เผยแพร่ |
---|
พ่อเมืองนครพนม ขยายผลการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนคนนครพนม “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” สู่สถานศึกษา ส่งเสริมการสร้างรายได้ในครัวเรือน นำสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
วันนี้ (10 มิ.ย. 67) นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ตนได้เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมขยายผลส่งมอบหน่อกล้วยตานีตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนคนนคร “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้าน ต้นบำนาญในสวน โดยดำเนินการส่งมอบหน่อกล้วยตานี ให้กับโรงเรียนวังยางวิทยาคม เพื่อเป็นแปลงสาธิตให้กับนักเรียนได้ใช้ในการศึกษาเรียนรู้การปลูกกล้วยตานี ฝึกอาชีพงานฝีมือจากกล้วยตานี ตลอดจนเรียนรู้การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในการค้าขาย ใบกล้วยตานี หน่อกล้วยตานี และผลิตภัณฑ์จากใบกล้วยตานี พร้อมเป็นแปลงขยายหน่อกล้วยตานี สำหรับใช้ในการขยายพันธุ์ และผลิตหน่อกล้วยตานี ให้กับประชาชนที่มีความต้องการในพื้นที่ ณ โรงเรียนวังยางวิทยาคม หมู่ที่ 2 บ้านหนองนางด่อน ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม โดยมีนางสงวน จันทร์พร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม นางรณิดา เหลืองฐิติสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ร่วมกิจกรรม มีการมอบหน่อกล้วยตานีให้แก่นายอำเภอ สถานศึกษา หน่วยงาน ครัวเรือนโคก หนอง นา ผู้แทนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและประชาชนทั่วไปในพื้นที่อำเภอวังยาง พร้อมร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันปลูกต้นกล้วยตานีในแปลงปลูกกล้วยตานีโรงเรียนวังยางวิทยาคม จำนวน 330 ต้น
.
นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า จังหวัดนครพนม ตั้งเป้าปลูกกล้วยตานี 14,000 หน่อ ซึ่งได้สำรวจความต้องการของตลาด พบว่า มีความต้องการใบตองจำนวนมาก ทั้งในจังหวัดนครพนม และจังหวัดอุบลราชานี เพื่อนำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร เช่น แหนม หมูยอ กาละแม และพานบายศรี เป็นต้น ซึ่งใบตองกล้วยตานีมีความหนา เหนียว รีดแล้วไม่แตกง่าย จึงเป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี โดยตนตั้งเป้าหมายส่งเสริมการปลูกต้นกล้วยตานีให้ได้ 14,000 หน่อ เน้นกล้วยตานีหิน หลังปลูกแล้วประมาณ 1 ปีก็สามารถตัดใบขายได้แล้ว ส่วนหน่อที่งอกใหม่ก็สามารถขยายพันธุ์ต่อได้เรื่อย ๆ โดยปีนี้จะเน้นส่งเสริมการปลูกที่อำเภอวังยางเป็นอันดับแรก เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ซึ่งจังหวัดนครพนมได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีเป้าหมายคือการสร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อประชาชนมีความสุข จึงได้ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกกล้วยตานี โดยเน้นที่ครัวเรือนยากจน และครัวเรือนโคก หนอง นา ที่มีความพร้อมและศักยภาพเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่สนใจ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ ส่วนหน่อกล้วยได้จัดซื้อในพื้นที่จังหวัดนครพนม โดยใช้เงินที่ได้จากการทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบกองทุนส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม ไม่ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด
“กระทรวงมหาดไทยภายใต้การนำของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มี 10 นโยบายเน้นหนัก เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกหลักของการทำหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ทำให้ประชาชนมีความอุดมสมบูรณ์พูนสุขโดยถ้วนหน้า” โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเน้นหนักข้อที่ 1 “การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการสร้างรายได้โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และข้อที่ 8 คือ “การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การผลิต การตลาด และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้าภูมิปัญญาไทย” โดยอาศัยกลไกในระดับพื้นที่ของกระทรวงมหาดไทยทั้งในท้องที่และท้องถิ่น รวมไปถึงแนวทางการขับเคลื่อนงานของนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่เน้นย้ำให้คนมหาดไทยในทุกพื้นที่ได้ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการเสริมสร้างสิ่งที่เรียกว่า “ความยั่งยืน” ตามที่ได้มีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ซึ่งประเทศไทยมีผู้นำในทุกอณูของพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ที่เป็นกลไกมหาดไทยและเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ การสร้างความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมกับภาคีเครือข่าย เกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนา และตอบโจทย์ตามความต้องการของพื้นที่ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี มีความอุดมสมบูรณ์พูนสุข ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้กับประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน” นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวเน้นย้ำ
นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมขยายผลส่งมอบหน่อกล้วยตานีตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนคนนคร “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ของจังหวัดนครพนมนี้ เป็นแผนงานการขับเคลื่อนบูรณาการห่วงโซ่การผลิตกล้วย “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” โดยนำร่องการปลูกกล้วยในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และครัวเรือนโคก หนอง นา รวมถึงกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ที่สนใจและมีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ โดยให้การสนับสนุนต้นกล้วยในการปลูกและจัดหาแหล่งรับซื้อ พร้อมจัดหาแหล่งงบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินโครงการ เช่น งบพัฒนาจังหวัด การระดมทุนจากกองทุนชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตฯ การจัดทำผ้าป่า มาช่วยเหลือในการดำเนินโครงการ พร้อมส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้พี่น้องประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งได้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนมดำเนินการทันที (Action Now) ร่วมกับพี่น้องเกษตรกร ซึ่งสามารถปรากฏเป็นรูปธรรม เห็นได้จากการส่งมอบหน่อกล้วยตานี ให้กับโรงเรียนวังยางวิทยาคม เพื่อเป็นแปลงสาธิตให้กับนักเรียนได้ใช้ในการศึกษาเรียนรู้การปลูกกล้วยตานี ฝึกอาชีพงานฝีมือจากกล้วยตานี ตลอดจนเรียนรู้การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในการค้าขาย ใบกล้วยตานี หน่อกล้วยตานี และผลิตภัณฑ์จากใบกล้วยตานี พร้อมเป็นแปลงขยายหน่อกล้วยตานี สำหรับใช้ในการขยายพันธุ์ และผลิตหน่อกล้วยตานี ให้กับประชาชนที่มีความต้องการในพื้น
.
นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวต่ออีกว่า จังหวัดนครพนม มีการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ ที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากใบกล้วยตานี เช่น หมูยอ ธุรกิจแหนม การห่อข้าวต้มมัด การทำพานบายศรี ขันหมากเบ็ง เศียรพญานาค บูชาองค์พระธาตุพนม และพระธาตุสำคัญประจำวันเกิด ทั้ง 7 พระธาตุในจังหวัดนครพนม รวมถึงการทำพานบายศรีบูชาพญาศรีสัตตนาคราช ให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดนครพนม ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จังหวัดนครพนมจึงส่งเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชนนำประชาชนสู่ความสุข โดยการบูรณาการทุกภาคส่วนภาคีเครือข่าย ภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคศาสนา ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อมวลชน ร่วมกันเป็นพลังในการขับเคลื่อนในรูปแบบประชารัฐ ใช้กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อจัดหารายได้สมทบกองทุนส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม “ใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” และนำไปจัดซื้อพันธุ์กล้วยตานีให้กับครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง ที่มีสมรรถภาพในการทำการเกษตร และครัวเรือนโคก หนอง นา ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable village) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าคิริวัณณวลี นารีรัตนราชกัญญา และโครงการตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า Change for Good และเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
“การบูรณาการรวมกลุ่มกันเป็นห่วงโซ่มูลค่าการผลิตกล้วย (Value Chain) จะเป็นการกระตุ้นความต้องการซื้อและความต้องการขาย ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน โดยชุมชนสามารถผลิตได้เองตั้งแต่กระบวนการ “ต้นน้ำถึงปลายน้ำ” โดยเริ่มจากต้นน้ำ คือ การปลูกต้นกล้วยไว้ในพื้นที่บริเวณโดยรอบที่พักอาศัย หรือ แปลงสวนที่ว่าง เพื่อนำมาเป็นอาหาร และใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วย กลางน้ำ คือ นำส่วนของต้นกล้วยมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เช่น นำใบมาทำเป็นภาชนะใส่ หรือ ห่ออาหาร นำผลกล้วยมาแปรรูปยืดระยะเวลารับประทาน นำต้นกล้วยมาเป็นอาหารสัตว์ หรือ แปรรูปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ปลายน้ำ คือ การรวบรวมและนำไปขายให้กับผู้ที่มีความต้องการซื้อ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะช่วยเพิ่มรายได้ ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ตามแบบโมเดล BCG หรือ Ecosystem ที่ชุมชนสร้างขึ้นเองและใช้กันเอง ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดขยะชุมชนและลดความสูญเปล่าได้ อันจะทำให้เกิดการส่งเสริมเศรษฐกิจภาพรวม เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ส่งผลดีต่อพี่น้องประชาชนชาวนครพนมได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” นายวันชัยฯ กล่างทิ้งท้าย
#WorldSoilDay #วันดินโลก
#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI
#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข
#SoilandWaterasourceoflife
#SustainableSoilandWaterforbetterlife
#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน
#SDGsforAll #ChangeforGood