E-DUANG : วิถีแห่ง”สกุลไทย” วิถีแห่ง”พัฒนาการ”

 

rehjr4jhrjh
สกุลไทย ปกแรก

กรณีของ “สกุลไทย” ก็เช่นเดียวกับกรณีของ “สตรีสาร”และกรณี ของ “ผู้จัดการ”รายเดือน

เป็นเหตุผลทางด้าน “เทคโนโลยี”

กรณีของ “สตรีสาร”เริ่มได้รับผลสะเทือนจากการเปลี่ยนของ การเรียงพิมพ์มาเป็นการใช้คอมพิวเตอร์

“บ่อ”บรรจุ”ตะกั่ว”หายไป

จากนั้น เครื่อง “คอมพิวเตอร์” อันเป็นการเรียงพิมพ์อย่างใหม่ก็เข้ามาแทน

จำเป็นที่ คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง จะต้อง”ตระหนัก”

กระนั้น การปิดของ “สตรีสาร”ก็มีเหตุผลต่างไปจากการปิดของ “ผู้จัดการ”

“สตรีสาร” ยุติอย่างสิ้นเชิงทุก”กระบวนการ”

“ผู้จัดการ”แปรเป็นส่วนหนึ่งของ”ผู้จัดการออนไลน์”เช่นเดียวกับ “โพสิชั่นนิ่ง”

“สกุลไทย”ก็เช่นเดียวกับ “ผู้จัดการ”

ต้องยอมรับว่า ระยะ 10 ปีหลังบทบาทของ “สื่อกระจก”ได้ค่อยเข้ามาแทนที่ “สื่อกระดาษ”

ไม่เว้นแม้กระทั่งงาน “วรรณกรรม”

นักเขียนส่วนหนึ่งเริ่มเขียนผ่านออนไลน์ มี”บล็อก”เป็นของตนเอง

นักเขียนของ”แจ่มใส”โตมาอย่างนี้

นักเขียนของ “สถาพรบุ๊ค” ในภาคของ “นวนิยาย”ก็โตมาอย่างนี้

“สกุลไทย”ในโฉมแห่ง”นิตยสาร”อาจยุติ

แต่นั่นมิได้หมายความว่า บทบาทในการนำเสนอ”นวนิยาย”จะพลอยยุติไปด้วย

นี่จึงเป็น”พัฒนาการ” นี่จึงเป็นการ”ปรับตัว”

การปรับตัวของ “สกุลไทย” จึงดำเนินไปเหมือนกับการปรับตัวของ ค่าย”ผู้จัดการ”

ค่อยๆยุติบทบาทของ “สื่อกระดาษ”

ขณะเดียวกัน ก็เปิดพื้นที่ของ “สื่อกระจก” มากยิ่งขึ้น กว้างขวางยิ่งขึ้น

จึงสะท้อน “พัฒนาการ”

แม้จะอาลัยต่อความเป็น “สกุลไทย” ในยุคอันรุ่งเรือง เฟื่องฟู แต่ก็จำเป็นต้องยอมรับ

ยอมรับในความเปลี่ยนแปลง