดแรกเมื่อเกิดมีแนวคิดสตรีนิยมขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 17

แนวคิดนี้อธิบายว่าความไม่เท่าเทียมกันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ในเรื่องบทบาทความเป็นเพศซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อและการปฏิบัติตามประเพณีนิยมที่สั่งสมสืบต่อมา

ทำให้ผู้หญิงถูกสังคมปฏิเสธโอกาสในด้านต่างๆ

แนวคิดนี้เชื่อว่าผู้หญิงและผู้ชายไม่มีความแตกต่างกัน

ดังนั้น จึงเรียกร้องให้ผู้หญิงมีความเท่าเทียมกับผู้ชายในทุกด้าน

ผู้หญิงควรทำทุกอย่างได้เช่นเดียวกับผู้ชาย

Topless Femen activists holds signs reading ”To be a feminist isn’t a mental disease” (C) at the courthouse where Femen activists go on trial for showing their breasts during a protest at a rally against gay marriage and a gathering to ask for the release of Jacqueline Sauvage,a woman sentenced to ten years in prison for murdering her violent husband, on May 31, 2017 in Paris.
/ AFP PHOTO / STRINGER

แต่หลายคนอาจมองว่าเฟมินิสต์ (feminism) เป็นลัทธิเกลียดผู้ชาย ซึ่งเป็นการตัดสินด้วยจิตใจอันคับแคบ

เพราะแท้จริงแล้วเฟมินิสต์มีความเชื่อในความเท่าเทียมกันของทั้งสองเพศ และเมื่อใดที่ชายและหญิงมีความเท่าเทียมกันแล้ว ปัญหาการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเพศที่สาม คนกลุ่มน้อย เช่น ผิวสี ชาติพันธุ์ เป็นต้น ก็คงจะหมดไป

เช่นเดียวกับสิ่งที่ ชิมามานดา เอ็นโกซี อาไดซี่ กล่าวว่า

“ถ้ามีแต่เด็กผู้ชายเท่านั้นที่ถูกเลือกให้เป็นหัวหน้าชั้น ถึงจุดหนึ่งเราทุกคนจะคิดหรือกระทั่งเชื่อโดยไม่รู้ตัวว่าหัวหน้าชั้นต้องเป็นเด็กผู้ชาย ถ้าเรายังเห็นต่อไปเรื่อยๆ ว่า มีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่เป็นหัวหน้าองค์กร มันก็จะกลายเป็นเรื่อง “ธรรมชาติ”” (น.17)

จากข้อความข้างต้นอาจตีความได้ว่า ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นเรื่องการปิดกั้นไม่ให้เพศหญิงได้รับบทบาทหน้าที่เป็นหัวหน้าชั้น และถือเป็นการประเมินศักยภาพและความสามารถของผู้หญิงไปโดยปริยาย

เพราะบางครั้งผู้หญิงอาจมีความทะเยอทะยานอยากที่จะทำหน้าที่หรือดำรงตำแหน่งนั้นก็ได้

แต่เมื่อกลายเป็นเรื่อง “ปกติ” หรือ “ธรรมชาติ” ไปเสียแล้ว จึงเท่ากับว่าผู้หญิงถูกกำหนดให้อยู่ในบทบาทของผู้ตาม ผู้ช่วยเหลือ ผู้สนับสนุนหรือผู้ได้รับความคุ้มครองดูแลจากเพศชายเท่านั้น

ซึ่งกลายเป็นมายาคติ (myth) ที่สื่อความเชื่อทางวัฒนธรรมซึ่งถูกบุคคลเลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่าเป็นเรื่องธรรมชาตินั่นเอง

นอกจากนี้ ผู้เขียนยังกล่าวย้ำถึงการให้ความสำคัญของเพศชายในฐานะผู้ชายเป็นใหญ่ได้อย่างน่าสนใจกับข้อเปรียบเทียบจากความแตกต่างทั้งทางกายภาพและการพัฒนาแนวคิดเรื่องสตรีนิยมที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยว่า

