อนินท์ญา ขันขาว / “ถนนสายโพธิ์” เมญ่า-วัดเจ็ดยอด : โมเดลย่านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจแห่งใหม่ในเชียงใหม่

ความคิดสร้างสรรค์ จาก “ต้นโพธิ์” เรียกถนนสายโพธิ์

ถนนสายโพธิ์ คืออะไร? คือถนนแห่งชีวิต และความมั่นคง บนพื้นฐานแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรมล้านา และส่งเสริมสร้างเศรษฐกิจ

ถนนสายโพธิ์ คือ ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์- ถนนห้วยแก้ว แยกรินคำ รินคำ คือสายน้ำใสสะอาด ยิ่งกว่าแก้ว…มีคุณดั่งทองคำ ก่อนไหลลงคลองแม่ข่า หนึ่งใน 7 ชัยมงคลเมืองเชียงใหม่

ทำไมให้ความสำคัญกับ”ต้นโพธิ์” ?

 

รศ.สมโชติ อ๋องสกุล ศูนย์ล้านนาศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าไว้อย่างน่าสนใจมาก ทำไมคนเชียงใหม่บางส่วนถึงคัดค้านย้ายต้นโพธิ์ต้นนี้ อาจารย์เล่าย้อนไปต้นโพธิ์ต้นแรกแถบนี้ คือ ต้นมหาโพธิ์ต้นแรก ที่พระเจ้าติโลกราชปลูก

ต้นโพธิ์ที่อยู่กลางถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ คือต้นที่เชื่อมโยงกับวัดเจ็ดยอดที่อยู่ใกล้กัน…และสัตตมหาสถาน 7 อย่าง วัดที่ใช้

การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลกเมื่อ พ.ศ.2020 และถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ถูกขยายเมื่อปี 2535 ปรากฎกระทบวัดเจ็ดยอด กรมศิลปากรขุดแต่งโบราณสถาน พบร่องรอยโบราณสถานวัดกู่แก้วจำนวนมาก..ซึ่งเชื่อมโยง สัตตมหาสถาน จำลอง 7 แห่ง นี่เป็นครั้งแรกที่คุยกับทางหลวง สามารถขยับจาก 4 เมตร เป็นเป็น 17 เมตร.. นี่คือที่มาทำไมต้นโพธิ์ ต้นนี้ทำไมคัดค้านการย้าย

เมื่อย้าย ต้นโพธิ์ไม่ได้ และยังมีแนวคิดการขยายถนนซุปเปอร์ไฮเวย์บริเวณแยกรินคำ บริเวณลานน้ำพุ หน้าห้างห้างเมญ่า เพิ่มช่องทางจราจร…ก็เกิดกระคัดค้านตามมา นักวิชาการด้านวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าการขยายถนนดังกล่าวอาจไม่ช่วยแก้ปัญหาจราจร และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เพราะการขยายถนนไม่ได้สอดรับกับถนนอีกฝั่ง…และอาจทำลายย่านเศรษฐกิจได้

อาจารย์ภักดีกุล รัตนา พูดถึงกรณีย้ายต้นโพธิ์อย่างน่าสนใจ..และเสนอทางออกการทั้งการย้ายต้นโพธิ์ และรื้อลานน้ำพุห้างเมญ่า เสนอเป็น เส้นทางสายโพธิ์ : เส้นทางแห่งชีวิตและความมั่นคง…ปัจจุบันย่านแยกรินคำ ถนนนิมมานเหมินทร์ และห้วยแก้ว เป็นย่านเศรษฐกิจ ท่องเที่ยวสำคัญของเชียงใหม่ การประชุมกลไกออกแบบเมืองอัจริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้เมื่อ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา เลือกถนนห้วยแก้ว และนิมมานฯเป็นนวัตกรรมสมาร์ทซิตี้..แนวคิดการออกแบบเส้นทางสายโพธิ์ จะสร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจแห่งใหม่ที่เริ่มจาก “ต้นโพธิ์”

ถนนเส้นทางสายโพธิ์ คือ การออกแบบย่านที่ชาญฉลาดเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจ (Smart Growth) ห้องรับแขกของจังหวัดเชียงใหม่ที่ดีที่สุดและมีคุณภาพ (Smart City) และสถานที่ที่ต้องไปเยือนของเมืองเชียงใหม่จากแรงบันดาลใจแห่งต้นมหาโพธิ์ (Landmark) ดังนั้นเส้นทางสายโพธิ์

