E-DUANG : จาก”ทีจี 200″ ถึง”อโลฮา ฮาวาย”

แล้วกรณีของ “อโลฮา ฮาวาย” ก็ก้าวเดินไปในรอยเดียวกันกับกรณี “อุทยานราชภักดิ์”

เพียงแต่มิใช่”ป.ป.ช.” หากแต่เป็น “สตง.”

วิถีดำเนินจึงมิได้ปรากฏออกมาอย่างเด่นชัดด้วยมติในแบบ 9 ต่อ 0

“สุจริต”

“ปฏิกิริยา” 1 ซึ่งปรากฏอย่างฉับพลันผ่านการพาดหัวของหนังสื่อพิมพ์ คือการใช้คำว่า

“ฟอกขาว”

สะท้อนให้เห็น “ประสิทธิภาพ” และ “ประสิทธิผล”ในการทำงานของหน่วยงานตรวจสอบ

หลายคนในกระทรวงกลาโหมถอนหายใจอย่างโล่งอก

โล่งอกเหมือนกรณี”แม่ผ่องพรรณพัฒนา” โล่งอกเหมือนกรณี”ทีจี 200″

แม้จะหงุดหงิดกับคำว่า “ฟอกขาว”

คำว่า “ฟอก”ก็รู้กันอยู่แล้วว่า ให้ความหมาย ให้ความรู้สึกอย่างไรแก่ผู้รับฟัง

ดูจาก”พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542”

“ฟอก” เป็นคำกริยา หมายความว่า ทำให้สะอาดหมดจด เช่น ฟอกผ้า ฟอกจิตใจ

ฟอกผ้า เอาสบู่ถูกผ้าเพื่อให้สะอาด

ฟอกโลหิต อาการที่แก๊สออกซิเจนซึ่งหายใจเข้าไปแล้วเปลี่ยนเลือดดำเป็นเลือดแดง

เมื่อนำไปเรียงติดกับคำว่า”ขาว” เป็น “ฟอกขาว”

เมื่อนำไปประสานกับการตรวจสอบกับกรณี”อโลฮา ฮาวาย”ก็มีความแจ่มชัด

เป็นการ”ฟอกขาว” อย่างไร


จากนี้จึงเห็นได้ว่ากระบวนการ”ฟอกขาว”ให้กับกรณีของ”อโลฮา ฮาวาย” มิได้เป็นหนแรก

หนแรกอย่างที่เรียกว่า “เปิดบริสุทธิ์”

ตรงกันข้าม กระบวนการนี้เคยแสดง”ปฏิบัติการ”มาแล้วหลายหน

จำเรื่อง “บอลลูนลอยฟ้า” ได้หรือไม่

จำเรื่อง “รถถังยูเครน” ที่มี่แต่บทเริ่มต้นและไม่สามารถบทจบได้หรือไม่

จำเรื่อง “ทีจี 200″ได้หรือไม่

ทั้งๆที่เจ้าของ “ผลิตภัณฑ์” ถูกศาลยุติธรรมพิพากษาลงโทษไปแล้วเพราะ “ลวงโลก”

แต่ไม่มีผลสะเทือนอะไรใน “บ้านเรา”

จำกรณี “อุทยานราชภักดิ์” จำกรณีของ”แม่ผ่องพรรณพัฒนา”ได้หรือไม่

หากจำได้ก็จะเข้าใจ”อโลฮา ฮาวาย”

เพียงแต่ว่าทั้งหมดนี้จะอยู่ภายใต้กระบวนการ”ฟอกขาว”หรือไม่ เท่านั้น