ก่อนกาลล้านนา “ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชย” ตรงกับมาฆบูชา ไม่ใช่วันวิสาขบูชา ?

เพ็ญสุภา สุขคตะ

ทำไมถึงมาถามกันแบบนี้เล่า?
ก็รู้ๆ กันอยู่มิใช่หรือว่างานสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชย ถือเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ และมีขึ้นในวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แต่สำหรับชาวเหนือนั้น นับเดือนล่วงหน้าไปก่อนสองเดือน จึงตกเอาเดือน 8 จึงนิยมเรียกกันว่า “วันแปดเป็ง” (เป็งก็คือวันเพ็ญ)


กรณีการสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชยในวันวิสาขบูชานี้ มีมาแต่โบราณกาลก่อนหรือเช่นไร คำตอบคือ ไม่ใช่ เนื่องจากนักจารึกวิทยา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวรรณกรรมล้านนาท่านหนึ่ง คือ “ดร.ชัปนะ ปิ่นเงิน” ได้ค้นพบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับวันสรงน้ำพระธาตุจาก “โคลงนิราศหริภุญไชย” ว่าไฉนจึงเป็นวันมาฆบูชา?
พลันโยนคำถามสู่หมู่นักวิชาการท้องถิ่นล้านนาว่า แน่ใจหรือว่าประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชยเมื่อ 500 ปีก่อนมีขึ้นในวันวิสาขบูชา?

.

โคลงนิราศหริภุญไชย โคลงนิราศเก่าแก่ที่สุดในสยาม
โคลงนิราศหริภุญไชย รจนาโดยกวีในราชสำนักล้านนาผู้หนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2060 หมายความว่า 2 ปีที่แล้วงานวรรณกรรมโบแดงชิ้นนี้มีอายุครบ 500 ปีพอดี
กล่าวกันว่าผู้แต่งเป็นกวีนิรนาม โดยมีข้อสังเกตว่า มักมีการขนานสรรพนามหนึ่งว่า “ทิพ” “พระทิพ” หรือ “ศรีทิพ” อยู่เนืองๆ โดยที่ผู้อ่านส่วนใหญ่บังเกิดความสับสนอยู่นานหลายปีว่า “ทิพ” คือชื่อของตัวกวีเอง หรือว่าเป็นนามของหญิงสาวที่เอ่ยถึงกันแน่

.
กระทั่ง ศาสตราจารย์อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ภาคีราชบัณฑิต ปราชญ์คนสำคัญของล้านนา ได้ทำการสืบค้นวิเคราะห์อย่างละเอียดจนได้คำตอบว่า ผู้รจนาโคลงนิราศหริภุญไชย ที่แท้คือ “มหาอำมาตย์ศิริยวาปี” ชายคนรักของพระมหาเทวีสิริยศวดี (โป่งน้อย) พระราชมารดาของพระเมืองแก้ว ตามที่เคยเสนอในเวทีสัมมนาระดับนานาชาติ “ไทศึกษาครั้งที่ 13” ที่เชียงใหม่ไปแล้วนั้น


เนื้อความในโคลงนิราศหริภุญไชย เลาถึงการเดินทางของกวีดวยกองเกวียนจากเชียงใหมไปนมัสการพระธาตุหริภุญไชยที่นครลําพูนในเทศกาลไหวพระธาตุ ซึ่งประเด็นนี้น่าสนใจยิ่งนัก เพราะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชา

.
กวีเริ่มตนดวยการกลาวถึง นางอันเปนที่รัก เหตุที่ตองจากไป พรรณนาฉากชมนกชมไม้ เน้นต้นทองกวาว และต้นตะเคียนทองชูช่อสีส้มแสดปลิวไสว ตลอดสองข้างทางจากเชียงใหมจนถึงลําพูน
โดยปกติทองกวาวนี้จะบานสะพรั่งช่วงปลายฤดูหนาวต่อหน้าแล้งคือระหว่างธันวาคม-กลางมีนาคม ส่วนตะเคียนทองก็ออกดอกเฉพาะในช่วงคิมหันตฤดูราวเดือนมีนาคม-เมษายน

