เผยแพร่ |
---|
ติดนิสัยกินแล้วนอน จนกรดในกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นไปสู่หลอดอาหาร รักษาได้ด้วยยาลดกรดในกระเพาะ ยาลดกรดไหลย้อน ยาสามัญที่ทุกบ้านควรมีติดไว้ ปัจจุบันหาซื้อได้ง่าย มีทั้งไซซ์พกพา และไซซ์แบบขวดยาใหญ่ใช้กินได้ทั้งครอบครัว
ใครที่กำลังเผชิญกับโรคกรดไหลย้อนแต่รักษาไม่หายสักที บทความนี้ เราจะมาแนะนำวิธีลดกรดในกระเพาะอาหารที่ใช้ได้จริง ปิดท้ายด้วยการแนะนำยาลดกรดในกระเพาะที่กินง่าย หาซื้อได้ไม่ยาก พร้อมแล้วไปดูกันเลย!
สาเหตุของการเป็นกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน (GERD) โรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมกินแล้วนอนจนเป็นนิสัย รวมไปถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้
• ภาวะที่หูรูดบริเวณหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารหลวม ทำให้อาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาหลังจากทานอาหาร
• ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี การบีบตัวของหลอดอาหารเพื่อขับกรด และน้ำย่อยทำงานผิดปกติจนไหลย้อนกลับ
• เยื่อบุหลอดอาหารไวต่อกรด ส่งผลให้ระคายเคืองได้ง่ายกว่าปกติ
• มีความเครียดสะสม กระตุ้นหลอดอาหารไวต่อความรู้สึก เมื่อมีกรดไหลย้อนกลับแม้เพียงเล็กน้อยก็จะรู้สึกได้ทันที
• ติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (Helicobacter pylori) กระตุ้นให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน
• พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่กินแล้วนอน ชอบทานอาหารมัน อาหารรสจัดมากเกินไป
• ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่จัด
• ภาวะ Acid pocket หรือส่วนต้นของกระเพาะอาหารมีความเป็นกรดสูงกว่าส่วนอื่น ทำให้เกิดกรดไหลย้อน
• พันธุกรรม
อาการแบบไหนต้องรับประทานยาลดกรดในกระเพาะ
เพื่อให้แน่ใจว่าถึงเวลาที่ต้องได้รับการรักษาแล้วหรือยัง เรามาดูไปพร้อม ๆ กันว่าอาการแบบไหน ต้องรับประทานยาลดกรดในกระเพาะ
1. เมื่อเกิดอาการแสบร้อนกลางอก
อาการแสบร้อนกลางอก เป็นสัญญาณที่ชัดเจนเมื่อร่างกายตกอยู่ในภาวะกรดไหลย้อน นอกจากนี้อาจมีอาการเรอเปรี้ยว รู้สึกขมในปาก
2. อาหารย่อยยาก/ไม่ย่อย
หากพบว่าหลังรับประทานอาหารแล้วรู้สึกจุกเสียด แน่นท้อง มีลมในท้องเยอะ รู้สึกไม่สบายตัว นี่อาจเป็นสัญญาณของอาการกรดไหลย้อน ควรรับประทานยาลดกรดในกระเพาะ
3. รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์
ยาลดกรดในกระเพาะบางยี่ห้อไม่สามารถรับประทานได้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางราย เพราะฉะนั้นควรเลือกรับประทานยาลดกรดในกระเพาะตามคำสั่งของแพทย์
กลไกการทำงานของยาลดกรดในกระเพาะ
การใช้ยาลดกรดในกระเพาะเป็นวิธีรักษาอาการกรดไหลย้อนที่เห็นผลทันที เนื่องจากตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม H2 blockers หรือ PPI เช่น โอเมพราโซล (Omeprazole) ที่เป็นยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร หลังรับประทานจะช่วยปรับเปลี่ยนกรดภายในกระเพาะให้มีค่าเป็นกลางมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้อาการแสบร้อนในอก และในคอทุเลาลง นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อน และลดกรดในกระเพาะแล้ว ยังช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้อีกด้วย
วิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อน
การบรรเทาอาการกรดไหลย้อนสามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้
ปรับพฤติกรรม
อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้วในข้างต้น ถึงหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคกรดในกระเพาะอาหารที่มาจากพฤติกรรม เพราะฉะนั้นเพื่อบรรเทาอาการกรดไหลย้อน และการลดกรดในกระเพาะอย่างยั่งยืน คือการปรับพฤติกรรม ไม่นอนทันทีหลังรับประทานอาหาร และนอนหมอนให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะ
งดอาหารบางประเภท
อาหารรสจัด หรือแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในสาเหตุที่กระตุ้นการเกิดกรดไหลย้อนด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นการหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดมาก ๆ และลดหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนให้ดีขึ้น
พบแพทย์
สำหรับใครที่มีอาการกรดไหลย้อนรุนแรง อาเจียนบ่อย อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง อาจเกิดจากหลอดอาหารอักเสบ ควรเข้ารับคำปรึกษาโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับยาและวินิจฉัยสาเหตุที่ถูกต้อง •