– เส้นทางการท่องเที่ยวและการค้าเชื่อมต่อจากย่านการค้านิมมานเหมินท์ และห้างเมญ่าจนถึงวัดเจ็ดยอด
-สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น
-มีทางเดินที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ โดยเชื่อมต่อระหว่างที่อยู่อาศัยไปยังร้านค้า ร้านบริการ แหล่งข้อมูลวัฒนธรรม เช่น วัดเจ็ดยอด เป็นการสร้างเส้นทางเดินดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อการค้าและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้คนในละแวกนั้น
-สามารถสร้างสีสันชุมชนคนเดินเท้า
-สร้างภูมิทัศน์ของย่านนี้ให้มีความสวยงาม เป็นระเบียบ มีทางเท้าที่สามารถเดินได้อย่างสะดวก และมี CCTV เพื่อให้เป็นย่านที่มีความปลอดภัย
และที่สำคัญ”เส้นทางสายโพธิ์ “จะมีการคมนาคมขนส่งหลากหลายทางเลือก
-ทางเดินเท้า
-ทางจักรยาน
-ทางรถยนต์

ทำให้คนที่มีตัวเลือกในการเดิน ขี่จักรยาน และการใช้รถยนต์ รวมถึงการบริการขนส่งสาธารณะ มีทางเลือกหลายทางเพื่อสนับสนุนย่านการค้า และช่วยปกป้องสภาพแวดล้อมและกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางกายภาพมากขึ้น

และสุดท้าย เส้นทางการออกแบบสร้างสรรค์ให้ชุมชนและละแวกใกล้เคียงมีเอกลักษณ์เฉพาะ สร้างความภาคภูมิใจในชุมชน เป็นห้องเรียนห้องใหญ่สำหรับทุกคน

“เส้นทางพิทักษ์รักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่สุดของการออกแบบ คือความสมดุลของธรรมชาติ และการพัฒนาระบบการรักษาธรรมชาติทำให้เส้นทางนี้เป็นเส้นทางสีเขียวร่มรื่นเหมาะแก่การเป็นเส้นทางท่องเที่ยวและการค้าที่เชื่อมต่อจากย่านนิมมานเหมินท์” อาจารย์ภักดีกุล กล่าว

รศ. ชูโชค อายุพงศ์ คณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พูดถึงประเด็นการขยายถนนบริเวณแยกรินคำและรื้อลานน้ำพุว่า พื้นที่จะรื้อลานน้ำพุเป็นของกรมทางหลวง หลายคนอาจมองว่าห้างเมญ่าได้รับผลประโยชน์มากเกินไป ซึ่งเป็นเรื่องของกรมทางหลวงจัดการสัญญาเช่า และการใช้ประโยชน์ การแก้ปัญหาโดยการรื้อและขยายถนน ซึ่งมองว่าไม่ถูกต้องตามหลักการพัฒนาเมืองเพราะตอนนี้บริเวณแยกรินคำ คือข่วงเมือง เป็นลานกิจกรรมของคนเมือง

เมื่อมีการพัฒนาพื้นที่เมืองขึ้นมาแล้ว ถนนบริเวณจุดที่จะขยายเป็นขาออก ซึ่งไม่ปรากฎว่ามีปัญหาจราจรจร มองว่าการขยายถนน รถที่มาจากนิมมานฯมีเพียง 4 ช่องทางจราจรซึ่งบีบช่องทางจราจรหากขยายอาจกระทบกับปัญหาอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ เพราะถนนไม่สอดรับกัน ดังนั้นจึ่งต้องรักษาห้องรับแขกของเมือง และพูดคุยกับกรมทางหลวง เพราะแต่ละวันย่านนี้มีผู้คนเดินทางเกี่ยวข้องวันละนับแสนคน มีมูลค่านับหมื่นล้าน

ทั้งนี้ จึงมีการนำเสนอโมเดลพื้นที่แห่งอนาคตในการอนุรักษ์วัฒนธรรม รักษาความเป็นประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของล้านนา รักษาสิ่งแวดล้อมและในขณะเดียวกันเป็นการสร้างเศรษฐกิจให้กับเมืองเชียงใหม่และพัฒนาไปสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City)และเมืองเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) มั่งคั่ง ยั่งยืน และเท่าทันโลกในปัจจุบัน