ความสัมพันธ์ทางสังคม-เศรษฐกิจ ระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย : ด้านการลงทุน

จรัญ มะลูลีม

เส้นทางความสัมพันธ์ทางสังคม-เศรษฐกิจ ระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย (10)

ความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุน

มาเลเซียและประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมาตลอด 20 ปี

ที่ผ่านมามาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทยในหมู่สมาชิก ASEAN 10 ประเทศ ในปี 2012

ในขณะที่ประเทศไทยได้กลายมาเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของมาเลเซียในบรรดาประเทศสมาชิก ASEAN

นักธุรกิจไทยได้ให้การสนับสนุนข้อเสนอของ ดะโต๊ะ ซรี รอฟิดะฮ์ อะซีซ (YB Dato”Seri Rafidah Aziz) ที่จะให้บริษัทของมาเลเซียและไทยช่วยเหลือและร่วมมือกันในการนำเอาแนวคิดการทำงานร่วมกัน (synergistic approaches) และการหาโอกาสร่วมกันจากตลาดที่อยู่นอก ASEAN มาใช้ในการทำงาน

ภาคเอกชนของไทยและมาเลเซียควรใช้เครือข่ายที่ทั้งสองประเทศมีอยู่ให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งโอกาสที่ได้มาจาก ASEAN ในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสอง ด้วยการย้ำว่าเขตเศรษฐกิจเสรีของ ASEAN (AFTA) นั้นมีผลในทางปฏิบัติแล้ว

ดะโต๊ะ รอฟิดะฮ์ กล่าวว่าความรับผิดชอบนั้นอยู่ที่ภาคเอกชนที่จะยืนยันถึงโอกาสที่มีอยู่

 

สินค้าส่งออกจากมาเลเซียมายังประเทศไทยได้แก่ ทรานซิสเตอร์ เครื่องมือสำนักงาน ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ น้ำมันดิบ ผลผลิตจากน้ำมัน เครื่องมือและชิ้นส่วนด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ฯลฯ

ส่วนการส่งออกหลักจากประเทศไทยก็ได้แก่ ทรานซิสเตอร์ เครื่องมือและชิ้นส่วนสำนักงาน ยางธรรมชาติ เครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสารและข้าว

อย่างไรก็ตาม การลงทุนระหว่างสองประเทศยังคงมีอยู่น้อย แต่ก็มีศักยภาพที่จะขยายตัวอย่างมาก

ส่วนใหญ่การลงทุนก็จะมีอยู่ในเรื่องถุงมือยาง อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง กระเป๋าพลาสติก กาวและส่วนประกอบของกาว ชิ้นส่วนโลหะ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ไฟฟ้าและสิ่งทอ

ปัจจุบันมีบริษัทของมาเลเซีย 50 บริษัทที่ประกอบธุรกิจอยู่ในประเทศไทย อันเป็นบริษัทที่อยู่ในภาคเทคโนโลยีการสื่อสาร การทำสวนยาง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภาคน้ำมัน ชิ้นส่วนและส่วนประกอบรถยนต์ อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ การธนาคารและการพาณิชย์ การผลิตเครื่องมือทางด้านวิศวกรรม โรงเรียนนานาชาติและโรงแรม

กองทุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ถูกสถาปนาขึ้นมาในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซียและภาคใต้ของไทย

จนถึงเวลานี้บริษัทเปโตรนัส (petronas) ของมาเลเซียได้มอบเงินจำนวน 250,000 ริงกิต และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTT) มอบเงินจำนวน 750,000 ริงกิตให้กับกองทุนดังกล่าว โดยมอบผ่านสมาคมไทย-มาเลเซีย (Thai-Malaysia Association) ที่ได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายนปี 1999

หน้าที่ของสมาคมค่อนข้างจะกว้างขวาง ครอบคลุมด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การพาณิชย์ การกีฬา สังคม การศึกษาและบริษัทน้ำมัน

ทุนการศึกษาดังกล่าวได้มอบให้กับนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ของไทย (http://thestar.com.my/news/story.asp?sec=nation&file=/2010/4/23/nation/6113621)

 

การก่อตั้งกลุ่มที่เน้นในด้านการพาณิชย์ อย่างหอการค้ามาเลเซีย-ไทย (Malaysia-Thai Chamber of Commerce) โดยมีภาคเอกชนเป็นแกนนำนั้น จะมีผลอย่างมากในการผลักดันภาคเอกชนให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเพื่อให้มีผลต่อรัฐบาลของทั้งสองประเทศ

