‘บางจาก’ ชูผลงาน 5 ปี มูลนิธิใบไม้ปันสุข เดินหน้าภารกิจหนุนการศึกษา-สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

วันที่ 20 กันยายน 2565 เมื่อเวลา 10.00 น. ห้องใบไม้ สำนักงานใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้จัดงานแถลงข่าว “5 ปี มูลนิธิใบไม้ปันสุข” เพื่อถ่ายทอดความสำเร็จ ในการสนับสนุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินการ 5 ปี หลังการจัดตั้งในปี 2560 ผ่านโครงการต่างๆครอบคลุมเยาวชนกว่า 15,000 คน จากสถานศึกษาเกือบ 200 แห่ง ใน 52 จังหวัดทั่วประเทศ และจัดแถลงข่าวตรงกับวันเยาวชนแห่งชาติ 20 กันยายน 2565 ประกาศเป้าหมายเดินหน้าผลักดันคุณภาพชีวิตเยาวชนไทยต่อเนื่องผ่าน 3 โครงการสำคัญอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งให้เยาวชนอ่านออกเขียนได้ เสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ ผ่านโครงการ อ่านเขียน เรียนสนุก ปั้นเด็กจิ๋ว เป็นเด็กแจ๋ว ด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการ รักปันสุข จูเนียร์ ปลูกฝังสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อม 5 เดือนแรก รีไซเคิลขยะกว่า 4 พันตัน และ โครงการโซลาร์ปันสุข ร่วมกับมูลนิธิมีชัย ติดตั้งโซลาร์เซลล์และส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ตามพันธกิจของ SDG ขององค์การสหประชาชาติ

ยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ประธานมูลนิธิใบไม้ปันสุข กล่าวว่า มูลนิธิก่อตั้งมา 5 ปีได้ ต้องขอบคุณประธานบริหาร บางจาก ที่มีส่วนส่งเสริมให้ความสำคัญการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่บางจากมีดดำริ ผมและกรรมการในปี 60 เริ่มทำงาน จนเห็นผลในวันนี้ การศึกษาและการทำงานร่วมกับเยาวชน ครูและนักเรียน เกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีผู้สนับสนุนอย่างบางจากและพี่เลี้ยงหลายท่าน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างการเขียนการอ่านและมีอีกหลายงานที่ให้ความสนใจ
ในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสังคมไทย การพัฒนาให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDG เป้าหมายหลักและขับเคลื่อนสู่เป้าหมายที่ 13 ต่อสู้ปัญหาโลกร้อน ปลูกฝังพฤติกรรมที่ยั่งยืน อย่าง BCG

โชคดีบางจากมีพันธมิตรที่ทำให้มูลนิธิมีความแข็งแรงขึ้น ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อย่าง ทุ่งสักอาศรม ที่ช่วยเหลือเด็กให้อ่านออกเขียนได้ ในโครงการสิ่งแวดล้อม ก็มีบางจากสนับสนุนอยู่แล้ว ยังมี SCG ตอนหลังเป็น SCG Chemical จัดการขยะในโรงเรียน และเก็บน้ำมันพืชใช้แล้ว มาขับเคลื่อนธุรกิจแนว BCG ( โมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่) และเราจะเห็นน้ำมันเครื่องบินเจ็ตจากน้ำมันพืชใช้แล้ว เป็นการจัดการกระบวนการ BCG ด้วย หวังว่าบางจากจะเป็นรายแรกที่ทำเรื่องนี้ เป็นเรื่องดีที่สอดคล้องกับแก้ต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน และยังมีมูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ ภายใต้โรงเรียนมีชัยพัฒนา โรงเรียนต้นแบบของไทย ที่คาดหวังว่า ศธ. นำไปต่อยอดโดยเฉพาะโรงเรียนหุ้นส่วน และมูลนิธิใบไม้ปันสุข ได้มีส่วนร่วมอย่างแผงโซลาร์เซลล์ให้โรงเรียนในมูลนิธิมีชัย

 

นอกจากนี้ มูลนิธิยังสนับสนุนในเรื่องสติกเกอร์ไลน์ ที่ออกมาล่าสุด ถือเป็นเรื่องดี ถ้าเราช่วยกัน เพียง 50 บาท นอกจากนี้ บางจากยังมีแอพฯและบัตรสมาชิกที่สามารถมีส่วนร่วมกับหลายมูลนิธิผ่านการเติมน้ำมันและกล่องบริจาคในร้านอินทนิลโดยวางไป 200 สาขาแล้ว หวังอย่างยิ่งว่า จะเป็นก้าวสำคัญของมูลนิธิที่เปิดอย่างเป็นทางการ พัฒนาอย่างยั่งยืนสู่สถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม อยากให้จับต้องเกิดผลและต่อเนื่อง การที่เรามีคนดีเป็นเยาวชนในวันนี้ ก็เติบโตอย่างมีคุณภาพและลดการทุจริตคอรัปชั่น สร้างสิ่งที่ดีต่อสังคมไทย

