“ฟ้ายังมีสีฟ้าอยู่ การบินไทยต้องบินให้ได้” : ชาญศิลป์ บอกเล่าความในใจและเบื้องหลังความสำเร็จพลิกฟ้า ฝ่าวิกฤต การบินไทย

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม เวลา 13.00-15.30 ณ อาคารมนุษยนาควิทยาทาน วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มติชน จัดงานเสวนา Book Launch: เปิดตัวหนังสือ ‘พลิกฟ้า ฝ่าวิกฤต การบินไทย’ โดย นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการและผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูการบินไทยในช่วงที่ผ่านมา ดำเนินรายการโดย นายธีรัตถ์ รัตนเสวี

โดย นายชาญศิลป์ กล่าว่า การฟื้นฟูการบินไทยถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับประเทศไทย ดังนั้นการฟื้นฟูการบินไทยขึ้นมาได้จึงจำเป็นต้องบันทึก และถูกจดจำสำหรับคนรุ่นต่อ ๆไป ซึ่งหลายท่านจากหลายภาคส่วน รวมทั้งบุคลากรการบินไทยก็ได้ช่วยเหลือกันและก้าวผ่านเวลายากลำบากด้วยกันมา ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาที่เรายากลำบากนั้น ทางเราก็ได้รับความเมตตาจากทางเครือมติชน ที่ช่วยเผยแพร่ข่าวสารให้กับประชาชนให้เข้าใจมาโดยตลอด

เมื่อถามถึงมองการบินไทยอย่างไรก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่งเพื่อฟิ้นฟู นายชาญศิลป์กล่าวว่า ผมรู้จักกับบุคลากรในการบินไทยอยู่แล้ว อย่าง นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นายสุวรรธนะ สีบุญเรือง ประธานเจ้าหน้าที่อาวุโส สังกัดสำนักงานประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ซึ่งการบินไทยเองก็มีบุญคุณกับทาง ปตท.ที่ได้ช่วยเหลือในการเลือกใช้น้ำมันสำหรับเครื่องบิน รวมถึงตนมองว่าไม่มีใครจะตกลำบากตลอดไปหรอก เชื่อว่าในวันที่วิกฤตก็จะต้องมีโอกาสฟื้นขึ้นมาได้เสมอ รวมทั้งการบินไทยเป็นหน่วยงานสำคัญสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องการจ้างงาน การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม

หากย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปี ที่แล้วการบินไทยเป็นสายการบินชั้นนำของเอเชีย จะเห็นว่าเรายิ่งใหญ่มาก จึงอยากรักษาความยิ่งใหญ่ตรงนี้เอาไว้

แรงบันดาลใจสิ่งที่ผมที่มาหลังจากจากเกษียณเพียงแค่เดือนเดียว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เรียกไปพบ อยากให้มาช่วยในการฟื้นฟู ผมได้ถามท่าน 3 ข้อ ข้อที่ 1จำเป็นต้องรักษาสายการบินไทยไว้หรือไม่ ข้อที่ 2 ถ้าจำเป็นต้องเอาคนออกได้ไหม แต่ก็ต้องจ่ายตามกฎหมาย และข้อที่ 3 พ้นจากสภาพรัฐวิสาหกิจได้หรือไม่

“ถือว่าเป็นการตัดสินใจมาฟื้นฟูการบินไทยเป็นการตัดสินใจที่ยากมาก แต่ผมเชื่อว่า นี่คือช่วงที่ต่ำสุดที่วันหนึ่งจะฟื้นขึ้นมาได้” นายชาญศิลป์กล่าว ภายหลังจากได้รวบรวมข้อมูลจากอดีตผู้บริหารหลายๆท่าน ประกอบกับความรู้ความสามารถการบริหารด้านพลังงาน