ตัวแทนภาคเอกชนของมาเลเซียได้ทำการสำรวจโอกาสทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมทั้งการลงทุนร่วมในด้านการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ การผลิตทางเคมี เทคโนโลยีข่าวสาร (IT) เครื่องมือทำความร้อน การส่งเสริมการบริการด้านน้ำมันและอุตสาหกรรม การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การเภสัชกรรม การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการศึกษาด้านมัลติมีเดีย การส่งออกวัตถุดิบเพื่อการก่อสร้าง การผลิตน้ำมันปาล์ม อุปกรณ์ทำความร้อน เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือทำความร้อน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำมัน การผลิตอาหาร อุปกรณ์ด้านการไฟฟ้า อุปกรณ์ทางการศึกษาและเครื่องมือทางการเกษตร รวมทั้งการส่งออกในด้านการผลิตทางการเกษตร วัตถุดิบและส่วนประกอบสำหรับอุปกรณ์ในด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร วัตถุดิบสำหรับการก่อสร้าง สิ่งทอและเสื้อผ้า

การค้าของทั้งสองประเทศจะอยู่ที่ 15.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (50.8 พันล้านริงกิต) และเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 55 จากปี 2005 แม้ว่าตัวเลขเหล่านี้จะบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่เติบโตขึ้นระหว่างสองประเทศ จำนวนเงินดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศให้มากขึ้น

(http://thestar.com.my/news/story.asp?sec=nation&file=/2010/4/23/nation/6113621)

 

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มาเลเซียมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจก็จะพบว่าประเทศไทย ยังมีระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับมาเลเซียในระดับที่ต่ำหากมองจากศักยภาพของทั้งสองประเทศ

ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจะต้องส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดอย่างมาเลเซียให้มากขึ้นเช่นกัน

การสร้างสะพานมิตรภาพระหว่างสองประเทศก็จะมีส่วนช่วยทำให้ความสัมพันธ์ที่บ่อยครั้งเกิดความยุ่งยาก มีอนาคตที่ดีขึ้น

โครงการลิมอ ดาซาร์ (Lima Dasar) ถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมจังหวัดต่างๆ ซึ่งได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา เข้าด้วยกันกับห้าจังหวัดของมาเลเซีย อันได้แก่ มาเลเซีย ปีนัง เกดะฮ์ เปอร์ลิส เปรัก และกลันตัน ลิมอ ดาซาร์ หมายถึง “นโยบายห้าประการหรือพื้นฐานห้าประการ” ในภาษามาเลย์

ในโครงการนี้ทั้งสองประเทศเห็นพ้องที่จะตั้งด่านตรวจชายแดนในฐานะเขตการค้ามากกว่าที่จะเป็นเขตความมั่นคงและพัฒนาขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองให้สะดวกมากขึ้นระหว่างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างจังหวัดนราธิวาสและรัฐกลันตันและทางด่วนเชื่อมหาดใหญ่และภาคเหนือของมาเลเซีย

http://www.nationmultimedia.com/home/2010/09/25/business/Thailand-Malaysia-agree-measures-for-closer-joint–30138691.html

 

ในปัจจุบันบริษัทของไทยและมาเลเซียมีความร่วมมือกันในหลายๆ ด้าน รวมทั้งการผลิตไฟเบอร์ การค้านมแพะและเฟอร์นิเจอร์

นอกจากนี้ นักลงทุนจากมาเลเซียยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลในการผลิตอาหารฮาลาลกับไทยอีกด้วย เนื่องจากประเทศไทยมีวัตถุดิบอยู่จำนวนมากและมีเทคโนโลยีในการผลิตที่ดี ในขณะที่มาเลเซียมีความรู้ความชำนาญในด้านการตลาด

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เชิญนักลงทุนชาวมาเลเซียให้มาลงทุนร่วมในธุรกิจฮาลาลที่จังหวัดปัตตานี โดยที่มาเลเซียได้เสนอให้ท่าเรือปีนังเป็นศูนย์กลางการส่งอาหารฮาลาลไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย

สินค้าของมาเลเซียที่ส่งออกมายังประเทศไทยประกอบไปด้วยสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ เคมีและผลิตภัณฑ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยนต์และชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ รวมทั้งยางพาราจากประเทศไทย

ปัจจุบันมาเลเซียเป็นผู้ลงทุนที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 5 ในประเทศไทยต่อจากญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และจีน และใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศใน ASEAN (http://www.nationmultimedia.com/business/Malaysia-wants-increased-Thai-investment-JV-30175796.html) ต่อจากสิงคโปร์