วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ : โอมิครอนและวัคซีน เมื่อย่างเข้าสามขวบปีของโควิด (ตอนที่ 2)

เจ้าโอมิครอนกลายพันธุ์มามากมายอย่างนี้ได้อย่างไร 

ความรู้ทางพันธุกรรมที่นักพันธุศาสตร์ไวรัสบอกเรา คือ เจ้าโอมิครอนมีพันธุกรรมที่กลายพันธุ์มาจากต้นตอเดิม ไปเห็นว่าห้าสิบตำแหน่ง  

ความจริงการกลายพันธุ์เป็นเรื่องธรรมดา เพราะการเพิ่มจำนวนของเชื้อ มันต้องก๊อบปี้พันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งสู่ รุ่นต่อไป ระหว่างก๊อบปี้ย่อมเกิดความผิดเพี้ยนไปบ้าง ยิ่งก๊อบหลายทอดเท่าไหร่ ยิ่งเพี้ยนมากเท่านั้น ความ ผิดพลาดในการก๊อบปี้ทางพันธุกรรมก็คือการกลายพันธุ์นั่นเอง  

ลูกหลานหรือลูกศิษย์ลูกหาที่เราสั่งสอน ความจริงเราก็พยายามก๊อบปี้ความรู้และค่านิยมจิตสำนึกต่าง ๆ ให้ เค้าเพื่อถ่ายทอดพันธุกรรมทางความคิดของสังคมเราไปให้คนรุ่นต่อไป แต่การถ่ายทอดค่านิยมมันเพี้ยนไปจาก เดิมได้มากโดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมไม่เหมือนเดิม มีสายพันธุ์ความคิดอื่น ๆ มาปะปน พันธุกรรมทาง ความคิดชิ้นเล็ก ๆ ก็สอดแทรกเข้าในพันธุกรรมกระแสหลักได้ เพราะฉะนั้น ท่านรุ่นเบบี้บูมเมอร์ทั้งหลายเอ๋ย  อย่าเสียใจไปเลยที่คนรุ่นเจนแซดเขาจะไม่สืบทอดค่านิยมของท่าน มันเป็นไปตามธรรมชาติน่ะครับ ตถตา ตถตา 

เจ้าสายพันธุ์อู่ฮั่นปรกติมันอาจจะเจอแต่ซาลาเปา เมื่อมันพยายามก๊อบปี้ระหว่างที่แพร่ไปในยุโรป ต้องกินพาส ตาบ้าง กินครัวซองต์บ้าง อยู่ได้พักเดียวก็กลายเป็นสายพันธุ์ยุโรปหรืออังกฤษส่งออกไปทั่วโลก ถึงอินเดียคง จะต้องกินโรตีก็เลยก๊อบปี้เพี้ยน ๆ ไปเป็นเดลตาซึ่งแพร่ได้ดีกว่าสายพันธุ์อู่ฮั่นและสายพันธุ์อังกฤษ  

ความจริงเดลตาเข้าไทยพร้อม ๆ กับเบตาจากแอฟริกาที่คนกลัวกัน เบตาเข้ามาทางชายแดนมาเลเซีย ไม่ได้บิน มาแล้วโดนกักตัวนะครับ เราไม่ต้องสนใจคนที่บินมาแล้วโดนกักหรอกครับ ชายแดนทางบกบ้านเราพรุนไป หมด เชื้อเข้าได้สบายอยู่แล้ว เมื่อเจ้าเบตาเข้ามาถึงยะลา มันก็หลุดเข้าไปในภูเก็ต ตอนนั้นเราก็กลัวเจ้าสาย พันธุ์แอฟริกานี่มาก เพราะได้ข่าวว่าวัคซีนกันไว้ไม่อยู่  

แต่อยู่ ๆ ไม่รู้เจ้าโควิดแอฟริกาใต้รุ่นแรกที่ชื่อว่า เบตา มันหายไปไหน คล้าย ๆ กับชนเผ่าซาไกซึ่งเป็นเชื้อสาย นิกรอยด์จากแอฟริกา ข้ามมหาสมุทรอินเดียเข้ามาในแหลมมลายูมาเป็นภูมิบุตร (ลูกของแผ่นดิน หรือ คน พื้นเมืองซี่งทางรัฐบาลมาเลเซียถือว่าด้อยโอกาส) แต่ก็ต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุดเพราะเจอกับเผ่าอื่น ๆ ที่ ประชากรมากกว่าและมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์เบตาจากแอฟริกา ในที่สุดก็ยกพื้นที่ ทั้งหมดให้กับเดลตา 

ส่วนสายพันธุ์เดลตามาจากอินเดียปรับตัวได้ดีกว่า เหมือนแขกอินเดียบรมครูทางวัฒนธรรมของเรา ภาษาบาลี และสันกฤตเข้ามาสุวรรณภูมิและอาเซียนและสร้างฐานทางวัฒนธรรมได้ดีฉันใด สายพันธุ์เดลตาก็ยึดอาเซียน ได้มั่นคงฉันนั้น 

 

คราวนี้ต้องดูต่อไปว่าทีมแอฟริกาใต้รุ่นสอง หรือ เจ้าโอมิครอนจะหลุดรอดล่องหนเข้ามาได้ทางไหน จะมาสร้าง ฐานแทนเดลตาได้หรือไม่ 

กลับมาเรื่องก๊อบปี้อีกหน่อยนึง ที่นักวิทยาศาสตร์เค้ารายงานว่าเจ้าโอมิครอนมันกลายพันธุ์จากต้นตอไปไกล มาก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะอัตราความผิดพลาดในการก๊อบปี้ตามธรรมชาติน่าจะค่อนข้างคงที่ เจ้าโอมิครอนนี่กลายพันธุ์ไปไกลจากต้นตอเดิม แสดงว่ามันผ่านการก๊อบปี้เป็นจำนวนครั้งมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ  

แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงมันต้องระบาดมานานแล้ว นี่มันเพิ่งโผล่มาให้เขาเห็นกันเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนนี่เอง  มันแอบไปทำอะไรที่ไหนมาถึงได้เปลี่ยนไปมากอย่างนี้  

มีคนเค้าพยายามอธิบายว่า แถวแอฟริกามีคนไข้โรคเอดส์เยอะ คนเหล่านี้ภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายเป็นเรือนเพาะชำแปรเปลี่ยนพันธุ์ที่ดีเป็นพิเศษ เหมือนเรือนเพาะชำของนักค้าต้นกระบองเพชรเมื่อต้นปี และนักค้าบอนสีเมื่อปลายปี สถานที่ซึ่งเพาะพันธุ์กระบองเพชรรุ่นใหม่ ๆ หรือ บอนสีลายใหม่ ๆ จะเป็นตัวส่งต้นอ่อนออกไปขายใน ตลาด เหมือนสภาพแวดล้อมในแอฟริกาที่คอยเพาะพันธุ์โควิดสายพันธุ์ใหม่ส่งออกไปทั่วโลก  

ผมคิดไปเรื่อยเปื่อยว่า เจ้าสิ่งแวดล้อมหรือคนในแอฟริกาใต้อาจจะไม่ได้เร่งอัตราการก๊อบปี้ของเชื้อโควิด แต่ อาจจะมีอะไรบางอย่างทำให้การก๊อบปี้แต่ละครั้งเพี้ยนได้มากกว่าการก๊อบปี้ปรกตินิดหน่อย ในไม่ช้าก็เพี้ยนไป มาก ๆ เป็นเจ้าโอมิครอน มีคนบอกว่าบางทีอาจจะเป็นด้วยผู้ติดเชื้อทั้งโควิดและเอชไอวีในแอฟริกาใต้ซึ่งมี จำนวนมากกินยาฆ่าเชื้อเอชไอวีเข้าไปแบบกินบ้างไม่กินบ้าง เจ้าโควิดในร่างกายโดนแรงกดดันอ่อน ๆ

จากยาฆ่าเชื้อเอชไอวีเลยต้องกลายพันธุ์หนี อันนี้เขาก็ว่าไปอย่างนั้นตามทฤษฎี ซึ่งผมคิดว่าถ้าจริงน่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งมีทั้งเอชไอวีและโควิดร่วมกันมาก ๆ อย่างสหรัฐ หรือ ประเทศไทยด้วย ทำไมจะต้องเป็นเฉพาะแอฟริกาใต้ 

 

