E-DUANG : “ตลาด” คือ คู่สัประยุทธ์ของรัฐบาลในเรื่องข้าว

คำว่า “กลไกตลาด”ได้ย้อนกลับมาแสดง”บทบาท”อย่างแข็งขันอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤตอันเนื่องแต่”ราคาข้าว”

เหมือนกับที่เคยเกิดในห้วงแห่ง “จำนำข้าว”

ต้องยอมรับว่า กระหึ่มแห่งคำว่า”กลไกตลาด”ที่ดังในห้วงรัฐ บาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะเห็นว่า

“จำนำข้าว” เป็นการบิด เบือน “กลไกตลาด”

ถึงขั้นบางคนจาก”นิด้า”ส่งเรื่องให้”ศาลรัฐธรรมนูญ”วินิจฉัย

ถึงขั้นบางคนจากพรรคประชาธิปัตย์ตั้งข้อสังเกตว่าเท่ากับขัด ต่อบทบัญญัติแห่ง”WTO”

เพราะเท่ากับเป็นการ”แทรกแซงราคา”

ถามว่าตอนนี้กระหึ่มแห่งคำว่า”กลไกราคา”ที่ดังขึ้นมีเป้าหมายเหมือนกับเมื่อตอน”จำนำข้าว”หรือไม่

ตอบได้เลยว่า “ไม่ใช่”

เพราะบรรดานักวิชาการจาก “นิด้า” และหรือจาก “ทีดีอาร์ไอ” ต่างเงียบเสียงไปตามๆกัน

แต่คำว่า “กลไกราคา”ยังดังอยู่

กลไกราคาอันดังขึ้นในสถานการณ์ใหม่มาจากกลุ่ม”เจ้าของโรงสี” อย่างเป็นด้านหลัก

เพราะพวกเขาถูก “กล่าวหา”

เป็นการกล่าวหาทั้งจากโฆษกใน”ทำเนียบรัฐบาล” เป็นการกล่าวหาทั้งจากโฆษกใน”คสช.”

ว่าพวกเขา”สมคบคิด” กับ”กลุ่มการเมือง”

ดำเนินการกดและปั่นราคาการซื้อขายข้าวเพื่อทำให้ชาวนาไม่พอใจรัฐบาล ไม่พอใจคสช.

การตอบโต้จากโรงสีก็คือ “เป็นไปไม่ได้”

เป็นไปไม่ได้เพราะว่าการซื้อขายข้าวเปลือกของโรงสีเป็นไปตาม “คำสั่งซื้อ”ของ “ผู้ส่งออก”

“ผู้ส่งออก”ต่างหากที่กำหนดราคา มิใช่”โรงสี”

ทุกอย่างจึงดำเนินไปอย่างที่เรียกว่า “กลไกราคา”

ในความเป็นจริง ไม่ว่าโรงสี ไม่ว่าผู้ส่งออกไม่สามารถกำหนดราคาได้ตามใจ

หากต้องดำเนินไปตาม “กลไกตลาด”

กลไกตลาดต่างหากที่ทำให้”ผู้ส่งออก”กำหนดราคาไปยัง”โรงสี”

โรงสีจึงเป็นเหมือนกับ”ปลายน้ำ”

คำถามก็คือ แล้ว”ผู้ส่งออก”กำหนดราคาไปยัง”โรงสี”บนฐานอะไร คำตอบก็คือ เป็นไปตาม”ตลาดโลก”

จึงไม่เพียงแต่โรงสีและผู้ส่งออกเท่านั้นที่มีส่วนอยู่ในการกำหนดราคา หากแต่ราคาต้องดำเนินไปตาม

ความต้องการและสภาพความเป็นจริงของตลาดโลก

“ตลาด” ต่างหากที่ยืนทะมื่นอยู่”เบื้องหน้า”

รัฐบาลอาจสามารถควบคุม โรงสี อาจควบคุม ผู้ส่งออกได้ในระดับที่แน่นอนทั้งหมดนี้ก็ยังมี

ปัจจัย”ตลาด”เข้ามามีบทบาทร่วมด้วย