‘7 กองพล 17 กรมทหาร 43 กองพัน’ สำรวจขุมกำลังทหารครั้งประวัติศาสตร์ ‘ปฐพี 149’ ล้มรัฐบาลทักษิณ

FILES AFP / STR

หมายเหตุ : รายงานเผยแพร่ครั้งแรกในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 ก.ย. 2549

การปฏิวัติยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะ หัวหน้า คปค. พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ประธานที่ปรึกษา คปค. พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ รองหัวหน้า คปค. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก รองหัวหน้า คปค. พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล เลขาฯ คปค.

เพื่อล้มรัฐบาลรักษาการที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี ให้ไปสู่การล้างไพ่ เพื่อให้มีการปฏิรูประบบการเมืองใหม่ โดยเน้นไปที่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อความบริสุทธิ์ ยุติธรรม

ซึ่งหากมีการสำรวจกำลังพลทหารที่ใช้ปฏิบัติการชิงอำนาจ จะต้องตกใจไม่น้อย เพราะการสนธิกำลังจากกองทัพภาคที่ 1 และกองทัพภาคที่ 3 กองพลรบพิเศษที่ 1 ศูนย์การทหารราบ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

โดยใช้กำลังพลทหารระดับกองพลถึง 7 กองพล 17 กรมทหาร 43 กองพัน ในการเคลื่อนย้ายกำลังเข้ารักษาที่ตั้ง ตามเป้าหมาย สถานที่สำคัญ และเพื่อตรึงกำลังให้ทางฝ่ายที่คิดจะต่อต้าน ต้องล้มเลิก เพราะทุกหน่วยทหารระดับแกนนำสำคัญ ทั้งทหารราบ ทหารปืนใหญ่ ทหารม้า กองพลรบพิเศษ ถูกจัดส่งมาอารักขาทั่วพื้นที่ที่จะเป็นยุทธศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร พร้อมเข้ายึดสถานที่ราชการและสถานที่สำคัญๆ

ทันทีที่ข่าวของฝ่าย พล.อ.สนธิได้รั่วไปก่อนหน้านั้น ได้เกิดปฏิกิริยาของฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้มีการเคลื่อนไหวของกองกำลังทหารเพื่อน ตท.10 ทันที เพื่อต่อต้านการปฏิวัติ

AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL

เมื่อมองย้อนไปดูหน่วยที่ออกปฏิบัติภารกิจในแผนการปฏิวัติยึดอำนาจตามแผนปฐพี 149 หากเป็นทหารจากกองทัพภาคที่ 1 จะถูกติดโบว์ ผ้าพันคอ หรือธง ด้วยสัญลักษณ์สีเหลือง

หากเป็นทหารที่มาจากกองทัพภาคที่ 3 จะติดโบว์ ผ้าพันคอ หรือธงด้วยสัญลักษณ์สีฟ้า

หากทหารหน่วยใดไม่ติดผ้าเหลือง สวมผ้าพันคอสีเหลือง หรือธงสีเหลือง-สีฟ้า ให้ถือว่าเป็นทหารฝ่ายตรงข้าม ทั้งที่ความจริงแผนทางยุทธการ “ปฐพี 149” ที่ใช้สำหรับการรัฐประหารครั้งนี้ จะมีสีบอกการเป็นฝ่ายเดียวกันถึง 3 สี

โดย “สีเหลือง” ใช้แสดงสัญลักษณ์ของหน่วยขึ้นตรงในสังกัดกองทัพภาคที่ 1 ทั้งหมด “สีฟ้า” ใช้แสดงสัญลักษณ์ของหน่วยกองทัพภาคที่ 3 และ “สีเขียว” เป็นของหน่วยกองพลทหารม้า

โดยหน่วยภายใต้การดูแลของ พล.ท.อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 ที่ลงมาสั่งการด้วยตัวเองได้นำกำลังจากกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) กองพลทหารราบที่ 9 ออกปฏิบัติการเป็นหลัก

โดยมีหน่วยระดับกรม ประกอบด้วย กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) ส่งหน่วยระดับกองพันเข้ายึดพื้นที่รอบในกองบัญชาการกองทัพบก เส้นทางพระราชวัง สถานีวิทยุ-โทรทัศน์

คือ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 พัน.1 รอ.) กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 พัน.2 รอ.)

กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) โดยส่งหน่วยระดับกองพันประกอบด้วย บล็อคเส้นทางพื้นที่ใกล้หน่วย ททบ.5 จุดเส้นทางสายเหนือ รอบใน

โดยกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 พัน.1 รอ.) กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 พัน.2 รอ.)

กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 รอ.) นำกำลังทุกกองพันเข้ามาตรึงพื้นที่รอบกองทัพอากาศ เขตดอนเมือง เพราะเป็นหน่วยรบเคลื่อนที่เร็ว ประกอบด้วย กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 พัน.1 รอ.) กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 พัน.2 รอ.) และกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 พัน.3 รอ.)

กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ นำกำลังจาก ตั้งจุดสะพานแดง รอบบริเวณทำเนียบ โดยกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป.พัน.1 รอ.) กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 11 รักษาพระองค์ ( ป.พัน.11 รอ.)

AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL

กองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ (ม.พัน.4 รอ.) นำรถถังรอบจุดทำเนียบ กองทัพภาคที่ 1 และลานพระบรมรูปทรงม้า

ส่วนกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) ปราจีนบุรี เคลื่อนมาทั้งกองพล ดูแลเส้นทางสายตะวันออก วางกำลังบ้านสี่เสาเทเวศร์ และปิดหน้า บก.พล.1 รอ. ประกอบด้วย

กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ร.2 รอ.) โดยมี กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ร.2 พัน.1 รอ.) กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ร.2 พัน.2 ) กองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ร.2 พัน.3 รอ.)

กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือทหารเสือราชินี มาทั้ง 3 กองพัน ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหาราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 พัน.1 รอ.) กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 พัน.1 รอ.) และกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 พัน.3 รอ.)

กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ (ร.12 รอ.) มาทั้ง 3 กองพัน ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ (ร.12 พัน.1 รอ.) กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหาราบที่ 12 รักษาพระองค์ (ร.12 พัน.1 รอ.) และกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ (ร.12 พัน.3 รอ.)

กองพันทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (ม.พัน.2 รอ.)

กองพันทหารม้าที่ 30 รักษาพระองค์ (ม.พัน.30 รอ.)

กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) กาญจนบุรี ส่งมาเกือบทั้งกองพล ดูแลพื้นที่รอบปริมณฑล เขตฝั่งธนฯ ประกอบด้วย

กรมทหารราบที่ 9 (ร.9) ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 9 (ร.9 พัน.1 รอ.) กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 9 (ร.9 พัน.2)

กรมทหารราบที่ 19 (ร.19) ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 19 (ร.19 พัน.1) และกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 19 (ร.19 พัน.3)

กรมทหารราบที่ 29 (ร.29) ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 29 (ร.29 พัน.1) และกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 29 (ร.29 พัน.3)

กองพันทหารม้าที่ 19 (ม.พัน.19)

มณฑลทหารบกที่ 11 จัดส่ง กองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11 (พัน.ร.มทบ.11) กองพันสารวัตรที่ 11 (พัน.สห.ทบ.) จัดกำลังร่วมภายในกองบัญชาการกองทัพบก ศูนย์การทหารราบ ส่งกองพันศูนย์การทหารราบที่ 1 (พัน.ศร.ที่1) กองพันศูนย์การทหารราบที่ 2 (พัน.ศร.ที่ 2)

กองทัพภาคที่ 3 ภายใต้การดูแลของ พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร แม่ทัพภาคที่ 3 ได้เคลื่อนกำลังพลเข้ามาโดยมี