.
กวีผานสถานที่สําคัญหลายแห่งของเชียงใหมแลวพักนอน 1 คืน รุงเชาออกเดินทางตอถึงลําพูน เพื่อไหวพระธาตุหริภุญไชย ตกกลางคืนเที่ยวชมดูฟอนรํา ดนตรี มหรสพในงานบุญ จากน้ันไปไหวพระพุทธรูปยืน 4 องค์ ณ วัดพระยืน (ฝั่งตำบลเวียงยองฟากตะวันออกของลำน้ำแม่กวง) แลวกลับมายังวัดพระธาตุหริภุญไชยอีกครั้ง


ครั้งหลังนี้กวีไดพรรณนาว่า “พระราชโอรส” (คือพระเมืองแก้ว) ของกษัตริย์ (พระมหาเทวีถือเป็นกษัตรีย์คู่กับพระราชโอรส) ที่เสด็จมาบูชาสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญไชยด้วย

.
จุดเด่นของโคลงนิราศหริภุญไชย ในสายตาของนักวรรณกรรม ก็คือการเป็นโคลงนิราศที่เก่าแก่ที่สุดบนแผ่นดินสยาม และน่าจะส่งอิทธิพลหรือสร้างแรงบันดาลใจให้แก่โคลงกำสรวลสมุทรสมัยอยุธยาตอนต้นอีกด้วย

ปริศนาวันเพ็ญเดือนผลคุน?
ประเพณีสรงน้ําพระธาตุหริภุญไชย กับพระธาตุดอยสุเทพ ปัจจุบันกำหนดให้มีขึ้นในวันแปดเป็ง หรือวันวิสาขบูชา อันเปนวันประสูติ ตรัสรู และปรินิพพานของพระพุทธเจา ชาวลานนาจากทั่วทุกสารทิศนิยมเดินทางแสวงบุญดวยการไปไหวพระธาตุทั้งสององค์นี้


ทว่าในโคลงนิราศฯ กวีไดพรรณนาถึงวันที่ออกเดินทางจากเมืองเชียงใหมสู่ลำพูน ไววา
บุณณมีมาสเมื้อ ผลคุณ
ขงเขตรในนพบุร ยกยาย
เดินถวิลแหงหริภุญ ชัยเชษฐ ชิดแฮ
นบธาตุพระเจาผาย แผนคอมคุงชเล (ฉบับหอสมุดแหงชาติ)
หรืออีกสำนวนหนึ่ง
ปุณณมีวรมาสมื้อ ผลคุน ออกเอ
ขงเขตนพบุญ โยดยาย
เดินถวิลแหงหริภุญ เชยยะเชษฐ ชิดเอ
นบพระธาตุเจาผาย แผนคอมคลุงทเล (ฉบับลําพูน)
เนื้อความบรรยายถึงวันออกเดินทางวา เปนวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ํา เดือน 6 เหนือ
ปุณฺณมี แปลว่า ดิถีเพ็ญหรือวันพระจันทรเต็มดวง
มาส แปลว่า เดือน
ผลคุน หรือ ผาลคุน บางครั้งใช้ ณ สะกด ภาษาบาลีหมายถึงเดือน 4 ภาคกลาง หรือเดือน 6 เหนือ ตกในราวเดือนมีนาคม
โดยอาจารย์ชัปนะ ทำตารางเทียบเดือนไว้ดังนี้
ภาคกลาง ภาคเหนือ เดือน (ป.-ส.)
เดือน 5 7 จิตร
6 8 วิสาข
7 9 เชษฐ
8 10 อาสาฬห
9 11 ศราวณ
10 12 ภัทรบท
11 เจียง อัศวยุช
12 ยี่ กัตติก
1 3 มิคสิร
2 4 บุษย
3 5 มาฆ
4 6 ผลคุน