นายชาญศิลป์กล่าวว่า การเดินเข้ามาการบินไทยคนเดียวนั้นมาด้วยใจ มีใจที่รักการบินไทย ต้องมีทัศนคติที่เป็น บวก ต้องเปิดใจและเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรร่วมกับสถานการณ์โดยรอบ รวมถึงเข้าหาบุคลากรด้วยการให้เกียรติกัน ผมเชื่อว่าบุคลากรมีความรู้ความสามารถที่จะนำมาร้อยเรียงซึ่งกันและกันได้ ผมเจอเพชรหลายคนในการบินไทย ที่มีทั้งความสามารถและรักองค์กร เราเป็นเพียงลมใต้ปีกที่ช่วยผลักดันเท่านั้น ผมจึงเชื่อว่าการบินไทยฝ่าวิกฤตครั้งนี้ได้

นายชาญศิลป์กล่าวว่าการขาดทุนสะสมของการบินไทยในระยะเวลา 64 ปีที่ผ่านมา มีการขาดทุน แค่ 12 ครั้ง โดยครั้งแรกเริ่มมาจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง 2540 จากนั้นวิกฤต 9-11 และจุดชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดทุนครั้งใหญ่คือการปิดสนามบิน 2551 รวมถึงความขัดแย้งทางการเมืองภายในซึ่งการบินไทยการขาดทุนสะสมมาตั้งแต่ปี 2554 – 2564 รวมถึงการลงทุนที่ผิดพลาด ทำให้หนี้สูงถึง1.3แสนล้าน เมื่อเจอการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ถือว่าเป็น วิกฤตซ้อนวิกฤต ซึ่งสายการบินอื่นก็เจอ แต่ผมมองว่าการบินไทยจะถือว่าเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เปรียบเสมือนการเข้าห้องผ่าตัดและห้องไอซียู เริ่มจากอะไรที่ขายได้ขายเพื่อเอาเงินสดกลับมา ตอนที่ตนมาบริหารมีเงินสดอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท ตนจึงมองว่าการขายทรัพย์สินในบริษัทออกมาเป็นเงินก่อนแล้วถ้ากลับมามีเพียงพอค่อยลงทุนต่อยอดได้ ซึ่งการใช้วิธีนี้ทำให้ตอนนี้การบินไทยมีเงินสดถึง 8,000-9,000 ล้านบาท สิ่งที่สำคัญคนที่อยู่หรือไป คือ คนที่เสียสละในการออกวิกฤตครั้งนี้ เพราะทุกคนมีจิตวิญญาณของความรักองค์กร

นายชาญศิลป์กล่าวว่า ต้องขอบคุณทีมงานทำแผนแผนฟื้นฟู ซึ่งได้นำแผนของต่างประเทศมาศึกษาและนำมาปรับใช้ และนำบทเรียนเก่าๆ ของการบินไทยนำมาปรับปรุง โดยการรับมือกับบเจ้าหนี้ถึง 13,000 รายที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน แต่เราต้้องทำความเข้าใจว่าหากปล่อยล้มละลาย จะได้เพียง10 -15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ผมว่าเป็นครั้งแรกที่บริษัทขนาดใหญ่ขนาดนี้ที่สามารถผ่านจุดต่ำสุดมาได้

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การสร้างขวัญกำลังใจ โดยการไปพบทุกหน่วยงานภายในการบินไทย เพื่อพูดคุยถึงความคืบหน้าของแผนฟื้นฟู เพื่อสร้างกำลังใจ รวมไปถึงการพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความสบายใจ ยามวิกฤตต้องการผู้นำ ซึ่งทุกคนเป็นผู้นำที่ต้องเสียสละ เพราะทุกคนมีจิตวิญญาณของความรักองค์กรนายชาญศิลป์กล่าวว่า การบินไทยหลังพ้นการเป็นรัฐวิสาหกิจถือว่ามีความคล่องตัวในการบริหารจัดการองค์กรในการแก้ปัญหาหนี้สินที่ดีมาก เพราะการจัดซื้อ-ขายภายในองค์กรต้องถือว่าไม่ใช่การจัดซื้อรูปแบบปกติ แต่เมื่อพ้นความเป็นรัฐวิสาหกิจถือว่าทำได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญเมื่อเป็นรัฐวิสาหกิจชอบมีคนร้องเรียนอย่าง ป.ป.ช.ทำให้ไม่มีใครกล้าทำงานในการแก้ปัญหา

