คิดว่าเป็นหนังสืองานศพของเผด็จการ สนทนา ‘พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์’ ผู้เขียน “เผด็จการวิทยา”

“พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์” รัฐศาสตร์จุฬาฯ ได้คลอดหนังสือน่าอ่านเล่มล่าสุด “เผด็จการวิทยา” ที่มีเนื้อหาเข้มข้นและเก็บข้อมูลตอลด4ปีนำมาร้อยเรียงอย่างเป็นระบบ

อ.พิชญ์เล่าว่าหนังสือเล่มนี้อ่านไว้ก็ เตือนใจตัวเองบ้าง หรือจะซื้อไว้ให้มันเป็น คิดว่าเป็นหนังสืองานศพ ของเผด็จการ ก็ได้นะครับเวลาเขาไป จะได้ระลึกถึงเขา แต่ว่าจริงๆแล้ว ผมไม่ได้เขียนเพื่อวิจารณ์ เผด็จการนะ เวลาคุณอ่านคุณจะเห็นว่า อย่าไปมองว่าเผด็จการเป็นเรื่องของความงี่เง่า เป็นเรื่องบ้าเรื่องที่ผิด ให้มองว่าเรื่องของเผด็จการมันมีตรรกะ ของมันยังไงในบางเรื่องทำไมถึงได้คิดอย่างนั้น

ถ้าเราไม่มองเผด็จการอย่างจริงเอาจัง ไม่จริงจังกับการเข้าใจเผด็จการสิ่งที่มันจะตามมาก็คือ คนจะต่อสู้กับเขาโดยที่ไม่รู้ ว่าเขาเป็นอย่างไรและคุณก็จะไม่เข้าใจเขาว่าการสู้ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องไปไล่โค่นล้มอย่งเดียวคือคุณต้องสามารถต่อรองได้ สร้างการเปลี่ยนผ่าน การเข้าสู่ประชาธิปไตยอย่างมีคุณภาพ

ถ้าคุณอ่านหนังสือเล่มนี้ ผมไม่เคยสรรเสริญว่าประชาธิปไตย เป็นเป๊ปซี่ที่ดีที่สุด ตลอดเวลานะครับ ประชาธิปไตย มันก็ต้องมีข้อจำกัดของมัน

ฉะนั้นคุณต้องอ่านและรับรู้ข้อจำกัดของประชาธิปไตยด้วยและถ้าจะทำให้ประชาธิปไตย ดีขึ้นมันมีเงื่อนไขอะไรที่จะต้องนำมาพิจารณาบ้าง จะได้เข้าใจเผด็จการมากขึ้น

แล้วก็บางครั้งมันก็เหมือนแมลงสาบ คุณไม่ชอบแมลงสาบ แต่คุณก็ต้องอธิบายนาโตมี่ ของแมลงสาบ พฤติกรรมของแมลงสาบ คุณก็ต้องเข้าใจว่าทำไมบางคนเชิดชูหรือร้องหาแมลงสาบ อยู่ตลอดเวลา ฝันถึงแมลงสาบ รู้สึกแมลงสาบปกครองแล้วมันดีใช่ไหมฮะ มันก็มี

ฉะนั้นโฟกัสให้ชัดเจน ว่าเรากำลังทำความเข้าใจ กับระบอบที่เป็นอยู่ทำความเข้าใจกับกองเชียร์ที่เป็นอยู่
เข้าใจเงื่อนไขที่มาที่ไปของเขาแล้วก็รู้ว่าบางที มันจะสามารถเปลี่ยนออกจากสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใคร ?

คนที่สนใจในเรื่องนี้ครับ ผมคิดว่ากองเชียร์เผด็จการคงรังเกียจ คงไม่อยากอ่าน เรียกว่ามันคงไปกระแทกติดใจ ของเขาพอสมควร เว้นแต่ตัวเขาเองอยากรู้ว่า ทำไมเขาเป็นแบบนี้ผมคิดว่าคนอยากอ่านก็คงอยากอ่านผมคิดว่าคนเห็นชื่อก็คงอยากจะอ่านแล้วแหละ ส่วนคนที่ไม่อยากอ่านพูดอย่างไรก็ไม่อยากอ่าน
เพราะประเทศนี้มันเป็นอย่างนี้

ส่วนใหญ่เนื้อหามันถูกตีพิมพ์มา ในหนังสือพิมพ์มติชนมาก่อน แต่มันถูกปรับปรุงและร้อยเรียงเข้ากันอย่างเป็นระบบอีกอย่างหนึ่งมันเป็นบันทึกสิ่งที่พวกเรา เผชิญกันมาในช่วง 4 ปี ผมคิดว่าก็อยากเชิญชวน ให้ซื้อหาติดบ้านกันเอาไว้ ได้ข่าวว่าหมดไปรอบนึงแล้ว แล้วก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่มันจะถูกเก็บด้วยมันคงเป็น RARE ITEM ในอนาคตก็หวังว่าจะเมตตาซื้อหาไปประดับบ้าน

หนังสือช่วงนี้ก็ขายกันยาก เพราะคนเชื่อว่าความรู้ต่างๆ อยู่บนฝ่ามือ พลิกไปพลิกมา 3-4หน้า ก็รู้เรื่องคุยกับเพื่อนก็ได้แล้วฉะนั้นการมีหนังสือไว้ในครอบครอง แล้วค่อยๆซึมซับกับมัน พยายามเข้าใจว่านักเขียนเขาพาคุณเดินไปที่ไหน ผมว่ามันเป็นอะไรซึ่งบางคน ลืมมันไปแล้ว บางคนจำไม่ได้แล้วว่า เคยอ่านหนังสือแล้วมันสนุก รอบสุดท้ายเมื่อไหร่ เพราะว่าติดอยู่กับโซเชียล เอานิ้วปัดไปปัดมา ซึ่งจอมันก็เล็ก มองไม่ค่อยถนัด เพราะฉะนั้นหนังสือแบบนี้ เป็นอะไรที่ ยังไงอ่ะ

คุณคิดว่าชีวิตที่ อยากว่ายน้ำแค่ 25 เมตร หรือคุณคิดว่าทะเลมันสนุก คุณไปเที่ยวเกาะแล้วรู้สึกว่า มันเวิ้งว้างค่อยๆว่ายไป มันก็สนุกไปอีกแบบนึงแต่คนจำนวนมากถูกทำให้รู้สึกว่า ชีวิตมีแต่สระว่ายน้ำ 25 เมตรว่ายแค่นี้ก็โอเคแล้ว

มันไม่เหมือนกัน คนชอบไปทะเลก็คงรู้สึกว่า หนังสือเหมือนการได้ไปเที่ยวทะเล แต่ถ้าคุณคิดว่าการอ่านแบบเดิมๆเล็กๆ อยู่ในมือ ก็คงเหมือนอยู่ในคอนโดแล้วว่ายน้ำอยู่ในสระว่ายน้ำ มันก็แล้วแต่ชีวิต แต่ว่าคนเขียนหนังสือเป็นคนส่วนน้อยในสังคม โดยเฉพาะสำนักพิมพ์ที่ยังกล้า พิมพ์หนังสือ ก็ถือว่า กำไรคงไม่ใช่ เป้าหมาย นะครับมันคงมีเรื่องอื่น ในชีวิตที่คิดว่า ยังอยากทำกันอยู่