จุดยืน หลังรถตุ๊กตุ๊ก : จากป้ายโปรโมตศิลปินเกาหลี สู่การประท้วง “ประยุทธ์”

(Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)

กลุ่มทะลุฟ้าสร้างปรากฏการณ์ใหม่ใช้พื้นที่รถตุ๊กตุ๊ก ติดป้ายประท้วงประยุทธ์ จันทร์โอชา

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ Free Youth ได้จัดการชุมนุม ใหญ่เพื่อเสนอข้อเรียกร้องต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมี 3 ข้อหลัก ได้แก่ 1.ยุบสภา 2.หยุดคุกคามประชาชน และ 3.ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในเดือนถัดมาวันที่ 16 สิงหาคม 2563 คณะประชาชน ปลดแอก หรือ Free People ก็ได้จัดชุมนุมครั้งใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยโดยมีประชาชนทุกเพศทุกวัย ตา่งเดินทางมาเข้าร่วมการชุมนุม

แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้นำไปสู่ปรากฏการณ์การแสดงออกเชิง สัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมีศิลปะและสร้างสรรค์ผ่านการชุมนุมของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการชูสาม นิ้ว การผูกโบว์ขาว การชูป้ายขาว หรือแม้แต่การเสกคาถาผู้พิทักษ์จากภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์

โดยแพรวพรรณ ปานนุช และอัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว อธิบายว่า ในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง มีองค์ประกอบหลาย ปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นปัญหา การรวมกลุ่ม ยุทธวิธีการต่อสู้ รวมทั้งการสร้างสัญลักษณ์ ซึ่งจะ แตกต่างกันไปตามแนวทางของกลุ่ม และพบว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ หน้ากาก กาย ฟอว์กส์ หรือ Guy Fawkes ก็ เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่หลายประเทศทั่วโลกได้นำมาใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองรวมทั้งประเทศไทยด้วย

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 กลุ่มทะลุฟ้า หรือ Thalufah ก็ได้สร้างปรากฏการณ์การ แสดงออกทางการเมืองในรูปแบบใหม่อีกครั้ง นั่นก็คือ “ขบวนแห่รถตุ๊กตุ๊ก” กว่า 20 คัน พร้อมติดป้าย ข้อความ “ไล่ประยุทธ์หยุดทุนผูกขาด” ซึ่งรูปแบบดังกล่าวครั้งหนึ่งเคยถูกนำมาใช้สำหรับการโปรโมตศิลปนิที่ ชื่นชอบของกลุ่มแฟนคลับต่าง ๆ อย่างป้ายสุขสันต์วันเกิด เพื่อมอบความสุขให้กับศิลปินและกลุ่มแฟนคลับ ของตนเองจนกลายเป็นไวรัล อีกทั้งยังเป็นการช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยอีกด้วย

กลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีหันมาเช่าป้ายประชาสัมพันธ์กบัรถตุ๊กตุ๊กแทน

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยทำให้แฟนคลับศิลปินเกาหลีบางกลุ่ม มองเห็นถึงปัญหาการจัดการการแพร่ระบาดโควิด-19 ของรัฐบาล และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแข่งขันชกมวยที่ลุมพินีแชมเปี้ยนเกียรติเพชร จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด ผู้ติดเชื้อกว่า 160 ราย จนกระจายไปทั่วกรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดในประเทศไทย ปัญหาหน้ากาก อนามัย และปัญหาวัคซีนโควิด-19 รวมไปถึงปัญหานโยบายบริหารจัดการของรัฐบาลเอง

(Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)

นอกจากนี้ ในช่วงที่มีการจัดชุมนุมแฟลชม็อบก็มีการออกคำสั่งโดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ว่าห้าม ไม่ให้ใช้หรือเข้าไปในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน รวมทั้งทางเชื่อมสกายวอล์ก ซึ่งสร้างความ เดือดร้อนและความไม่พอใจให้กับประชาชนหลายฝ่าย

