เผยแพร่ |
---|
ปัจจุบัน เครื่องปั่นไฟ หรือที่เรียกอีกชื่อว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่แทบทุกธุรกิจ หรือทุกอุตสาหกรรมจะขาดไปไม่ได้ เพราะอุบัติเหตุไฟฟ้าขัดข้อง ไม่ว่าจะไฟดับกะทันหัน ไฟตก ไฟกระชาก ฯลฯ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่คาดคิดเสมอ และหากมี ‘เครื่องปั่นไฟ’ อุปกรณ์ที่ใช้แปลงพลังงานกล เคมี หรือแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าสำรองเอาไว้ก็เหมือนเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือไว้ตั้งแต่ต้น โดยสามารถป้องกันไม่ให้เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดความเสียหาย กระบวนการผลิตดำเนินต่อไปได้แบบไม่ขัดข้อง ทั้งนี้เครื่องปั่นไฟก็มีหลากหลายประเภทให้เลือก แถมแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและเหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน หลายๆคนจึงอาจสงสัยว่า แล้วแต่ละธุรกิจ หรือแต่ละอุตสาหกรรมควรจะลือกเครื่องปั่นไฟประเภทไหนให้ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุดกันนะ? บทความนี้ขอพาทุกคนไปหาคำตอบ! ไปทำความรู้จักประเภทหลักๆ ของเครื่องปั่นไฟ พร้อมจุดเด่นการใช้งานแต่ละประเภทกันได้เลย!
1. เครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซล
ประเภทแรกที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คือ เครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซล หรือเรียกสั้นๆ ว่า เครื่องปั่นไฟฟ้าดีเซล เป็นครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนเครื่องกําเนิดไฟฟ้า โดยตัวเครื่องยนต์ดีเซลนี้จะทำการเผาไหม้น้ำมันดีเซลภายในกระบอกสูบ เพื่อผลิตพลังงานกล (ความร้อนและก๊าซความดันสูง) ให้เข้าไปหมุนเพลาเครื่องกําเนิดไฟฟ้า ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นบนโรเตอร์ และส่งผ่านไปยังระบบจ่ายไฟฟ้าต่างๆ ต่อไป
เครื่องปั่นไฟฟ้าดีเซลจะมีความเหมาะสมสําหรับการใช้งานในอาคาร สถานที่ หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องการกําลังไฟฟ้าสูง ด้วยเครื่องยนต์ดีเซลค่อนข้างมีกำลังสูง ทนทานมาก อีกทั้งยังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงเหมาะสําหรับใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าสํารองหลักของอาคารขนาดใหญ่ หรือใช้ในกระบวนการผลิตที่ต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงอยู่ตลอดนั่นเอง
2. เครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องยนต์เบนซิน
ถัดมากับเครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องยนต์เบนซิน หรือเครื่องปั่นไฟเบนซิน โดยภาพรวมมีความคล้ายคลึงกับเครื่องปั่นไฟฟ้าดีเซล เพราะเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนเพลาเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเช่นเดียวกัน คือเผาน้ำมันเบนซิน ผลิตพลังงานกลไปหมุนเพลาเครื่องกําเนิดไฟฟ้า ให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นบนโรเตอร์ และส่งผ่านไปยังระบบจ่ายไฟฟ้าต่างๆ ต่อไป แต่เครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องยนต์เบนซินนั้นจะเหมาะสําหรับการใช้งานขนาดเล็กถึงขนาดกลางเท่านั้น เช่น บ้าน ร้านค้า สำนักงานทั่วไป ไม่เหมาะกับกับงานขนาดใหญ่ๆ เหมือนกับเครื่องปั่นไฟฟ้าดีเซล ด้วยเครื่องยนต์เบนซินมีกำลังจำกัด ทั้งนี้ก็มีข้อดี คือ น้ำหนักเบา จึงเคลื่อนย้ายสะดวก และมีราคาค่อนข้างถูกหากเทียบกับประเภทอื่นๆ
3. เครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
สำหรับเครื่องปัานไฟฟ้าเครื่องยนต์แก๊สโซลีนนั้น จะเหมาะสำหรับการใช้เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าสํารองในสถานที่ที่มีความจําเป็นต้องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง และมีขนาดใหญ่ อย่างโรงพยาบาล สถานีตำรวจ รวมถึงอาคารสำนักงานที่ต้องใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง เพราะมีจุดเด่นคือสามารถเปิดเดินเครื่องทิ้งไว้ได้ตลอดเวลา แถมไร้ข้อจำกัดเรื่องแหล่งพลังงาน ไม่เหมือนกับเครื่องปั่นไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ที่จะต้องมีการเปลี่ยนพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้เครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องยนต์แก๊สโซลีนยังสามารถนําไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้อีกด้วย
4. เครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องอินเวอร์เตอร์
หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าอินเวอร์เตอร์จากเครื่องปรับอากาศ โดยเป็นเครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่สามารถแปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงให้เป็นกระแสสลับเพื่อนําไปใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ที่สามารถรองรับกระแสสลับได้ โดยกระแสไฟฟ้าที่อินเวอร์เตอร์ใช้นี้จะได้มาจากแหล่งกําเนิดไฟฟ้า เช่น แผงโซลาร์เซลล์ หรือเครื่องยนต์ เป็นต้น
5. เครื่องปั่นไฟฟ้าสำรอง
เครื่องปั่นไฟฟ้าสํารองจะทําหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าสํารองเอาไว้ใช้ ในกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน ลักษณะจะประกอบไปด้วย เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ทําหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานหมุนเพลาให้กับเครื่องปั่นไฟ โดยมีระบบเริ่มเดินเครื่องแบบอัตโนมัติที่จะตรวจจับเมื่อไฟฟ้าปกติดับ แล้วจึงจะสั่งให้เครื่องยนต์เริ่มทํางานผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีระบบ ATS ที่ทําหน้าที่สลับวงจรไฟฟ้าให้จ่ายไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟฟ้าสํารอง แทนที่จะจ่ายจากการไฟฟ้าปกติได้
6. เครื่องปั่นไฟฟ้าขนาดเล็ก
เครื่องปั่นไฟฟ้าขนาดเล็กมักมีขนาดตั้งแต่ 1-20 KVA มีความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหน พร้อมสร้างกระแสไฟฟ้าได้ทุกที่ เพียงมีน้ำมันเบนซิน/ดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เหมาะกับการใช้งานที่ไม่ต้องการกำลังไฟฟ้าสูง เช่น ใช้งานภายในบ้าน ใช้งานนอกสถานที่จัดงานหรือใช้ไฟในปริมาณน้อย
งานก่อสร้าง งานบํารุงรักษา หรืองานภาคสนามที่ต้องการไฟฟ้าเคลื่อนที่ โดยเครื่องปั่นไฟขนาดเล็กจะมีทั้งแบบกระแสไฟฟ้าเฟสเดียวและแบบ 3 เฟส และพลังงานกลจะได้จากเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเบนซิน ซึ่งจะต่างจากเครื่องปั่นไฟดีเซลโดยสิ้นเชิง
7. เครื่องปั่นไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
สุดท้ายกับเครื่องปั่นไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีส่วนประกอบหลัก คือ แผงโซลาร์เซลล์ทําหน้าที่ดูดกลืนแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งมีหลักการทํางานง่ายๆ คือ ใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ประกอบด้วยซิลิกอน ดูดกลืนโฟตอนแสงอาทิตย์แล้วทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรง แล้วแปลงกระแสตรงเป็นกระแสสลับให้ใช้งานได้ โดยมีแบตเตอรี่สํารองไฟฟ้าไว้ใช้ยามกลางคืนหรือในช่วงที่แสงน้อย จึงเหมาะกับการนำไปใช้นอกสถานที่ อย่างการทำงานในพื้นที่ชนบทหรือตั้งแคมป์ เป็นต้น
และนี่คือ 7 ประเภทหลักของเครื่องปั่นไฟส่วนหนึ่งที่เรานำมาฝาก เราจะเห็นได้ว่า ประเภทของเครื่องปั่นไฟหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีให้เลือกใช้มากมายหลากหลายรูปแบบเลย ไม่ว่าจะเครื่องปั่นไฟฟ้าดีเซล เครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องยนต์เบนซิน เครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องอินเวอร์เตอร์ เครื่องปั่นไฟฟ้าสำรอง เครื่องปั่นไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือเครื่องปั่นไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นและความเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นเหล่าธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมถึงผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการแหล่งสำรองไฟฟ้าไว้ใช้ในบ้านจึงควรให้ความใส่ใจในการเลือกใช้เครื่องปั่นไฟฟ้าเพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้งานและคุ้มค่ากับราคาการติดตั้งมากที่สุด
ส่วนใครที่กำลังสนใจในการเลือกซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องปั่นไฟฟ้า แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้ออย่างไรดีและประเภทไหนจึงจะเหมาะสมกับงานที่ต้องการใช้ c ศูนย์จำหน่ายและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีเจ้าหน้าที่มืออาชีพที่มีประสบการณ์พร้อมให้คำปรึกษาและผลิตภัณฑ์เครื่องปั่นไฟฟ้ามากมายหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อ พร้อมรับผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามแบบที่ลูกค้าต้องการ โดยมีบริการหลังการขายที่ครอบคลุมให้กับลูกค้าอีกด้วย นึกถึงแหล่งสำรองไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ นึกถึง Siam Generator ไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน •