รายงานพิเศษ: เปิดปูมยุทธศาสตร์ประวิตรช่วยเกษตรกรดันราคาปาล์มน้ำมัน

หากพิจารณาจากราคา ณ ปัจจุบัน สถานการณ์ “ราคาปาล์มน้ำมัน” อยู่ในเชิงบวก
ถามว่าดีอย่างไร ก็ต้องตอบว่าโดยปกติช่วงกลางปีแบบนี้ผลปาล์มจะออกมามากมาย และราคาจะร่วงดำดิ่ง ต่ำกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะหน้าเหี่ยวหน้าแห้งเพราะแม้ปาล์ม จะให้ผลออกมามาก แต่ก็จะขายไม่ได้ราคา ได้เงินไม่มาก

แต่ปีสองปีที่ผ่านมา ทั้งปี 2563 และปี 2564 ราคาผลปาล์มกับตรงกันข้าม เพราะแม้ผลปาล์มจะออกมามากในช่วงกลางปี แต่ราคาก็ยังอยู่ในระดับสูงถึง 5 – 6บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรก็ยิ้มออก

เมื่อมองไปยังหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนนโยบายคนสำคัญ ก็คือ “ลุงป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ นโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่เคยเจอปัญหาในการ บริหารจัดการในช่วงที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันออกมามาก ในปี 2562 แต่ความต้องการตลาดในปีนั้นไม่สามารถรองรับผลผลิตได้เพียงพอ จนเกิดภาวะปาล์มล้นตลาดราคาตกลงในระดับต่ำกว่า 3 บาท

พล.อ.ประวิตร จึงสั่งการให้ทีมงานดำเนินการวิเคราะห์และติดตามความเคลื่อนไหวของราคาและ สต๊อกน้ำมันปาล์มอย่างใกล้ชิดเป็นรายวัน รายสัปดาห์ ไม่รอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปปริมาณ สต๊อกส่งให้เป็นรายเดือนอย่างในอดีต

แนวทางส่วนหนึ่งของความสำเร็จด้านนโยบาย ปาล์มของ พล.อ.ประวิตร คือ การสั่งตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนกลไกบริหารจัดการเพื่อแก้ไข ปัญหาปาล์มน้ำมัน 5 จังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด ที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุด คือ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ และพังงา และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง มานั่งเป็นประธานอนุกรรมการเพื่อกำกับดูแลการ ขับเคลื่อนงานในการปฏิบัติทั้งส่วนกลางและระดับจังหวัดอย่างใกล้ชิด

นอกจากนั้น ตัวรองนายกฯ เองยังลงพื้นที่ไป รับฟังปัญหาและกำชับผู้ว่าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เป็นระยะๆ พร้อมสั่งการเพื่อขับเคลื่อนการ แก้ปัญหาให้ตรงจุด เช่น การรับซื้อผลปาล์มด้วย ราคาที่เป็นธรรมของลานเทและโรงสกัดน้ำมันปาล์ม การให้คณะทำงานของแต่ละจังหวัดติดตามการตัด ผลปาล์มสุก การปราบปรามการลักลอบนำเข้า น้ำมันปาล์มในพื้นที่ชายแดนทั้งบนบกและทางทะเล

หลักการที่สำคัญ ที่ พล.อ.ประวิตร เน้นย้ำกับ พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ เป็นการสร้างสมดุลของ สต๊อกน้ำมันปาล์มตามหลักดีมานด์ซัพพลาย ผ่านการดำเนินการ 2 เรื่อง นั่นคือ

1) การลดสต๊อกก่อนถึงฤดูกาลที่ปาล์มจะให้ผลผลิตออกมามาก และ 2) การดูดซับผลผลิตส่วนเกินด้วยการสนับสนุนการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ 2 ระลอก และเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์ม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มการใช้เป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซล ที่ได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงพลังงาน ปรับให้น้ำมันไบโอดีเซล B10 เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐาน และให้กฟผ. รับซื้อน้ำมันปาล์มไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า

