พ.ศ.2562 กับวิกฤต “ไฟฟ้า” ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ

สหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ กิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

เปิดเผย

หากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ขนาดกำลังผลิต 2,000 เมกะวัตต์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามแผน

การจัดหาไฟฟ้าให้กับประเทศต้องหันไปพึ่งเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในรูปแบบการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีแทน ซึ่งทาง ปตท. จะต้องเตรียมแผนนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้น

จากปี 2559 อยู่ที่ประมาณ 2-3 ล้านตัน

เท่ากับว่าประเทศไทยย่ำอยู่กับที่ เพราะต้องพึ่งพาก๊าซในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกจากปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 70

ปัญหาอยู่ที่ว่าหากโรงไฟฟ้าต้องเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติแทน การก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะเสร็จทันตามความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้ที่เพิ่มขึ้นหรือไม่

เพราะจะต้องเป็นการเริ่มนับ 1 ใหม่ในการหาสถานที่ก่อสร้างติดทะเล มีท่าเรือ มีคลังเก็บแอลเอ็นจีซึ่งต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี

ขณะที่แผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่จะต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2562

ไม่ทันกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้ที่เติบโตร้อยละ 5-6 ต่อปี และจะเพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้มีความเสี่ยง ทำให้ต้องพึ่งการส่งไฟฟ้าในระยะไกลจากภาคกลางเข้าไปเสริม ซึ่งก็ไม่มีการการันตีว่าจะมีความมั่นคงเพียงพอหรือไม่

หรือการรับซื้อไฟฟ้าจากทางมาเลเซียในปริมาณ 300 เมกะวัตต์เข้ามาช่วย แต่เป็นเพียงข้อตกลงแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ซึ่งจะไม่เต็มประสิทธิภาพ

รวมทั้งราคาแพงอยู่ที่ 3.80-8 บาท ต่อหน่วย เทียบกับค่าไฟฟ้าไทยอยู่ที่ 3.7 บาทต่อหน่วย