กองพลทหารม้าที่ 1 เพชรบูรณ์ ดูแลเส้นทางรอบปริมณฑลย่านรังสิตถึงสระบุรี โดยมี

กรมทหารม้าที่ 2 (ม.2) ประกอบด้วย กองพันทหารม้าที่ 7 (ม.พัน.7) กองพันทหารม้าที่ 10 (ม.พัน.10)

กรมทหารม้าที่ 3 (ม.3) ประกอบด้วย กองพันทหารม้าที่ 13 (ม.พัน.13) กองพันทหารม้าที่ 15 (ม.พัน.15)

กองพลทหารราบที่ 4 (พล.ร.4) นครสวรรค์ ดูแลเส้นทางรอบเมืองทองธานี และมาปักหลักสนามกีฬา ทบ. โดยมี

กรมทหารราบที่ 4 (ร.4) ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 4 (ร.4 พัน.3) และกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 4 (ร.4 พัน.4)

กรมทหารราบที่ 7 (ร.7) ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7 (ร.7 พัน.1)

กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 (ป.พัน.4) ประกอบด้วย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 (ป.พัน.4) กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 (ป.พัน 104)

กองพลรบพิเศษที่ 1 (พล.รพศ.1) ป่าหวาย จัดกำลังอารักขา ผู้บัญชากาทหารบก และวางกำลังทุกจุดในกองบัญชาการปฏิรูปฯ โดย กรมรบพิเศษที่ 1 (รพศ.1) ประกอบด้วย กองพันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 1 (รพศ.พัน.1) กองพันรบพิเศษที่ 2 กรมรบพิเศษที่ 1 (รพศ.1 พัน.2)

กรมรบพิเศษที่ 3 (รพศ.3) ประกอบด้วย กองพันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 3 (รพศ.3 พัน.1) กองพันจู่โจม (พัน.จจ.)

กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) ดูแลย่านแจ้งวัฒนะ โดย

กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 (ป.1) โดยกองพันทหารปืนใหญที่ 7 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 (ปตอ.พัน.7) กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 (ปตอ.พัน.4)

A column of tanks guard a highway in suburban Bangkok, 21 September 2006.Thailand's ruling generals were set to impose tough new curbs on the media 21 September including a ban on expressions of public opinion, as they tightened their grip on power two days after a bloodless coup.  AFP PHOTO/PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
 AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL

ข้ามมาดูฝั่งกองทัพอากาศ กำลังหลักจากหน่วยบัญชาการอากาศโยธินของฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ที่มี พล.อ.ท.สุเมธ โพธิ์มณี เป็นผู้บังคับหน่วย ที่ดูจะพอฟัดกับกำลังจากทหารบกได้เพราะมีกรมต่อสู้อากาศยาน กรมอากาศโยธิน กรมทหารราบ และกรมปฏิบัติการพิเศษ ก็ยังไปไม่รอด

เพราะเจออาวุธหนักของหน่วยเคลื่อนที่เร็วของ ร.31 รอ. เข้าปิดเส้นทาง

อย่างไรก็ตาม การนำกำลังเข้าปฏิวัติยึดอำนาจครั้งนี้ ถือเป็นประวัติศาสตร์ของการรัฐประหารที่นำกำลังทหารจากหลายหน่วย ประกอบด้วย 2 กองทัพภาค รวมทั้งหลายกองพล หลายกองพัน เข้ามาปฏิบัติการยึดครองทั่วทุกพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร

ดังนั้น ต่อให้ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีกำลังก็เชื่อว่าไม่สามารถเข้ามาต่อต้าน หรือทานกำลังทหารระดับนี้ได้ เพราะถือเป็นการตรึงพื้นที่เกือบทั่วทุกตารางนิ้วแบบเบ็ดเสร็จและเด็ดขาด เชื่อว่าต่อให้มีปีก ก็หนีไม่พ้น นอกจากจะใช้กำลังทางอากาศมาต่อสู้อย่างเดียว…