ผลจากดำเนินการทั้ง 2 เรื่องข้างต้นทำให้สามารถลดสต๊อกด้วยการส่งออกในช่วงปี 2562 และ 2563 ได้รวม 5.4 แสนตัน และนำไปผลิตไฟฟ้ารวมอีก 3.6 แสนตัน ทำให้สต๊อกสิ้นปี 2563 ลดลงเหลือ 2 แสนตันจากที่เคยอยู่ในระดับเกิน 3 แสนตัน ในสิ้นปี 2562

ส่งผลดีต่อราคา และมูลค่ารวมของผลปาล์ม น้ำมันที่เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จาก 50,818 ล้านบาท เป็น 71,612 ล้านบาท ในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้นถึง 20,799 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41 และราคาเฉลี่ย ของผลปาล์มทะลายเพิ่มขึ้นจาก 3.05 บาทต่อกิโลกรัม ในปี 2562 เป็น 4.78 บาทต่อกิโลกรัมในปี 2563 และราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2564 ขยับขึ้นอยู่ที่ประมาณ 5.8 บาทต่อกิโลกรัม ปี 2564 มีผลปาล์มทะลายออกมาสู่ตลาดแล้ว ประมาณ 7.1 ล้านตัน และสร้างมูลค่าผลปาล์มน้ำมัน 4.1 หมื่น ล้านบาทแล้วในช่วงเวลาเพียง 5 เดือนของปี 2564

อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหม่ที่คืบคลานเข้ามา คือ การเปลี่ยนมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงและเครื่องยนต์ ตามมาตรฐาน “ยูโร 5” ในปี 2567 และการเปลี่ยนเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ที่จะส่งผลต่อปริมาณ การใช้ใบโอดีเซลในอนาคตอันใกล้และจะกระทบต่อเกษตรกร

พลอประวิตร จึงได้มอบหมายให้ พลตอธรรมศักดิ์ หาแนวทางการแก้ปัญหาในระยะกลางและระยะยาว เพิ่มเติม เพื่อไม่ให้เกิดภาวะพายเรือวนในอ่าง เกิดภาวะน้ำมันปาล์มล้นสต๊อกและราคาผลปาล์มตกตำซ้ำช้อนขึ้นอีกในอนาคตเป็นวงจรที่ทำให้เป็นภาระต่อรัฐบาล เกือบทุกปีในการตั้งงบประมาณเยียวยาประกันรายได้ ให้เกษตรกร ด้วยการหาแนวทางยกระดับราคา ผลปาล์มฒและหาตลาดใหม่ให้ได้อย่างถาวรในอนาคต จึงสั่งการให้ตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มขีดความสามารถ ทังการในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันขึ้น เมื่อเดือนมิถุนายน 2563

ก่อนการตั้งอนุกรรมการดังกล่าวขึ้นมา พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ ได้เสนอต่อ “กนป.” เพื่อกำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ กนป. ต้องมีความชำนาญในแต่ละด้าน และได้คัดเลือก ผู้มีความสามารถเฉพาะทางในด้านต่างๆ เช่น ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านนวัตกรรม เข้ามา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

เมื่อ พล.อ.ประวิตร สั่งการให้ตั้งอนุกรรมการ เพิ่มขีดความสามารถฯ พล.ต.อ. ธรรมศักดิ์ ก็ได้เดินหน้าตั้งคณะทำงานชับเคลื่อนมูลค่าเพิ่มของปาล์ม น้ำมันขึ้นมา มอบหมายให้ พลเอก ภุชพงศ์ พงษ์ศิริ และ ดร.บุรินทร์ สุขพิศาล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านนวัตกรรมของ กนป.รับผิดชอบในการหาแนวทาง การนำน้ำมันปาล์มไปผลิตเป็นสินค้าที่จะช่วยเพิ่ม มูลค่าและหาตลาดใหม่ให้กับน้ำมันปาล์มในระยะยาว

