9ปีแห่งความสำเร็จ ‘ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ’ ผลงาาและเส้นทางก่อนอำลาตำแหน่งเลขาธิการ กสทช.

พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ กสทช.ไปแล้วตั้งแต่ปลายเดือน
มิถุนายนที่ผ่านมา แต่ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ยังรู้สึกเป็นปลื้มหัวใจพอง
โตเมื่อได้เล่าให้บรรดาเพื่อนสนิทมิตรสหายถึงบรรยากาศงานที่มีชื่อ
ว่า “มุทิตาจิตฯ เพื่ออำลาและแสดงความระลึกถึงกัน” ซึ่งพนักงาน
ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดเชิดชูเกียรติอย่างยิ่งใหญ่ “9 ปีแห่งความสำเร็จ” เป็นป้ายประกาศที่ติดเป็นระยะๆ ตลอดทางเดินใน
อาคารสำนักงาน กสทช. พร้อมๆ กับพนักงาน กสทช.จากทุกสำนักร่วมกันยื่นดอกกุหลาบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ความรักห่วงใยและเป็นกำลังใจให้ “ฐากร” ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่งก่อนเกษียณอายุราชการ 60 ปี ในเดือนกันยายน

⦁“ฐากร” เข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษของคณะกรรมการกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เมื่อปี 2548 เวลานั้น ประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชาใช้เทคโนโลยี 3จี กันแล้ว แต่เมืองไทยยังเป็นแค่ 2จี จนกระทั่งเมื่อปี 2555 กทช.แปลงโฉมกลายเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า กสทช. “ฐากร” ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการ กสทช.คนแรก ปีแรกที่รับงาน “ฐากร” เข้าไปมีส่วนร่วมจัดประมูลคลื่น 3จี
ถือเป็นการประมูลด้านโทรคมนาคมของไทยครั้งแรกที่ “ประสบความ
สำเร็จ” เพราะไม่เพียงเปลี่ยนโครงสร้างจากระบบสัมปทานมาเป็น
ระบบประมูลใบอนุญาต ดึงรายได้เข้ารัฐโดยตรงกว่า 4.4 หมื่นล้าน
บาทเท่านั้น หากยังเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย
ที่ล้าหลังนานาประเทศมานานถึง 10ปี

การเปลี่ยนผ่าน 2จี มาสู่ 3จี ทำให้คนไทยใช้โทรศัพท์ในราคาถูก
ลง มีการทำธุรกิจผ่านระบบออนไลน์สร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจ
ไทยอย่างมาก อีกทั้งผู้คนหันมาใช้โซเชียล เน็ตเวิร์กติดต่อสื่อสารด้วยความสะดวกรวดเร็ว ปี 2558 สำนักงาน “กสทช.จัดประมูลคลื่น 4จี”ถือเป็นการประมูลด้านโทรคมนาคมครั้งประวัติศาสตร์ของไทย เพราะแข่งประมูลยาวนานถึง “5 วัน 4 คืน” ผู้เข้าร่วมประมูลสู้ราคากันสุดฤทธิ์สุดเดช สร้างรายได้เข้ารัฐกว่า 316,523.12 ล้านบาท สื่อและองค์กรด้านการตรวจสอบ “แสดงความชื่นชม” ว่าเป็นการประมูลที่ “โปร่งใส” ที่สุดในรอบ 100 ปี ระหว่างปี 2559-2562 สำนักงาน กสทช.จัดประมูลเบอร์สวยทำรายได้เข้ารัฐราว 300 ล้านบาท ในช่วงเดียวกัน “ฐากร” ผลักดันโครงการ “นำสายสื่อสารลงดิน” ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เฉพาะใน กทม.มีสายลงดินแล้ว 160 กิโลเมตร ใครผ่านเส้นทางถนนพหลโยธิน พญาไท สุขุมวิท มองทิวทัศน์รอบๆ จะรู้สึกโล่งสบายตาขึ้นอย่างมากเพราะไม่มีสายเคเบิล“รกรุงรัง” ให้เกิดทรรศนะอุจาดเหมือนเก่าก่อน

⦁การประมูลคลื่น 4จี ยังมีต่อเนื่องอีก 2 ครั้ง ใน “ปี 2561” ทำ
รายได้ให้รัฐอีก 3 หมื่นกว่าล้านบาท และทำให้ธุรกรรมออนไลน์เชื่อมเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเติบโตชนิดก้าวกระโดด มีผู้ยื่นขอใช้เลขหมายโทรศัพท์จากเดิมในยุค 2จี 80 ล้านเลขหมาย พุ่งเป็น 120 ล้านเลขหมาย มาใน “ปี 2562” สำนักงาน กสทช.จัดประมูลโครงการยูโซ่เน็ต ขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าถึงหมู่บ้านห่างไกลและพื้นที่ทุรกันดารทั่วประเทศ ปัจจุบันประชาชนเกือบ 2 หมื่นหมู่บ้าน ได้ใช้เทคโนโลยีสื่อสารช่วย “ลดช่องว่าง” ความเหลื่อมล้ำ “ปลายปี 2562” สำนักงาน กสทช.ประกาศจัดประมูล คลื่น 5จี ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากโอเปอเรเตอร์ที่ชนะการประมูลคลื่น 4จี เพราะเพิ่งหว่านเงินลงทุนนับเป็นแสนล้านบาทเพื่อวางโครงข่ายทั่วไทยได้ไม่นานนัก
เวลานั้น ไม่มีใครเชื่อว่าการประมูล 5จี จะประสบผลสำเร็จและไทย
จะเป็นผู้นำเทคโนโลยี 5จี มาวางพื้นฐานทางโทรคมนาคมเป็นอันดับ
ต้นๆ ของโลกเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ด้านการ
ศึกษา การแพทย์สาธารณสุขอย่างที่ “ฐากร” ตั้งเป้าหมายไว้ แต่เมื่อถึงวันประมูล 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีโอเปอเรเตอร์ 5 ราย ยื่นประมูลแข่งราคาอย่าง “คึกคัก” สามารถกวาดเงินรายได้เข้ารัฐอีก 1 แสนล้านบาทเศษ

⦁…วันนี้ คลื่นความถี่ของประเทศไทย ที่สามารถนำไปใช้งานทั้ง
“3จี 4จี และ 5จี” รวมกันแล้วมีมากถึง 3,420 เมกะเฮิรตซ์ เป็น
ปริมาณคลื่นความถี่สูงกว่ามาตรฐานที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่าง
ประเทศหรือไอทียูกำหนดไว้ ขณะที่ “คลื่น 5จี” ของไทย ใช้งานในเชิงพาณิชย์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน และยังนำมาใช้ร่วม
กับ “คลื่น 4จี” เพื่อรองรับการสื่อสารและการทำงานในบ้านระหว่าง
เกิดวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ฐากร” ขึ้นไปกล่าวบนเวทีปิดท้ายงานอำลาในวันนั้นว่า “ผมไม่ใช่คนเก่ง แต่เป็นคนกล้าตัดสินใจ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานจะกลายเป็นความสามารถของเรา สิ่งสำคัญ กสทช.อยู่ในสายเลือดของผม ไม่สามารถลบเลือนไปจากความทรงจำได้”