ดังนั้น ด้านกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีบางกลุ่มที่ให้ ความสนใจทางการเมืองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จากเดิมที่เคยใช้บริการเช่าป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับศิลปินเกาหลีตามสถานีรถไฟฟ้าต่าง ๆ จึงได้ทำการรณรงค์งดเช่าป้ายประชาสัมพันธ์ทุกสถานี เพราะการกระทำของ หน่วยงานรถไฟฟ้าดังกล่าว ถือว่าไม่ให้การสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง รวมถึงการอำนวยความสะดวก ให้กับผู้ใช้บริการ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีบางกลุ่มจึงหันมาใช้วิธีการเช่าป้ายประชาสัมพันธ์กับ รถตุ๊กตุ๊กแทน เพื่อปฏิเสธนายทุนและเพื่อช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยมีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วง สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

จากป้ายศิลปินเกาหลีสู่ป้ายระดับผู้นำประเทศ

หลายคนอาจจะเคยสังเกตเห็นป้ายสุขสันต์วันเกิดศิลปินเกาหลีที่รถตุ๊กตุ๊กวิ่งไปทั่วกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา กลับมีป้ายประสัมพันธ์ที่รถตุ๊กตุ๊กเช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่ได้ เกี่ยวข้องกับศิลปินเกาหลีหรือมีป้ายข้อความสุขสันต์วันเกิดแต่อย่างใด แต่กลับเป็นป้ายที่ปรากฏภาพบุคคล สำคัญของประเทศไทย นั่นก็คือ “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี พร้อมติดป้ายข้อความว่า “ไล่ ประยุทธ์หยุดทุนผูกขาด” และยังมีป้ายข้อความอื่น ๆ มากมาย ได้แก่ “หยุดขายชาติ คืนอำนาจให้ประชาชน” “Stop Green Washing!” “Prayuth Get out Stop Monopoly” และ “ราษฎร หยุด APEC 2022” โดยผู้ จัดกิจกรรมนี้ คือกลุ่มทะลุฟ้า นั่นเอง

โดยบัญชีทวิตเตอร์ของกลุ่มทะลุฟ้าได้ทวิตข้อความว่า “กิจกรรมในครั้งนี้ เกิดจากการที่กลุ่มทะลุฟ้า ต้องการที่จะส่งเสียงถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นำเผด็จการและรัฐไทย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC 2022 รวมไปถึงประชาชน เพื่อให้รับรู้ว่าการประชุมที่ไทยกำลังเข้าร่วมครั้งนี้ มีเพียงคนจากฝ่ายรัฐบาล และคณะกรรมการ ซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มทุนรายใหญ่ที่ผูกขาดการตลาดไทย โดยอ้างแผนโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาเป็นเครื่องมือฟอกเขียวและเอื้อให้กลุ่มอุตสาหกรรมและผู้ก่อมลพิษสามารถเดินหน้าปล่อยก๊าซเรือน กระจกต่อไปได้ รวมไปถึงข้อตกลงจะมีผลผูกมัดไทยให้อยู่ในสภาวะที่อาจถูกกดดันจากต่างประเทศในการ ดำเนินนโยบายให้ผลประโยชน์กับนายทุนเพียงอย่างเดียว โดยที่ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงหรือได้รับ ประโยชน์ต่าง ๆ ได้”

(Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)

จากกิจกรรมของกลุ่มทะลุฟ้าดังกล่าว จึงสะท้อนให้เห็นว่าจากป้ายประชาสัมพันธ์ที่เคยถูกนำมาใช้ใน บริบทการโปรโมตศิลปินเกาหลีของกลุ่มแฟนคลับ แต่มาวันนี้กลับถูกนำไปใช้ในทางการเมือง นับว่ายังไม่เคยมี ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่มี ประสิทธิภาพ เนื่องจาก ขบวนแห่รถตุ๊กตุ๊กของกลุ่มทะลุฟ้านี้ จะเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มุ่งหน้าสู่ สะพานปิ่นเกล้า แยกจรัญสนิทวงศ์ แยกท่าพระ วงเวียนใหญ่ ไอคอนสยาม สะพานตากสิน แยกสาทร แยกสี ลม แยกสามย่าน หอศิลป์ และสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

(Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)

อ้างอิง

แพรวพรรณ ปานนุช และอัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2563). บทบาทของสัญลักษณ์ หน้ากาก กาย ฟอว์กส์ ในการ เคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย. วารสารการเมืองการปกครอง , 10 (1), 16-33.
นิรัสกร พินทุวัฒนะ. (2563). กลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีและพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมือง. คณะ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.