พร้อมทั้งเสนอแนวทางมาตรการในการขับเคลื่อนให้สอดรับกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมหมุนเวียนและอุตสาหกรรมสีเขียว (BCG) ตามนโยบายของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนได้ผลิตภัณฑ์เป้าหมายออกมา 6 ชนิด คือ น้ำมันเครื่องพื้นฐานชีวภาพ น้ำมันเครื่องและ จาระบีชีวภาพ น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ สารซักล้างชีวภาพ พาราฟินชีวภาพ ยาฆ่าแมลงและ ยาปราบศัตรูพืชชีวภาพ และได้นำเสนอขออนุมัติ มาตรการในการขับเคลื่อนต่อ กนป. เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564

ล่าสุด คณะรัฐมนตรีรับทราบแล้ว เมื่อ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับผลกระทบ ของการมาถึงของการบังคับใช้มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงยูโร 5 และการมาถึงของยานยนต์ไฟฟ้า ที่จะเป็นปัจจัย ทำให้การใช้น้ำมันไบโอดีเซลลดลงในอนาคตอันใกล้นี้ โดยพลเอก ประวิตรวงษ์สุวรรณ ได้สั่งการให้เร่งออก มาตรการส่งเสริมการผลิตให้เกิดขึ้นจริง ทันเวลาต่อการแก้ปัญหาจากผลกระทบกรณีมาตรฐานยูโร 5 และยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังช่วยลดผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ต้องการให้มีการลดการใช้วัสดุ ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ภารกิจดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต รวมถึงสมาคมหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ รวมถึงการผลิตยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืชจากน้ำมันปาล์ม ที่สามารถใช้ทดแทนสารเคมีปราบศัตรูพืชที่รัฐบาลห้ามมิให้ใช้ โดยหากทำสำเร็จก็จะทำให้ กนป. สามารถหาตลาด ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรับมือกับผลกระทบจากมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงยูโร 5 และการมาถึงของรถ EV ได้ทันการณ์ลดความเสี่ยงจากการใช้ใบโอดีเซล ที่จะลดลงและช่วยให้พี่น้องเกษตรกรมีความกินดีอยู่ดี

ขณะเดียวกัน หากมองในระดับของการแข่งขันด้านประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุน เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของประเทศเพื่อนบ้าน พล.อ.ประวิตร ยังสั่งการให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยกำหนดอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มของโรงงานสกัดที่ 18% ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยลดลง ส่งผลให้เกษตรกรมีโอกาสได้รับราคาสูงขึ้น

รวมถึงการกำชับให้เร่งติดมิเตอร์วัดสต๊อกในถังเก็บน้ำมันปาล์มที่ยังคงล่าช้า ส่วนเรื่องการจัดทำโครงสร้างราคาผลปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ที่มี กนป. มีมติมอบหมายให้กรมการค้าภายในเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ที่ได้ใช้เวลาถึง 2 ปีแล้วนั้น ก็มีมติในคราวประชุมเมื่อ 30 เมษายน 2564 ให้เร่งรัดการจัดทำโครงสร้างราคาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

จะเห็นได้ว่า พลเอก ประวิตร บริหารจัดการให้ทีมงานวิเคราะห์ ติดตาม และที่สำคัญคือสั่งให้มี การขับเคลื่อนเรื่องสำคัญเร่งด่วน ที่ส่งผลต่อราคา ผลปาล์มทะลายก่อนเป็นลำดับแรก ซึ่งทำให้ราคา ผลปาล์มดีขึ้นตามลำดับในระยะปีสองปีที่ผ่านมา รวมถึงประหยัดงบประมาณของรัฐในการเยียวยาเกษตรกร


ส่วนเรื่องการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ต่อเกษตรกรก็จัดลำดับความสำคัญและสั่งการเร่งรัด ทั้งการติดมิเตอร์วัดระดับน้ำมันและการจัดทำโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม

สุดท้ายคือการเตรียมรับผลกระทบจากมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงยูโร 5 รวมถึงการมาของรถยนต์ไฟฟ้าด้วยการส่งเสริมการผลิต ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มในระยะยาวซึ่งจะทำให้เกิดการยกระดับราคาผลปาล์มทะลายได้อย่างถาวร และประหยัดงบประมาณในการเยียวยา เกษตรกรได้หลายพันล้านบาทต่อปี เพื่อนำงบประมาณ ไปใช้ลงทุนพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ต่อไป