กระทรวงเกษตรฯ โดย กรมปศุสัตว์ โชว์ผลงานถ่ายทองค์ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตปศสัตว์ สู่เกษตรกรภาคเหนือตอนบน

วันที่ 2 สิงหาคม 2567นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดงานโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัดกรรมการผลิตปศุสัตว์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยมีผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 115 กระทระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านระบบประชุมทางไกลไปยังศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ อำเภอสันป้าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดแสดงผลงานและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ การพัฒนาเทคโมโลยีและนวัตกรรมด้านการส่งเสริมและการผลิตปศุสัตว์ในหน่วยงานสังกัดกรมปศุสัตว์ และหน่วยที่เกี่ยวข้อง ให้แก่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมถึงการขับเคลื่อนกลไกในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปศุสัตว์ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อภาคปศุสัตว์ให้เกิดการตระหนักรู้ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อการปฏิปติงานส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปศุสัตว์ของกรมปศุสัตว์ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ให้สอดคล้องและบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายอรรถกร เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยการนำของนายกรัฐมตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนเกษตรไทย มุ่งเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพด้วยการใช้แนวทาง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยกำหนดเป้าหมายสร้างรายให้พี่น้องเกษตรกร เพิ่มขึ้น 3 เท่าใน 4 ปี ตามแถลงวิสัยทัศน์ IGNITE AGRICULTURE HUB โดยขับเคลื่อนผ่าน 2 มาตรการ ได้แก่ มาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและความยั่งยืน และมาตรการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่การเพิ่มรายได้ ซึ่งทางด้านปศุสัตว์ จำเป็นต้องมีการบูรณากาการร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน สถาบันการศึกษา โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกร ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนทั้ง 2 มาตรการเพื่อนำพวภาคเกษตรไทยสู่ “ศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก” ควบดูไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความกินดีอยู่ดีของเกษตรกรไทย เป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจและสังคนไทย ตลอดจนเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับวิกฤติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการขับเคลื่อนการกิจยกระดับ MR. สินค้าเกษตร เน้นทำงานเชิงรุก สร้างกลไกการทำงานร่วมกันในทุกสินค้า พร้อมแก้ปัญหาให้ตรงจุด ดังนั้นนั้นต้องให้ความสำคัญการพัฒนาบุคลากรและทรัพยากที่มีอยู่ให้มีศักยภาพ สู่การทำงานอย่างเป็นระบบ มุ่งมั่น และร่วมแรงร่วมใจบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จไปอย่างลุล่วง

สำหรับโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตปศุสัตว์ ในเขตพื้นพื้นที่ภาคเหนือตอนบนในครั้งนี้ จัดขึ้น ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง จังหวังหวัดเชื่องใหม่ ประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน อาทิ นิทรรศการแสดงผลงาน ได้แก่ พันธุกรรมสัตว์พันธุ์ดีของประเทศไทย เครือข่ายสัตว์พันธุ์ดีของกรมปศุสัตว์ การจัดการอาหารสัตว์เพื่อการลดต้นทุนการผลิต ผลงามความสำเร็จด้านการผลิตสัตว์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการส่งเสริมและการผลิตปศุสัตว์ต่างๆ เช่น การสาธิตนวัตกรรมพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ระบบอัจฉริยะเพื่อการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์ การตัดพืชอาหารสัตว์ด้วยเครื่องจักรกรกลการเกษตร การเก็บสำรองเสบียงสัตว์ด้วยเครื่องม้วนก้อนหญ้าด้วยพลาสติก การใช้เทศโนโลยีการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์ด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนำร่องการสำรองเสบียงสัตว์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในยามขาดแคลน และช่วยเหลือเกษตรกรเลี้ยงโดนม – โคเนื้อในช่วงประสบภัยพิบัติ และการเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ “การพัฒนางานส่งเสริมปศุสัตว์ เชิงบูรณาการ” ภายใต้โครงการ พัฒนาศักยภาพนักส่งเสริม ปศุสัตว์และผู้นำเครือข่ายเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ตอนบน เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมมอบโคพันธุ์บีฟมาสเตอร์ยืมเพื่อการผลิตให้กับเกษตรกร จำนวน 6 ตัว พร้อมมอบเสบียงสัตว์ และมอบแมล็ดพันธุ์ท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ อีกด้วย

ด้านนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากข้อมูลปัจจุบัน ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในที่ภาคเหนือตอนบน กว่า 380,000 ราย จำนวนปศุสัตว์ 31,000,0000 ตัว กรมปศุสัตว์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนงานตามบโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นอย่างยิ่ง โดยได้จัดทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัดกรรมการผลิตปตสัตว์ขึ้น ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพื่อขับเคลื่อนงาน ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สำคัญ ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบัน เกษตรกร เสริมสร้างความภาคภูมิใจ และควานมั่นคงในการประกอบอาชีพเกษตรกร การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการสินค้าเกษตรตลอดโซ่อุปทาน นำงางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการบริหารจัดการ ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนได้รับประโยชน์สูงสุดรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อภาคปศุสัตว์