เผยแพร่ |
---|
ศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมสนทนาในรายการ สว.ชุดใหม่ Thailand Select บทสรุปหลังการเลือกประธานและรองประธาน สว. วิเคราะห์ทิศทางของ สว.ชุดใหม่ และคำถามสำคัญคือหากกติกายังเป็นแบบนี้ การเลือกใหม่ในอีก 5 ปี ข้างหน้า จะเป็นยังไง ภายหลังการประชุมวุฒิสภา สมัยสามัญนัดแรก มีวาระสำคัญคือ การเลือก ประธานและรองประธานวุฒิสภาอีก 2 คน
ศ.ดร.สิริพรรณ กล่าวว่า การออกแบบการได้มา ซึ่งสว.แบบนี้เป็นความพยายามที่จะลดอิทธิพลของพรรคการเมืองและลดการกินรวบ ถึงแม้คนในสังคมจะค่อนข้างผิดหวัง ทั้งในแง่ของกระบวนการได้ คุณภาพของ สว.ความเป็นอิสระ แต่อีกแง่หนึ่งในพื้นที่ของการเมืองเห็นชัดเจนว่าตอนนี้ไม่มีใครกินรวบ สว.สีน้ำเงินไม่ได้มากขนาด 150 อย่างที่หลาย ๆ สื่อพยายามจะบอก ถ้าเรามองการโหวตเลือกประธานเมื่อวาน (วันที่ 23 ก.ค.) จริง ๆ เห็นหลายสีมาก แสดงถึงการไม่กินด้วยรวบ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้ชัดคือ การแบ่งเป็น 2 ฝั่งคือฝั่งฝ่ายค้านกับฝั่งฝ่ายรัฐบาล ถึงแม้เราจะรู้ว่าสว.ไม่ควรเชื่อมโยงกับอยู่ภายใต้พรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ แต่เราเห็นความเชื่อมโยงที่ชัดเจน
การโหวตเลือกประธานเมื่อวานเป็นแค่เบื้องต้นที่ยังบอกอะไรเราไม่ได้ทั้งหมดว่าในอนาคตเมื่อสว.ต้องโหวตในกฎหมายสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และที่สำคัญคือบทบาทในเรื่องของการรับรององค์กรอิสระ
การเลือกประธาน ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นเบื้องต้น มันยังบอกอะไรเราไม่ได้ทั้งหมดว่าในอนาคตเมื่อสวต้องโหวตในกฎหมายสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการจัดทำเรื่องฉบับใหม่ จะออกมาหน้าไหนหาแล้วที่สำคัญก็คือบทบาทในเรื่องของการรับรององค์กรอิสระ ขอย้ำ ว่าคือ “การรับรอง” ไม่ใช่การไปเลือก
ดังนั้นประเด็นนี้มีนัยยะสำคัญทางการเมืองแต่เมื่อตีกลับไป ก็ขึ้นอยู่ที่ว่ากรรมการสรรหาจากจะยืนหยัดแค่ไหน หรือว่าจะดูแนวโน้ม สว.แล้วเปลี่ยนคน
อย่างน้อยเราจะเห็นความไม่มีเอกภาพ ของสว.ชุดนี้ ถึงจะมีความเป็นกลุ่มพวก มีความเป็นอิสระการโหวตครั้งหน้า เราจะเห็นภาพนี้ได้ชัดขึ้น
ประเด็นสุดท้ายส่วนสำคัญ คือเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามกฎตามรัฐธรรมนูญ ทั้งการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับบใหม่ หรือการแก้รายมาตรา ใช้เสียงสว. 1 ใน 3 ประมาณ 66 คน ถ้าเรามองโหวตเมื่อวาน เราก็จะรู้สึกได้ว่ามันท้าทายแต่ว่าก็มีความเป็นไปได้
ศ.สิริพรรณ ยังเชื่อว่าถึงแม้ว่าสายสีน้ำเงินจะมีถึง 120 เสียง แสดงว่ายังมีอีกก็จะเป็นกลุ่มที่กดปุ่มให้การจัดทำให้ฉบับใหม่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นอันนี้เป็นความหวังภายใต้ความรู้สึกอึดอัดของกระบวนการที่ได้มาสว.
ซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเอกภาพของแต่ละกลุ่มหลังจากจะยังเหนียวแน่นหรือเปล่า เพราะอย่าลืมว่า สิ่งล่อตาล่อใจมันก็เยอะ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าอะไรที่จะเป็นปัจจัยในการตัดสินใจสำคัญ ที่สว.ชุดนี้จะเปลี่ยนแปลงประเทศหรือมีนัยยะสำคัญพอที่จะให้ต้องมีการใช้กล้วย ซึ่งส่วนตัวมองว่า ยังมองไม่เห็นอะไรที่เป็นแบบนั้น เพระาหน้าที่ของสว.มี 4 เรื่อง คือ 1.การรับรองกฎหมาย ถ้าสว.ไม่รับรองก็ตีกลับไปที่สส.อยู่ดี
2. การรับรององค์การอิสระ ใครจะเป็นคนมาให้กล้วย เพราะว่าเป็นเรื่องของตัวบุคคล
3. การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือแก้รัฐธรรมนูญ ถ้าเกิดพรรคคุมได้ พรรคจะไปจ่ายทำไม
และ4. การสร้างกระทู้ตรวจสอบก็ล้มนายกฯไม่ได้
ดังนั้นถ้าเรามองในแง่นี้ไม่มีความจำเป็นที่สว.จะมีอำนาจอิทธิพลที่จะพลิกทิศทางทางการเมืองขนาดนั้นถึงแม้เราจะไม่พอใจในกระบวนการนี้ เราอยากให้ครั้งนี้เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของการได้มาซึ่งสว.แบบนี้ แต่อย่างไร ดิฉันคิดว่าเราไม่ต้องกังวลเกินไป แน่นอนเรามีหน้าที่ต้องจับตามอง
ดิฉันไม่ได้สนใจกระบวนการทั้งหมดนี้ เพราะสว.ว่าชุดนี้ไม่ได้มีนัยยะสำคัญทางการเมืองขนาดนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไปดูถูกท่านทั้ง 200 คน ดิฉันให้เกียรติอย่างที่บอกว่าพอเป็นสว. ของฝั่งรัฐบาลค่อนข้างเยอะสิ่งที่เราจะมองก็คือกลายเป็นว่าอำนาจบริหารอำนาจนิติบัญญัติอยู่ภายในฝั่งเดียว
ดังนั้นการตรวจสอบจะไม่ค่อยเกิดขึ้นเราอาจจะไม่เห็นการตั้งกระทู้เจ็บๆ หรือการอภิปรายเพื่อจะถามนายกฯ แต่ดิฉันอยากเห็นและยังหวังว่าไม่ว่าท่านจะมาด้วยวิธีการแบบไหน ถึงแม้ท่านไม่ได้มาจากประชาชนแต่ท่านก็ยังเป็นตัวแทนของประชาชนตามรัฐธรรมนูญและตามหน้าที่ก็ยังอยากเห็นท่านทำหน้าที่อย่างมีศักดิ์ศรี
สุดท้ายศ.ดร.สิริพรรณ กล่าวว่า คิดว่าสังคมคงรับไม่ได้นะคะแน่นอนที่จะใช้ระบบนี้ในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่สมมุติว่าสิ่งที่เราอยากเห็นไม่เกิดขึ้น คือไม่มีการแก้รัฐธรรมนูญ ไม่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่มีการแก้การได้มาซึ่งสว. ซึ่งไม่ใช่การเลือกตั้งแต่เป็นการเลือกกันเอง
ถ้าย้อนกลับมาในส่วนของตัวรัฐธรรมนูญเองควรจะต้องมีฉันทมติ ในเรื่องนี้ได้แล้ว ไม่อยากจะคิดว่าถ้าเกิดต้องใช้อยู่ แน่นอนว่าตอนนี้ทุกคนรู้ว่าจะแฮกระบบยังไง แต่ศักยภาพที่จะทำได้เหมือนสีน้ำเงินต้องบอกว่าไม่ง่าย แม้แต่สีแดงก็อาจจะทำไม่ได้ เป็นภารกิจของสีน้ำเงินที่ถนัดที่สุด วันนี้เห็นแล้วว่าคุณจะต้องส่งเท่าไหร่คุณจะต้องทำยังไง สูตรมันมีแต่คุณจะ execute (ดำเนินการ) ได้อย่างที่สีน้ำเงินทำหรือเปล่า
เพราะอย่าลืมว่าที่เขาทำได้เพราะอะไร 1 .คือสีน้ำเงินคือพูดง่าย ๆ ก็คือพรรคภูมิใจไทย พรรคที่คุ้มมหาดไทยและเวลาเราพูดถึงคุณสมบัติที่ไม่ค่อยตรงปกของของสว. ถามว่าใครเป็นคนตรวจสอบคุณสมบัติก็คืออยู่ภายใต้มหาดไทยคือด่านแรกที่ทำให้สีน้ำเงิน นอกจากนั้นก็ยังมีอาสาสมัคร เครือข่ายทั้งหลาย
ซึ่งตรงไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ ต่ออีก 5 ปีข้างหน้าใช้ระบบนี้สีอื่นจะทำได้เท่านี้ ดังนั้นเนี่ยโจทย์ใหญ่ที่สำคัญที่สุดถ้าเรามองในแง่ของ rational Choice หรือการตัดสินใจแบบมีเหตุมีผล ก็คือว่าจะทำยังไงที่จะทำให้สีน้ำเงินยอมคลายและยอมเปลี่ยนการได้มาซึ่งสว.แบบนี้
ในตอนท้าย ศ.ดร.สิริพรรณ กล่าวทิ้งคำถามไว้ว่า คำถามที่ใหญ่กว่านั้นคือเราจำเป็นจะต้องมี 2 สภาหรือเปล่า ?