ย้อนรอย 5 ปี งบประมาณฯ เจาะ3กระทรวงสำคัญ! ตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามาเป็นนายกฯ

ย้อนรอย 5 ปี งบประมาณฯประจำปีตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการพูดถึงงบประมาณในปี 2563 ที่มีหลายประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดกรอบงบประมาณต่างๆที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะล่าช้ากว่ากำหนด
ย้อนไปในวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมฯว่า ที่ทำเนียบรัฐบาล ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ, สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, และธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติเห็นชอบในการกำหนดกรอบวงเงินในปี 2563 ที่ผ่านมา งบประมาณที่เสนอเป็นเงินจำนวน 3.22 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้รัฐบาลสุทธิที่จัดเก็บจากเดิมที่ประมาณการไว้ ตั้งแต่ต้นปีที่ได้เสนอไปเป็นจำนวนเงิน 2.75 ล้านล้านบาท และคงเหลือจากเดิมที่ประมาณการไว้ 2.31 ล้านล้านบาท ทำให้งบประมาณที่ตั้งไว้ลดลงถึง 1.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งต้องจัดทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 469,000 ล้านบาท จากเดิม 450,000 ล้านบาท โดยมีหน่วยงานของภาคภาครัฐที่ยื่นคำขอของงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี


หากจำแนกหน่วยงานทั้งหมดที่ภาครัฐจะให้มี 32 หน่วยงาน โดยแยกย่อยออกมาในแต่ละหน่วยงานที่จะได้จำแนกเป็นดังนี้ สํานักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงการคลังและหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และ หน่วยงานในกํากับ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงาน ในกํากับ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและ หน่วยงานในกํากับ, กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงแรงงาน, กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงาน ในกํากับ, กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานในกํากับ, กระทรวงอุตสาหกรรม, ส่วนราชการไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง, หน่วยงานของรัฐสภา, หน่วยงานของศาล, หน่วยงานอิสระของรัฐ, งบประมาณฯของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด, รัฐวิสาหกิจ, สภากาชาดไทย, กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน เป็นในส่วนที่ภาครัฐต้องจ่ายให้

หากย้อนไปในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเริ่มตั้งแต่สมัยที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี มีการปรับงบประมาณเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี ถ้าลองไล่ย้อนมาตั้งแต่ปี 2558 – 2562 ทำให้มีการขาดดุลรายได้ในแต่ละปีเป็น ล้านล้านบาท ทำให้ในแต่ละปีรัฐบาลมีภาระหนี้สินสาธารณะที่จะต้องจ่ายในแต่ละปีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
.
ย้อนไปในปี 2558 มีการกำหนดวงเงินงบประมาณ ตามพระราชบัญญัติ ที่บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และได้มีการตั้งงบประมาณฯกลาง ในความควบคุมของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณให้ตั้งเป็นจำนวน 2,575,000,000,000 บาท มีดุลงบประมาณ 250,000 ล้านบาทโดยถ้านับกระทรวงที่เด่น ๆ ที่ถูกจับตามองมากที่สุด ได้แก่ กระทรวงกลาโหม, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น โดยจำแนกงบประมาณฯที่ภาครัฐจะให้กับ 3 กระทรวงดังนี้ 1.กระทรวงกลาโหมมีการตั้งงบประมาณฯ จำนวน 193,066 ล้านบาท 2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 80,999 ล้านบาท 3. กระทรวงศึกษาธิการ 501,326 ล้านบาท ซึ่งในปี 2558 รัฐบาลมีหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 มีจำนวน 5,783,323.19 ล้านบาท โดยรวมหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้น ทั้งหมดที่ยังคงค้าง

ปี 2559 มีการกำหนดวงเงินงบประมาณฯ ตามพระราชบัญญัติ ที่บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้ตั้งงบประมาณฯเป็นจำนวน 2,720,000,000,000 บาท มีดุลงบประมาณ 390,000 ล้านบาท จำแนก 3 กระทรวงดังนี้ 1.กระทรวงกลาโหม 206,461 ล้านบาท 2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 86,403 ล้านบาท 3. กระทรวงศึกษาธิการ 517,076 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้มีหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2559 จำนวน 6,050,595.88 ล้านบาท

ปี 2560 มีการกำหนดวงเงินงบประมาณฯ ตามพระราชบัญญัติ ที่บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้ตั้งงบประมาณฯเป็นจำนวน 2,733,000,000,000 บาท มีดุลงบประมาณ 552,000 ล้านบาท จำแนก 3 กระทรวงดังนี้ 1. กระทรวงกลาโหม 213,544 ล้านบาท 2.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 52,639,737,900 บาท 3.กระทรวงศึกษาธิการ 493,145 บาท ซึ่งในปีนี้มีหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 จำนวน 6,369,331.31 ล้านบาท

ปี 2561 มีการกำหนดวงเงินงบประมาณฯ ตามพระราชบัญญัติ ที่บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ได้ตั้งงบประมาณฯเป็นจำนวน 2,900,000,000,000 บาท มีดุลงบประมาณ 450,000 ล้านบาท จำแนก 3 กระทรวงดังนี้ 1. กระทรวงกลาโหม 222,437 ล้านบาท 2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 103,103,586 ล้านบาท 3.กระทรวงศึกษาธิการ 510,962 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้มีหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 จำนวน 6,780,953.22 ล้านบาท

ปี 2562 การกำหนดวงเงินงบประมาณ ตามพระราชบัญญัติ ที่บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้ตั้งงบประมาณฯเป็นจำนวน 3,000,000,000,000 บาท จำแนก 3 กระทรวงดังนี้ 1. กระทรวงกลาโหม 227,126 ล้านบาท 2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 108,539 ล้านบาท 3. กระทรวงศึกษาธิการ 489,799 บาท และในส่วนของงบประมาณที่เบิกจ่ายเพิ่มในปีนี้ยังไม่ปรากฏแน่ชัด ซึ่งในปีนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีจํานวณ 6,883,189.13 ล้านบาท
.
ทั้งนี้ในช่วง 5 ปีที่ ตั้งแต่ปี 2558 – 25562 ทำให้เห็นว่า การกำหนดงบประมาณฯของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นทุกปีทำให้สูงกว่าวงเงินรายได้ ทำให้รัฐบาลจะต้องมีการดำเนินนโยบายงบประงบประมาณขาดดุลมาอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละปีที่มีการกำหนดงบประมาณ รัฐบาลจึงมีการก่อหนี้สินสาธารณะก็เพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อที่จะให้รัฐบาลมีเงินเพียงพอต่อกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งในอนาคตอาจจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆถ้างบประมาณรายได้ของภาครัฐไม่เพียงพอ