“ผู้ชายกับผู้หญิงนั้นแตกต่างกัน เรามีฮอร์โมนที่แตกต่างกัน มีอวัยวะที่ต่างกัน และมีสมรรถนะทางชีวภาพที่แตกต่างกัน… กายภาพของผู้ชายแข็งแรงกว่าผู้หญิง จำนวนประชากรโลกที่เป็นผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย ผู้หญิงมีจำนวน 52 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด แต่ตำแหน่งที่มีอำนาจและบารมีส่วนใหญ่กลับถูกยึดครองโดยผู้ชาย” (น.20-21)

Police arrest a member of feminist activist group Femen after unveiling a banner on a church in Henin-Beaumont, north-western France, to protest against French presidential election candidate for the far-right Front National (FN – National Front) party Marine Le Pen on May 7, 2017, during the second round of the French presidential election. / AFP PHOTO / ALAIN JOCARD

และ “ผู้ชายครองโลกจริงๆ เป็นเรื่องที่ฟังขึ้นสำหรับหลายปีก่อน… แต่ปัจจุบันเราอยู่ในโลกที่แตกต่างกับอดีตโดยสิ้นเชิง คนที่มีคุณสมบัติเป็นผู้นำ ไม่ใช่ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงกว่าอีกต่อไป แต่เป็นผู้ที่เฉลียวฉลาดกว่า มีความรู้มากกว่า มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากกว่า และฮอร์โมนก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะเหล่านั้น ผู้ชายและผู้หญิงต่างก็มีความเท่าเทียมกัน” (น.21-22)

จากประเด็นข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า การไร้ตัวตนและความเป็นอื่นของผู้หญิงถูกลดทอนบทบาทสถานะโดยตำแหน่งแห่งที่ที่มีความเป็นรองบนความสัมพันธ์ของเพศสภาพ (gendar) ทั้งในระดับพื้นที่ส่วนตัว (private sphere) และสาธารณะ (public sphere)

ซึ่งผู้เขียนพยายามเปรียบเทียบความแตกต่างจากกายภาพและคุณลักษณะสำคัญของความเป็นผู้นำได้อย่างมีเหตุผล แต่เหตุไฉนคนและสังคมส่วนใหญ่จึงมองข้ามข้อแตกต่างนี้

สาเหตุคงเป็นเพราะเราอยู่ในสังคมปิตาธิปไตย

ปิตาธิปไตย (patriarchy) หรือระบบชายเป็นใหญ่ หมายถึง สังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ มีอำนาจเหนือผู้หญิง เป็นอำนาจที่แฝงเร้นกว่าอำนาจอื่นใด คืออำนาจหน้าที่ที่ผู้ชายโดยรวมมีเหนือกว่าผู้หญิง ครอบงำผู้หญิงไว้เป็นรอง ทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าบทบาทผู้สนองความต้องการของเพศชายนั้นเป็นสิ่งพึงปรารถนา น่าภูมิใจ ทั้งนี้ โดยยกย่อง เชิดชูผู้หญิงที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่าดีงาม สูงส่ง ทรงคุณค่า ในภาพรวมมีคุณลักษณะโครงสร้างครอบคลุมบทบาทพฤติกรรม วิธีคิด ทั้งของเพศชาย เพศหญิงและเพศอื่นๆ ด้วย

และผู้เขียนยังกล่าวย้ำอีกว่า “เป็นผลผลิตของสังคมที่สั่งสอนว่าผู้ชายสำคัญกว่าผู้หญิง” (น.24) และ “เรื่องเพศสภาพทุกวันนี้เป็นเรื่องของความอยุติธรรมอย่างร้ายแรง” (น.25)

โดยพิจารณาจากตัวอย่าง ผู้ชายเท่านั้นที่เป็นหัวหน้าชั้นหรือหัวหน้าองค์กร หรือในลากอส ผู้หญิงไม่สามารถไปเที่ยวคลับบาร์ได้ นอกจากจะไปกับผู้ชายเท่านั้น เป็นต้น