ทีนี้มาคุยเรื่องวัคซีนบ้าง  

เอ แล้ววัคซีนที่เราทำสัญญาจ่ายเงินซื้อมาจากจีนก็ดี อเมริกาก็ดี อังกฤษก็ดี มันจะป้องกันโอมิครอนได้หรือ เปล่า เราจะต้องสั่งซื้อวัคซีนเจนใหม่จากบริษัทต่างชาติมาเพื่อความมั่นคงทางวัคซีนของเรามั้ย 

ผมอยากจะบอกว่า ที่ผ่านมาวัคซีนได้ผลในการป้องกันการแพร่เชื้อได้เฉพาะรุ่นแรก ๆ ตอนโควิดเป็นสายพันธุ์ อังกฤษเท่านั้น พอเปลี่ยนไปเป็นสายพันธุ์อินเดียไม่ว่าวัคซีนยี่ห้ออะไรจากประเทศไหนก็ป้องกันการติดเชื้อไม่ ค่อยได้ผลเอาเสียเลย คุณหมอคุณพยาบาลในภาคใต้ฉีดวัคซีนดีที่สุดเต็มพิกัด ระดับแอนติบอดีก็น่าจะสูงปรี๊ด  ก็ยังติดเชื้อจนต้องปิดโรงพยาบาลบางส่วนเมื่อเดือนสองเดือนที่แล้ว 

วัคซีนอาจจะไม่ได้ผลในการลดการแพร่เชื้อโอมิครอน เหมือนที่ไม่ได้ผลในการลดการแพร่เชื้อเดลตา ความจริง โอมิครอนก็ไม่เห็นจะต้องไปตามหาคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีนให้ลำบากเลย จะแพร่ให้ใครก็ได้ ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนแล้ว หรือยังไม่ฉีด คนไทยก็จะติดเชื้อและแพร่เชื้อกันเองต่อ ๆ ไป ไม่ต้องรอการนำเข้า

ดูเมื่อเดือนกรกฎา-สิงหาปีนี้ที่ผมเรียกว่า funeral phase สิ เดลตาบู๊ดุเดือด ที่เวียดนามก็เหมือนกัน เวียดนาม ปลอดโควิดมาเกือบตลอด พอโดนเดลตาลุยเวียดนามใต้เมื่อเดือนกันยายนปีนี้ จ านวนคนตายจากเดลตาก็แซง ไทยไปภายในเวลาสองสามเดือน 

แต่เดลตาก็ไม่ได้เก่งตลอด มันแผลงฤทธิ์ในอินเดียและอาเซียนได้เฉลี่ยแล้ว 2-3 เดือนก็ซาลง คนรุ่นหลัง ๆ ติด เชื้อได้แต่ไม่ค่อยตาย  

นักระบาดวิทยาทางอินเดียบอกว่า คนพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อซ้ำ (ครั้งแรกติดเชื้อโดยไม่มีอาการ)  

สัตว์ร้ายดุ ๆ อย่างเดลตา อยู่ไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะกลายเป็นสัตว์เลี้ยง ภูมิต้านทานที่เรามีอยู่ในประชากรจะค่อย  ๆ กล่อมเกลาความดุดันของโรคระบาดให้ลดลง 

ตอนนี้จ านวนผู้ป่วยใน กทม. บางวันก็น้อยกว่าสงขลา ทั้ง ๆ ที่ กทม. มีประชากรมากกว่าสงขลากว่าสิบเท่า  ภูมิต้านทานของชาว กทม. เดนตาย คงกล่อมเกลาเดลตาไปเรียบร้อยแล้ว  

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำลังสำรวจภูมิต้านทานว่าชาว กทม. มีระดับแอนติบอดีสูงจริงหรือเปล่า  แอนติบอดีจะสูงได้ทั้งจากการติดเชื้อและจากการฉีดวัคซีน ถ้าตรวจด้วยแล็บดี ๆ เราจะบอกได้ว่า แอนติบอดี จากส่วนไหนช่วยคนกรุงเทพ ฯ ได้มากกว่ากัน 

ถ้าโอมิครอนเข้า กทม. ในสองสามสัปดาห์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร คนกรุงเทพฯ ซึ่งตอนนี้ไม่ต้องกลัวเดลตาแล้ว ต้องกลัวโอมิครอนไหม  