การที่กวีเดินทางไปสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชยในเดือนผลคุน ซึ่งไมตรงกับประเพณีไหวพระธาตุในปัจจุบัน คือวันวิสาขบูชา แต่กลับเป็นการกระทำก่อนล่วงหน้าถึงสองเดือนนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่าขบคิดไม่น้อย
หากวันเวลาที่กวีกล่าวถึงในเดือนผลคุน (มีนาคม) ช่วงที่ดอกทองกวาวและตะเคียนทองบานพราวไสวพร้อมกันนั้นตรงกับวันมาฆบูชา ก็น่าแปลกทีเดียว ในเมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น (กุมภาพันธ์) ก็มีชื่อเดือนที่เรียกว่า มาฆมาสอยู่แล้ว


เป็นที่รู้กันดีว่าวันมาฆบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 (เดือน 5 เหนือ) ไม่ใช่เดือน 6 เหนือ
ยกเว้นกรณีเดียวที่วันมาฆบูชาจะเลื่อนออกไป 1 เดือนตรงกับเดือนผลคุน นั่นคือหากปีนั้นเป็นปีอธิกมาส หรือเรียกแบบชาวบ้านว่าปีที่มีเดือนแปดสองหน
หรืออาจเป็นไปได้ว่าปี 2060 ช่วงที่กวีรจนาโคลงนิราศหริภุญไชยนั้นตรงกับปีอธิกมาสพอดี ทำให้วันมาฆบูชาเลื่อนไปอยู่เดือนมีนาคม

.
แม้กระนั้น การสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชยในวันมาฆบูชา ก็ยังเป็นที่คลางแคลงใจชาวล้านนาอยู่ดี
ว่าทำไมเจ้านายฝ่ายเหนือเมื่อกาลก่อนจึงเลือกเดินทางไปสรงน้ำพระธาตุในวันมาฆบูชา
แล้วใครมากำหนดเปลี่ยนใหม่ให้เป็นวันวิสาขบูชาด้วยเหตุผลใด ตั้งแต่เมื่อไหร่


เราไม่ควรมองข้ามว่า ยังมีพระธาตุเจดีย์ในล้านนา โดยเฉพาะในเขต “ล้านนาตะวันออก” อีกหลายองค์ที่กำหนดวันสรงน้ำตรงตามกับที่โคลงนิราศหริภุญไชยระบุไว้ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ (ผลคุน) ปฏิบัติสืบต่อกันมาเช่นนี้ โดยที่ไม่เกี่ยวข้องอันใดกับปีอธิกมาส ทั้งๆ ที่ไม่ตรงกับวันมาฆบูชาหรือวิสาขบูชา
นั่นคือ พระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง ที่แม่สาย เชียงราย พระธาตุช่อแฮ ที่แพร่ และพระธาตุแช่แห้ง ที่น่าน
หรือว่าแท้จริงแล้ว ประเพณีการสรงน้ำพระธาตุในอดีตทุกแห่งเคยกำหนดไว้ในเดือนผลคุน เนื่องจากเป็นฤดูกาลแห่งการผลัดเปลี่ยนจากความหนาวแล้งมาสู่กระไอร้อน เป็นช่วงที่อากาศทรมานที่สุดในรอบปี สมควรกระทำการสรงน้ำให้พระบรมสารีริกธาตุได้ชุ่มเย็น?


ทว่าปัจจุบัน ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลก ชาวล้านนาตะวันตก (เชียงใหม่ ลำพูน) อาจเห็นว่าวันวิสาขบูชาคือวันสำคัญที่สุดในรอบปี จึงสมควรสรงน้ำพระธาตุในวันนั้นเพื่อรำลึกถึงพระพุทธองค์
ในขณะที่ชาวล้านนาตะวันออก (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) ยังคงรักษาวันเวลาดั้งเดิมไว้ได้

.
เรื่องนี้เห็นทีไม่จบกันง่ายๆ ยังต้องศึกษาค้นคว้ากันอีกยาว!

.

จากคอลัมน์ ปริศนาโบราณคดีตอนที่ 69