จากข้อความที่ยกมาทั้งหมด ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางออกของปัญหาเรื่องเพศสภาพว่า เบื้องต้นคือต้องเลี้ยงดูลูกชายและลูกสาวให้แตกต่างไปจากเดิม

หมายความว่า ทุกคนในสังคมจะต้องปลูกฝังแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมทางเพศผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (socialization) หรือการปลูกฝังทางวัฒนธรรม (enculturation) เราก็จะมีความสุข โลกก็จะมีความยุติธรรมระหว่างชายหญิงที่มีอิสระจากการเป็นตัวของตัวเอง โดยไม่ต้องแบกรับภาระความคาดหวังจากทั้งตัวเอง ครอบครัวหรือสังคมเกี่ยวกับเพศสภาพว่าผู้ชายจะต้องแข็งแรงและเป็นผู้นำ ผู้หญิงต้องเป็น “ศรีภรรยา” เท่านั้น เป็นต้น

โดยเริ่มที่ “ตัวเรา”

โลกปัจจุบันเปิดกว้างมากขึ้น แน่นอนว่าโอกาสในการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายก็มีมากขึ้นเช่นเดียวกันด้วย โดยมุ่งประเด็นความสำคัญกับความสามารถมากกว่าการให้ความสำคัญหรือความสนใจเกี่ยวกับเพศสภาพ (gendar) โดยไม่กีดกันหรือกดทับและแบ่งมนุษย์ออกเป็นสองฝ่ายว่าเป็นชายหรือหญิง

หากเรายอมรับในข้อนี้ได้ก็จะเห็นทางออกของทุกปัญหา

ชิมามานดา เอ็นโกซี อาไดซี่ ศึกษานิยามความหมายตามที่เธอค้นจากพจนานุกรมว่า “เฟมินิสต์ : ผู้ที่เชื่อในความเท่าเทียมกันทางเพศ ทั้งในทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ” (น.51)

แต่ในความเป็นจริง สังคมที่มีวัฒนธรรมหรือการยอมรับในระบบปิตาธิปไตย (patriarchy) ต้องให้ความสนใจและเล็งเห็นความสำคัญว่ามุมมองของวัฒนธรรม (culture) หรือมายาคติ (myth) ดังกล่าวไม่ได้สร้างขึ้นโดยผู้คน แต่เป็นผู้คนที่สร้างวัฒนธรรมหรือมายาคตินี้ขึ้นมา

ดังนั้น วัฒนธรรมหรือมายาคติจึงสามารถเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดี มีความสุข ยุติธรรมและเท่าเทียมกันได้ ทั้งนี้ มิใช่จะเกิดหรือแก้ปัญหาเหล่านี้โดยเพศชายหรือเพศหญิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาให้คู่กัน ถ่วงดุลและคานอำนาจกัน

Police arrest a member of feminist activist group Femen after unveiling a banner on a church in Henin-Beaumont, north-western France, to protest against French presidential election candidate for the far-right Front National (FN – National Front) party Marine Le Pen on May 7, 2017, during the second round of the Presidential election. / AFP PHOTO / JOEL SAGET

แต่ต้องเป็น “เรา” ทุกคนเพื่อความอยู่รอดของทั้งสองฝ่าย โดยสร้างกระบวนการคิดแบบสมานฉันท์ ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับสตรีนิยมเสรีนิยมที่ต้องรื้อสร้างต่อไป

ทำไม “เรา” ทุกคนควรเป็นเฟมินิสต์ นอกจากคำตอบข้างต้นแล้ว เรายังเห็นมโนทัศน์สตรีนิยม (A concept of feminism) ของผู้เขียนที่มีความคิดในการเรียกร้องสิทธิที่สตรีพึงได้รับ ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในสังคม

นอกจากนี้ ผู้เขียนยังยกตัวอย่าง อธิบายวาทกรรมเพื่อการกดทับและสร้างตัวตนความเป็นอื่นให้เกิดความเข้าใจว่าควรแก้ไขอย่างไร

โดยมีความหวังว่า “เรา” ทุกคนทำได้และต้องทำให้สังคมโลกใบนี้ดีขึ้นกว่าเดิม