การทำตามแผนฟื้นฟูเราตั้ง วิสัยทัศน์ (Vision) เราจะเป็นสายการบินชั้นนำระดับพรีเมี่ยมโดยสามารถมีกำไรได้อย่างยั่งยืน โดยมีภารกิจ (Mission) 4 ข้อ คือ 1.) customer sentinel 2.) commercial excellence 3.) continuous movement และ 4.) cost effectivenessนายชาญศิลป์กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้มาจุดนี้ได้ เพราะผมมีกัลยาณมิตรที่กรุณาช่วยเหลือในเวลานั้น รวมทั้งพี่น้องสื่อมวลชน ที่ช่วยเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ และหน่วยงานอย่างสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) และ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) รวมทั้งรัฐบาลที่ให้การสนับสนุน และเจ้าหนี้เข้าใจบุคลากรการบินไทยทุกท่านเห็นถึงความสำคัญของการบินไทย
เพราะ “ฟ้ายังมีสีฟ้าอยู่ การบินไทยต้องบินให้ได้”
นายชาญศิลป์กล่าวว่า ภายหลังการปรับโครงสร้างองค์กรจะมีจัดรูปแบบทิศทางการบินไทยให้สอดคล้องกับทรัพยากรที่เรามีอยู่ โดยวางเป้าหมายระยะกลางและระยะยาว เป้าหมายสำคัญคือการที่สายการบินสามารถสร้างการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพได้ โดยตั้งเป้าให้เป็นสายการบินแห่งชาติระดับกลางถึงบนที่มีความปลอดภัยสูงสุด ทันสมัยและมีการบริการที่ดีและสร้างความประทับใจให้กับผู้โดยสารต่อไปได้ดียิ่งขึ้น เพราะเชื่อว่าการบริการของประเทศไทยถือว่าเป็นอันดับต้นๆนายชาญศิลป์กล่าวว่า สิ่งที่กังวลอันหนึ่งก็คือมันต้องมีการมีการพัฒนารุ่นต่อรุ่น วันนี้หลายคนเริ่มเกษียณ เพราะว่าองค์กรเราแข่งขันไม่ได้มาเป็นเวลา 10 กว่าปี เราขาดคนที่เป็นมืออาชีพแล้วออกไป คนใหม่ก็ไม่เข้ามา ช่องว่างตรงนี้ต้องเร่งแก้

ซึ่งวันนี้หลังบ้านการบินไทยมีการปรับตัวหลังบ้านของการบินไทยเข้มแข็งเพียงพอที่จะแข่งขันระดับโลกได้ และโดยปัจจุบันหลังจากที่แผนฟื้นฟูเป็นไปตามคาด โดยตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมาการบินไทยทำกำไรสูง 2 หมื่น 8 พันล้านบาท ตามแผนการบินไทยจะออกจากแผนฟื้นฟูประมาณจะกลางปี 2568 โดยมีเงื่อนไข มี 4 ข้อ คือ 1.) เพิ่มทุนโดยทุนต้องเป็นบวก 2.) จ่ายเงินครบตามแผน 3.)ต้องมี EBITDA 12 เดือนไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้าน และ 4.) ตั้งกรรมการบริหารให้ครบสุดท้ายนายชาญศิลป์กล่าวว่า อยากขอบคุณทุกภาคส่วนโดยเฉพาะบุคลากรการบินไทยทุกท่าน รวมทั้งสื่อมวลชนที่ช่วยกันให้กำลังใจผมมีหน้าที่เพียงแค่สร้างกำลังใจเท่านั้น เราทำงานเป็นทีม ผมไม่ใช่ซุปเปอร์แมน แต่ว่าทุกคนเก่ง กล้าหาญ และเสียสละ

สำหรับนักอ่านท่านใดที่สนใจหนังสือ “พลิกฟ้า ฝ่าวิกฤต การบินไทย” เขียนโดย ‘ชาญศิลป์ ตรีนุชกร’
สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่: https://www.matichonbook.com (ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป)

และสามารถหาซื้อได้ที่:
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29
บูธ J02 สำนักพิมพ์มติชน
พบกันได้ง่ายๆ เพียงเข้าประตู Hall 6 ติดกับบูธ B2S
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7
วันที่ 10-20 ตุลาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. •