“พระไพศาล วิสาโล” ปุจฉา-วิสัชนา “ความเป็นพระไม่ได้ห้ามความรู้สึกทางเพศ”

ภาพจากคลิป https://www.youtube.com/watch?v=Uc0b6jm1LQQ

พระอาจารย์บวชมากี่ปีแล้วนะครับ

30 ขึ้น 31 ปี

กิเลสอันไหนที่เอาไม่ค่อยอยู่ เด่นที่สุดในบรรดากิเลสทั้งปวง แบบ…เห็นสาวแล้วยังหวั่นไหวอยู่มั้ย

มีกระเพื่อมบ้าง แต่ไม่ใช่ทุกรณีนะ แล้วแต่สภาวะด้วย ความโกรธก็ยังมีอยู่ ความฉุนเฉียว อารมณ์เมื่อถูกกระทบก็ยังมีอยู่มาก มีโมหะเป็นพื้นเลย ถึงจะเกิดโลภะ โทสะได้

ย้อนกลับไปเรื่องราคาหน่อยนะครับ บางทีมันมาแบบเนียนๆ มาในรูปแบบความรู้สึกดีงามจนเราไม่รู้ตัว พระอาจารย์เคยมีภาวะความรู้สึกแบบนี้มั้ย

ก็มีนะ แต่ที่ทำให้บวชได้นานเพราะรู้สึกว่าชีวิตคู่ไม่ใช่คำตอบของชีวิต ความรักก็ตกอยู่ภายใต้ความเป็นอนิจจัง รักกันวันนี้ ไม่ได้แปลว่าวันหน้าจะรักกัน รักกันวันนี้ก็อาจจะลงเอยด้วยความเกลียดชัง เหินห่าง หมางเมิน อาตมาเลยคิดว่าชีวิตคู่ไม่มีความยั่งยืน ทำให้เกิดความทุกข์ได้เมื่อมีความผันแปร จึงไม่มีความรู้สึกโถมไปทางนั้น ไม่ได้ปรุงแต่ง ถึงขนาดหวังว่าเราจะต้องแต่งงานกัน มีชีวิตคู่ด้วยกัน

ความรู้สึกทางเพศเป็นธรรมชาติของมนุษย์ การครองเพศพรหมจรรย์? เป็นการกดธรรมชาติของมนุษย์ จนกระทั่งกลายเป็นคนผิดเพี้ยนหรือเปล่า พอถึงวันหนึ่งก็เหวี่ยงกลับแรงพระอาจารย์มองเรื่องนี้ยังไง

จริงๆความเป็นพระไม่ได้ห้ามความรู้สึกทางเพศนะ เพียงแต่จำกัดการแสดงออก ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของวินัย แต่ว่าในเรื่องของจิตใจ ความรู้สึกทางเพศก็สามารถปรากฏขึ้นได้ อยู่ที่ว่าเราจะจัดการกับมันอย่างไร ถ้าเราใช้วิธีกดข่มมันก็ได้ผลชั่วคราว แต่ในระยะยาวมันสามารถตีกลับได้ จู่โจมเล่นงานเราได้ แต่ถ้าเรามีสติรู้ทันมันช่วยได้เยอะเลย ทำให้เราระมัดระวังไม่ประมาทสติช่วยให้เราปล่อยวางได้ง่าย ไม่ปล่อยให้ราคะมาครอบงำใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เรารู้ว่ายังมีจุดอ่อนที่ต้องระมัดระวัง ถ้ากดข่มไว้บางทีมันหายไปนะ จนกระทั่งเราคิดว่าเราเป็นอรหันต์แล้ว อันนี้ไม่ใช่ จะโผล่มาเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แต่ถ้าเราไม่กดมัน ยอมให้โผล่มาแล้วเราดูเฉยๆ ไม่ทำตาม เป็นวิธีจัดการที่สร้างสรรค์มากกว่า …

นี่เป็นส่วนหนึ่งของ บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของ ใบพัด นบน้อม ที่ได้อาราธนา พระไพศาล วิสาโล ขึ้นเทศน์นอกธรรมาสน์ ในตอน ทำไมข้าพเจ้าจึง (ยัง) ไม่สึก

แค่่ส่วนเดียวยังชวนให้น่าอ่านขนาดนี้ ถ้าได้อ่านเต็มๆ จะขนาดไหน

ยังมีอีกหลายคำถามที่แทงตรง และ น่าสนใจต่อคำตอบของผู้ถูกถามมากๆ

อย่างเช่น

เริ่มแรกที่บวชเหมือนพระอาจารย์บอกว่าเคยคิดเรื่องสึก ตอนนี้ยังคิดอยู่มั้ย / กะตายคาผ้าเหลือง? ถ้าพระอาจารย์จะสึก จะสึกด้วยเหตุผลใดครับ? เซ็งชีวิตพระ หลงรักสาวตอนบั้นปลายชีวิต?

14370314_1094925043896751_5922788625065860493_n

นี่แค่ พระไพศาล วิสาโล ยังมีอีกหลากหลายคน ที่ผ่านมือ ใบพัด นบน้อม อาทิ เออเชนี เมรีโอ / ชานันท์ ยอดหงษ์ / ส.ศิวรักษ์ / จุลจักร จักรพงษ์/ชาคริต แย้มนาม/ ป๊อด โมเดิร์นด็อก เป็นต้น

ผมติดตามบทสัมภาษณ์ ของคุณ ใบพัด นบน้อม มาหลายชิ้น ส่วนตัวอ่านแล้ว เราชอบมาก

จึงอยากชวนผู้อ่านมาเสพ ในสิ่งเดียวกัน นั่นคือ “ความคิด” ในขยักสมองของผู้ถูกสัมภาษณ์

แถมไปด้วยความสนุกของ ผู้ถาม ที่ครีเอท ล้วงเอาคำตอบ มานำเสนอระหว่างบรรทัดได้อย่างน่าสนใจ

ครับมีผู้ถามว่า

ทำไมเราต้องอ่านบทสัมภาษณ์? ฟังเขาคุย เขาพูดแบบหน้าจอทีวี หรือ ขึ้นเวที แล้วร่ายยาว แบบมีพิธีกร ถามได้ไหม

คำตอบ คือได้

แล้ว การอ่านคนคุยกันน่าสนใจตรงไหน

12119009_1016554275073779_8199650569475113950_n

ความน่าสนใจ อยู่ที่ “ใบพัด นบน้อม” ด้วย ในฐานะผู้ถาม ผู้ไปสัมภาษณ์ และถูกนำมารวมเล่มในชื่อ “ดื่มไดอะล็อก” ให้ท่านผู้อ่านได้ช็อป เลือกหาคำตอบของบุคคลที่ท่านรู้จักในแวดวงต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

แถม ใบพัด นบน้อม จะพาท่าน ทะลุทะลวงเอาคำตอบใน ประเด็นที่ตอบยาก ลุยเข้าไปในพื้นที่หวงห้ามบางจังหวะ เลาะเอาเรื่องละเอียดอ่อน เช่น เซ็กต์ ศาสนาและ การเมืองมาคลี่ออกให้เห็นกันชัดๆ

นั่น แสดงให้เห็นว่า ถ้าจะคุยกันจริงๆ เรื่องแบบนี้ก็ไม่ได้คุยยากขนาดนั้น หรอก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือ “ดื่มไดอะล็อก” ได้ที่นี่

เล่าเรื่อง : ธนกร วงษ์ปัญญา