ทรัมป์กับมุสลิม ตอนที่3 : ทรัมป์ในสายตาของชาวอาหรับและโลกมุสลิม

จรัญ มะลูลีม

คลิกอ่านตอนอื่นๆ

การเลือกตั้งที่ทำให้ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐแสดงถึงการเริ่มโฉมหน้าใหม่ หลังจาก 8 ปีในการบริหารของโอบามา

ในขณะที่ชัยชนะของทรัมป์ทำให้หลายคนประหลาดใจ อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจะแตกต่างจากทรัมป์ที่เป็นประธานาธิบดี

ชัยชนะในการพูดของเขาเป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ และไม่มีอะไรจะตามมาอีก

ก่อนที่เขาจะสมัครรับการเลือกตั้ง ทรัมป์แทบจะไม่มีชาวมุสลิมและโลกอาหรับรู้จักเลย

อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์ของเขาในช่วงหาเสียงนำไปสู่ภาพแห่งการเป็นศัตรู ด้วยการแนะนำว่างานที่เขาจะทำก่อนอื่นใดก็คือการโจมตีชาวอาหรับและชาวมุสลิม

ความคิดนี้ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะนี่เป็นข้อถกเถียงหลักที่ใช้ต่อต้านทรัมป์จากฝ่ายตรงข้ามและบรรดาสื่อที่ไม่สนับสนุนเขา

 

การจัดการกับประเด็นปัญหานั้นไม่ได้ง่ายเหมือนภาพที่สื่อได้แสดงออกมาและมันมีนัยยะทางการเมืองสำหรับสังคมอาหรับอย่างขนานใหญ่

เสาหลักที่ชัดเจนในนโยบายต่างประเทศของทรัมป์ก็คือการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเป้าหมายอยู่ที่กองกำลังไอเอส

สำหรับผู้นำอาหรับจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้นำที่นิยมสหรัฐ พบว่ายุทธศาสตร์ที่ชัดเจนที่จะต่อสู้กับไอเอสนั้นได้รับการต้อนรับ เป็นการเสนอการสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐด้วยการมียุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อการร้าย

พันธมิตรอาหรับในดินแดนของอาหรับเองในภูมิภาคได้ต่อสู้อย่างเปิดเผยในการสนับสนุนยุทธศาสตร์และโวหารของโอบามาและพยายามติดต่อกับสหรัฐภายใต้สมมติฐานเดียวกัน

นั่นคือหากสหรัฐกลับไปใช้ยุทธศาสตร์สงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror) ภายใต้บุชหลายรัฐบาลในพื้นที่ก็อาจจะรู้สึกโล่งใจไปได้ในระดับหนึ่ง

หากฮิลลารีได้เข้าทำเนียบขาวเธอจะต้องเผชิญกับการท้าทายในรูปแบบใหม่ๆ ตามหลักการของโอบามาที่ตีพิมพ์ใน Atlantic

ปัญหาของโลกอาหรับเป็นปัญหาภายใน ยุทธศาสตร์ของพวกเขาวางอยู่บนพื้นฐานของกลุ่มประเทศอาหรับในภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐกษัตริย์แถบอ่าวเปอร์เซียอย่างซาอุดีอาระเบีย

นอกจากบรรดากษัตริย์จะเผชิญกับการคุกคามใหม่และขบวนการอิสลามที่หลากหลายในอียิปต์และข้ามไปถึงแถบอ่าวเปอร์เซียแล้ว มันยังจะนำไปสู่คลื่นลูกใหม่ของอาหรับสปริงได้ อันเป็นการลุกฮือที่มีจุดมุ่งไปที่รัฐกษัตริย์และระบบการปกครองของกษัตริย์อาหรับ (Sheikdoms)

การมาถึงของทรัมป์จะทำให้การลุกฮือของกลุ่มเหล่านี้มีความยากลำบากมากขึ้น

 

การท้าทายสำหรับทรัมป์ที่จะคงอยู่ต่อไปจะอยู่ที่ความสัมพันธ์กับประเทศที่สนับสนุนขบวนการภราดรภาพมุสลิม

ในขณะที่ทรัมป์อาจถูกมองจากชาวมุสลิมและสาธารณชนอาหรับในทางลบอันเนื่องมาจากวาทะการต่อต้านชาวมุสลิมของเขา

แต่ความสัมพันธ์ของทรัมป์กับผู้นำอาหรับดูเหมือนจะดีอยู่อันเนื่องมาจากสถานภาพทางการเมืองที่ยังต้องมีการพึ่งพากัน

ทรัมป์ดูเหมือนจะสร้างความสัมพันธ์ที่วางอยู่บนความร่วมมือกันในการต่อสู้กับการก่อการร้าย และก้าวเดินใดๆ ก็ตามที่จะทำให้ขบวนการภราดรภาพมุสลิมอ่อนแอลง อาจทำให้ภูมิภาคนี้กลับไปสู่กระบวนทัศน์เดิมซึ่งสร้างความสัมพันธ์สหรัฐ-อาหรับขึ้นมาใหม่

พลวัตปัจจุบันในโลกอาหรับย่อมหมายความว่าผู้นำหลายคนไม่ได้มองทรัมป์ไปในแง่ลบ

 

