E-DUANG : อ่าน”กบฎบวรเดช” อ่าน”การส่งกำลังบำรุง”

ในฐานะนักประวัติศาสตร์ ในฐานะนักรัฐศาสตร์ เมื่อเขียน”กบฎ บวรเดช” ณัฐพล ใจจริง

อาจเน้นไปยังประเด็น “การเมือง”

กระนั้น ปม 1 ซึ่งสัมผัสได้ในระหว่างการอ่านแต่ละบท แต่ละตอนของหนังสือ

คือ ปมแห่ง”การทหาร”

หากมองจากมุมของทหาร หากมองจากมุมของการยุทธ์ก็จะสัมผัสได้ใน ปม 1 ซึ่งสำคัญ

คือ ปมแห่ง”การส่งกำลังบำรุง”

หากมองจากด้านของ “ฝ่ายอำนวยการ” อาจมองไปยังด้านกำลังพล ด้านการข่าว ด้านยุทธการ

ขณะที่ด้านส่งกำลังบำรุงอาจเรียกว่า “ฝอ.4”

สะท้อนบทบาทและความหมายที่เหนือกว่าด้านกิจการพลเรือน หรือ “ฝอ.5”

แต่ก็ “สำคัญ”และทรง”ความหมาย”

 

สำคัญและทรงความหมายอย่างไรขอให้อ่านจากบันทึกของ นาย ร้อยเอกหลวงโหมรอนราญ

จาก”แนวหน้า”ของคณะกู้บ้านกู้เมือง

“พวกเราบุกน้ำแค่คอไปจนถึงวัดหลักสี่ เห็นมีถังข้าวสารสุกหลายถังตั้งอยู่แต่ไม่มีข้าวเลย จึงพาทหารไปถึงแนวคันคลองเปรมเพื่อรอรับเสบียงซึ่งเชื่อว่ากองบัญชาการคงจะส่งมาให้”

แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ได้

“ข้าพเจ้ารู้สึกเดือดร้อนมาก เพราะตั้งแต่เช้าจนบ่ายทั้งนายทหาร นายสิบ พลทหาร ไม่ได้กินอาหารอะไรกันเลย พ.อ.พระยาศรีซึ่งบอกว่าจะส่งอาหารมาให้

“ก็ไม่มีอาหารขึ้นมาแนวหน้า ทหารก็บ่นกันอยู่ทั่วไป”

 

นั่นเป็น”สภาพการณ์“ของทหารซึ่งอยู่”แนวหน้า”เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2476

แต่พอกลับไปยังกองบัญชาการที่ดอนเมือง

“พบนายทหารเป็นจำนวนมากนั่งเสพสุราและกินอาหารกัน บางคนก็เล่นบิลเลียด

พ.อ.พระยาเทพสงคราม พบข้าพเจ้าก็เข้ามากอดและพูดว่า

“น้องชายมีคนบอกว่ากองทหารม้าสระบุรีของน้องเป็นอัน ตรายหมด นี่มายังไงกัน”

ข้าพเจ้าบอกว่า “ทำไมไปฟังข่าวเหลวไหล ช่างไม่คิดถึงพวกกระผมบ้างเลย เหนื่อยมาตั้งแต่เมื่อวานแสนสาหัส วันนี้ยังไม่ได้กินอาหารตลอดทั้งวัน กลับมาแช่งว่าตายหมด

“เป็นการแช่งกันชัดๆ ผมเสียใจ”

นี่มิได้เป็น “รายละเอียด” อันมาจากฝ่ายของรัฐบาล”คณะราษ ฎร” หากแต่มาจากผู้บังคับการกองพันทหารม้าสระบุรี ฝ่ายเดียวกับ “คณะกู้บ้านกู้เมือง”

นี่คือผลสะเทือนในด้าน”การส่งกำลังบำรุง”

เป็นผลสะเทือนทาง”การทหาร”อันกระทบไปถึง”การเมือง”

file_371_9