“แหวน” แทนใจ ปรีดี พนมยงค์ มอบให้ พูนศุข ใส่ติดนิ้วจนวาระสุดท้ายของชีวิต

เปิดภาพแหวน ที่ “นายปรีดี พนมยงค์” มอบให้ท่านผู้หญิงพูนศุข เป็นของขวัญในวันแต่งงาน (ใส่ติดนิ้วจนวาระสุดท้าย)

14192618_1382143188479690_3867240410443003589_n

อาจารย์ดุษฎี พนมยงค์ ธิดา ของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เล่าไว้ว่า

เมื่อคุณพ่อ (นายปรีดี พนมยงค์) จบปริญญาเอกจากฝรั่งเศสกลับมาเมืองไทย ก็มาอยู่ทีบ้านป้อมเพชร์

ช่วงนั้น คุณตาคุณยายมีลูกสาวเหลืออยู่ 7 คน (เสียชีวิตแต่เยาว์วัย 1 คน) คนโตออกเรือนไปแล้ว ลูกสาวรุ่นโตกำลังอยู่ในวัยสะพรั่ง

คุณพ่อหมายปองคุณแม่ ซึ่งขณะนั้นมีอายุแค่ 17 ปี กำลังเรียนชั้น Standard 7 ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

ท่านเล่าให้ฟังในภายหลังว่า ถูกใจคุณแม่ (ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์) ที่ดูเป็นคนฉลาดเฉลียว ติดตามรับใช้คุณตาคุณยายอย่างใกล้ชิด ได้มีโอกาสรับรู้เรื่องราวที่เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์หลายแผ่นดิน และมีความจำเป็นเลิศ ส่วนความสวยก็ไม่เป็นรองพี่น้องคนอื่นๆ

คุณพ่อก็รวบรวมความกล้าไปขอร้องให้คุณปู่ (นายเสียง พนมยงค์) เดินทางมาจากพระนครศรีอยุธยาเพื่อมาสู่ขอคุณแม่กับคุณตาคุณยาย

14199436_1382143235146352_1366100957722693864_n
แหวนที่คุณพ่อให้เป็นของขวัญในวันแต่งงาน (คุณแม่ใส่ติดนิ้วจนวาระสุดท้าย)

คุณพ่อเล่าว่า ในวันที่มาสู่ขอ รู้สึกตื่นเต้นและมีความเกรงใจคุณตาคุณยายมาก คิดดูง่ายๆ ว่าฐานะทางสังคมระหว่างคุณพ่อกับคุณแม่ต่างกันอยู่พอสมควร

ส่วนคุณตาคุณยายก็เป็นคนมองการณ์ไกล เห็นว่าคุณพ่อเป็นคนดี ซื่อสัตย์ ฉลาด เรียนเก่ง มีความรู้ ตั้งใจทำงาน จึงยอมยกคุณแม่ให้คุณพ่อโดยไม่เรียกค่าสินสอดทองหมั้นใดๆคุณพ่อได้รวบรวมเงินที่ได้จากธุรกิจโรงพิมพ์นิติสาส์น ซึ่งเป็นโรงพิมพ์เล็กๆ โรงเดียวที่พิมพ์ตำรากฎหมายในสมัยนั้น นำไปซื้อแหวนเพชรเม็ดงามน้ำหนักกว่าหนึ่งกะรัตให้คุณแม่เป็นแหวนหมั้น

ก่อนแต่งงาน คุณพ่อได้รับอนุญาตจากคุณตาคุณยาย ให้พาคุณแม่ไปเที่ยวกันสองต่อสอง (สมัยนี้เรียกว่า “”ออกเดต””) ครั้งเดียว คือไปดูละครที่พระราชวังสราญรมย์

เรียบเรียงจาก มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13 – 19 ม.ค. 2559
เขียนโดย ดุษฎี พนมยงค์ ใน ใจคะนึง (2) ตำนาน 100 ปี ชีวิตท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์