การคุกคามใหญ่สองอย่างสำหรับระบบการเมืองในภูมิภาคนั้นก็คือการเรียกร้องอย่างจริงจังในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การเรียกร้องดังกล่าวเท่ากับเป็นการสนับสนุนขบวนการมุสลิม ซึ่งเป็นทางเลือกเดียวในระบบการเมืองในภูมิภาคที่ประชาชนมีความไว้วางใจ

การเรียกร้องเหล่านี้ถือกันว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งวาระของคลินตัน ซึ่งชัยชนะของทรัมป์ย่อมหมายความว่าผู้นำหลายคนจะหลีกเลี่ยงการท้าทายที่หนักหน่วง

วาระแห่งนโยบายต่างประเทศโดยเบื้องต้นก็คือการต่อสู้กับลัทธิการก่อการร้าย ซึ่งจะทำให้หลายประเทศฟื้นฟูความชอบธรรมและความสำคัญในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศที่เป็นพันธมิตรกันในการต่อต้านการก่อการร้าย

ปัจจุบันประกาศว่าด้วยการคุกคามก็ยังคงมีอยู่ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย อย่างเช่น ซาอุดีอาระเบีย ทรัมป์ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยการพูดถึงรูปแบบความสัมพันธ์ที่เขาต้องการจะสร้างในประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย

ตัวประกอบอื่นๆ สำหรับกษัตริย์แถบอ่าวเปอร์เซียก็คือตำแหน่งของทรัมป์ในอิหร่าน ในขณะที่ทรัมป์คงจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้น้อยมากในเรื่องข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ ซึ่งลงนามโดยกลุ่ม P5+1 ประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียคงทำได้แค่การปลอบใจจากความจริงที่ว่าพวกเขาอาจมิได้เป็นศัตรูของอิหร่านและแน่นอนว่าพวกเขาจะไม่เป็นเหมือนกับอิหร่าน

 

ประเด็นอื่นๆ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจของชาวอาหรับในการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือกตั้งก็คือทรรศนะของเขาที่มีต่อซีเรีย ทรัมป์ได้ประกาศที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับรัสเซียและใช้มาตรการอย่างจริงจังต่อต้านไอเอส (IS) ซึ่งดูเหมือนจะช่วยให้ยุติวิกฤตที่ซีเรียได้ ซึ่งแน่ละเป็นอีกด้านที่เป็นไปในทางบวกสำหรับโลกอาหรับ

ความสัมพันธ์ของสหรัฐกับอิสราเอลก็คงจะเป็นแนวทางที่ชาวอาหรับติดตามดูท่าทีของประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือกตั้งผู้นี้ ทรัมป์ได้แสดงการสนับสนุนเนทันยาฮู (Netanyahu) ให้เห็น และเนทันยาฮูก็เป็นหนึ่งในผู้นำคนแรกๆ ที่ได้รับการต้อนรับจากทรัมป์ที่ทำเนียบขาว

การยอมรับนโยบายอิสราเอลอย่างเต็มที่ของทรัมป์จะมีผลเป็นลบต่อความคิดของชาวอาหรับโดยทั่วไปและชาวมุสลิม แต่ไม่จำเป็นที่จะเป็นเช่นนั้นสำหรับผู้นำอาหรับ

อย่างไรก็ตาม มันจะมีผลต่อกระบวนการสันติภาพและอาจนำไปสู่การปะทะกันในภูมิภาคก็ได้

ทรัมป์ซึ่งมีเรื่องราวที่ขัดกันอย่างต่อเนื่องทำให้การเมืองของตะวันออกกลางดูเหมือนจะสับสนมากขึ้น ในขณะที่ประชาชนอาหรับและโลกมุสลิมอาจมองทรัมป์ไปในทางลบ

แต่ผู้นำของพวกเขาค่อนข้างจะมองเขาไปในทางบวกเนื่องจากนโยบายของเขาอาจส่งผลดีกับภูมิภาคผ่านการวางพื้นฐานความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อต้านลัทธิก่อการร้าย

 

ในขณะที่อิหร่านต้องการให้มีประธานาธิบดีสหรัฐที่สามารถใช้แรงกดดันกับประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียได้อย่างแท้จริง อิหร่านย่อมไม่ชอบที่จะให้ทรัมป์มาพิจารณาเรื่องนิวเคลียร์ใหม่อีก การฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิหร่านอาจเป็นผลดีกับชาวอาหรับจำนวนมาก แต่อิหร่านคงจะไม่มีความสุขหากแลเห็นว่าสหรัฐสร้างความเข้มแข็งด้วยการติดอาวุธให้กับประเทศอาหรับ ซึ่งประเทศเหล่านั้นคงชอบประธานาธิบดีอิหร่านซึ่งให้ความสนใจในการต่อสู้กับการก่อการร้าย มากกว่าการบังคับใช้ประเด็นสิทธิมนุษยชน

ชาวซีเรียชอบประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งให้ความสนใจที่จะกำจัดไอเอส (IS) มากกว่าการจัดที่ทางให้ตนเองสำหรับอนาคตของ บาชัร อัลอะสัด

แต่ซีเรียคงไม่ชอบที่จะเห็นประธานาธิบดีสหรัฐที่ให้การหนุนหลังอิสราเอลในกระบวนการการจัดตั้งที่อยู่อาศัยในภูมิภาค