ผมนึกถึงสงครามเวียดนาม คนเวียดนามรบชนะฝรั่งเศส ยึดป้อมค่ายเดียนเบียนฟูได้ (ความจริงมีทหารชนเผ่า ไทยด าในบริเวณนั้นช่วยรบเยอะมาก) เมื่อจะต้องรบกับอเมริกาที่เข้มแข็งกว่าฝรั่งเศสหลายเท่าจะไหวไหม ลุง โฮบอกว่าต้องไหวสิลูก แล้วเวียดนามก็ชนะ 

อัฟกานิสถานก็ต้องรบขับไล่ทหารสหภาพโซเวียตผู้รุกราน อยู่ได้ราวสิบปีโซเวียตแพ้ถอยทัพกลับ พักรบภายใน ได้ราวห้าปี ก็ต้องรบกับสหรัฐต่ออีกเกือบยี่สิบปี สุดท้ายสหรัฐก็พ่ายแพ้ออกจากอัฟกานิสถานเมื่อไม่กี่เดือนที่ ผ่านมา 

คนกรุงเทพฯ เพิ่งชนะเดลตา เหมือนเวียดนามซึ่งเพิ่งชนะฝรั่งเศสในศึกเดียนเบียนฟู และอัฟกานิสถานชนะ สหภาพโซเวียต พร้อมที่จะรบป้องกันประเทศอีกรอบ ถ้าโอมิครอนเข้ามาบุกกรุงเทพฯ ก็จะเหมือนอเมริกาบุก เวียดนามและบุกอัฟกานิสถาน ภูมิต้านทานของคนกรุงเทพฯ เพิ่งผ่านการรบขนาดใหญ่มาไม่นาน ในขณะนี้ น่าจะพอเอาอยู่โอมิครอนอยู่ กรุงเทพฯ เราจะไม่แตกและไม่มี funeral phase อีก การติดเชื้อในกรุงเทพฯ  

อาจจะมีบ้าง แต่น่าจะไม่รุนแรง  

 

ควรจะต้องฉีดวัคซีนเข็มสามหรือเข็มสี่ให้คนกรุงเทพฯ ไหม ฉีดไปก็อาจจะไม่ได้อะไรมากนัก รอให้มีหลักฐานว่า ระดับภูมิต้านทานของประชากรเริ่มต่ า หรือ เริ่มมีการป่วยหนักประปราย ค่อยมาฉีดก็ยังทัน เพราะหลังการฉีด กระตุ้นร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันอย่างรวดเร็วมาก ไม่เหมือนตอนฉีดรองพื้นเข็มแรกเข็มสอง

วัคซีนเป็นเหมือนสินค้าที่เสื่อมเร็ว (perishable goods) เหมือนผักสด และ เหมือนหนังสือพิมพ์รายวัน วัน แรกเราเรียกว่า หนังสือพิมพ์ อีกสองสามวันเราเรียกใหม่ว่า กระดาษหนังสือพิมพ์ ท าเป็นถุงใส่กล้วยแขก  

วัคซีนของเก่าก็ตกค้างและก าลังจะหมดอายุ วัคซีนใหม่ก็ทยอยเข้ามาสมทบ แต่คนไทยอีกจ านวนมากก็ยังไม่ได้ ฉีดวัคซีน 

เวียดนามเพื่อนบ้านของเรามีโควิดระบาดทีหลังเรา ตายมากกว่าเรา เริ่มฉีดวัคซีนหลังเรา แต่เขาอาจจะแซงเรา ในไม่ช้านะครับ  

อัตราการฉีดวัคซีนแสดงถึงความสามารถในการแข่งขัน ถ้าไม่ฉีดวัคซีนชาวต่างชาติอาจจะไม่ค่อยกล้ามาลงทุน เราอยากให้เขามาลงทุนก็ฉีดกันเข้าไปให้ครบถ้วนก็แล้วกัน นอกจากเป็นการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างที่ฝรั่ง ว่าแล้ว วัคซีนยังเป็นไม้ตายไม้เดียวที่จะสู้กับโอมิครอนในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้ ฉีดวัคซีนไว้เถอะครับ อุ่นใจกว่า