จากนั้น ในวงเสวนา 4 ประสาน ขับเคลื่อน 3 โครงการอย่างยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อความยั่งยืน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงโครงการที่มุ่งการอ่านออกเขียนได้ว่า การทำกิจกรรมเพื่อสังคมของบางจาก คนที่โตกับบางจาก เรารู้ว่าบริษัททำธุรกิจควบคู่กับการดูและสังคมและสิ่งแวดล้อม เราเติบโตกลางชุมชนจึงต้องดูแลให้ชุมชนสบายดี

เราจะมุ่งเรียนรู้แบบใหม่ไม่ได้ถ้าไม่ทำให้รากฐานเข้มแข็ง การทำอะไรอย่างยั่งยืนจะไม่ยั่งยืน ถ้าเยาวชนอ่านออกเขียนไม่ได้ เราทำ CSR บริษัทแรกๆ เช่น รับน้ำมันพืชใช้แล้วทำไบโอดีเซล มาเป็นน้ำมันเครื่องบิน ดูแลสังคม ชุมชนสัมพันธ์ มูลนิธินี้เป็นกระบวนการในตัว ตอนนั้นอยู่ DCPG โดยความเห็นชอบของคุณชัยวัฒน์ (โควาวิสารัช-ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่) ตั้งมูลนิธิใบไม้ปันสุข ดังนั้น สังคมยังไม่ดีหรอก ถ้าการศึกษาไม่มั่นคง ส่วนโลโก้มูลนิธิที่เป็นผีเสื้อสื่อถึงการเปลี่ยนรูป เริ่มจากดักแด้ เยาวชนถ้าเติบโตอย่างแข็งแรงก็โบยบินได้อย่างแข็งแรง

ไม่ว่าเราจะไปตรงไหน การศึกษาสำคัญ ได้คุยกับดร.จงกลม โครงการอ่านเขียนเรียนสุข ก่อนหน้านี้ ชื่ออ่านออกเขียนได้ง่ายนิดเดียว ดร.จงกลมตั้งมาเพราะตกใจมากว่า หลายคนอ่านออกเขียนไม่ได้ บางคนในพระโขนง เหมือนอ่านได้แต่จำจากภาพ ถ้าเราไม่แก้ไขการศึกษา เราจะไม่ไปไหนได้เลย หรือแม้แต่ปูนซีเมนต์ไทย (SDG)

ด้านอาจารย์ในดวงตา ปทุมสูติ นักวิชาการศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม กล่าวว่า สิ่งที่เห็นใน 3 สิ่ง เราเห็นเหมือนกันคือปัญหา การที่อ่านออกเขียนได้ เป็นทั้งปัญหาตัวเด็กและสังคม เราเห็นค่าของการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่แค่การสื่อสาร แต่เด็กคนหนึ่งได้เปิดโลกที่กว้างขึ้น และเปลี่ยนชีวิตคนหนึ่ง ค้นพบศักยภาพและตัวตนผ่านสะพานของการอ่านออกเขียนได้ และเห็นอีกประเด็น เราเห็นคล้องกันในการทำงานทิศททางเดียวกัน กระบวนการทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่แค่ฉาบฉวย แต่ต้องอบรมให้ครูติดอาวุธ ใช้เครื่องมือเป็น เพื่อชนะให้อ่านออกเขียนได้ เป็นสงครามในโรงเรียน อย่างเราอบรมไม่พอ ไม่สามารถสร้างความยั่งยืน ต้องนิเทศติดตามการสอน ก่อนเป็นออนไลน์ ต้องนิเทศออนไซน์ก่อน แล้วทีมงานบางจากและมูลนิธิ

จนทีมงานนิเทศและแนะนำการสอนได้ ให้สานต่อโครงการได้ เวลาเห็นบริบทโรงเรียน เด็กที่อ่านออกเขียนไม่ได้แล้วต้องสอน เหมือนกับการรบ ต่อสู่้กับความไม่รู้หนังสือ ครูต้องหาสาเหตุ ทำไมบางคนอ่านได้แต่เขียนไม่ได้ เหตุปัญหาเหมือนเส้นผมบังภูเขาที่ครูไม่ทันสังเกต แต่พอติดตามก็แนะนำได้ ครูลองทำแบบนั้นแบบนี้ เป็นการต่อยอดจากอบรม ครูได้ลงสนามจริง ความไม่รู้ของเด็ก เวลาไปรบจริง จะมีปัจจัยแวดล้อมอีกมาก

ดังนั้น เวลาครูลงสนามจริง จะปัจจัยนอกเหนืออีกมาก พอเริ่มเห็นปัญหามากขึ้น ก็เกิดทักษะแก้ไขปัญหาได้ เด็กใน 3 จังหวัดชายแดนใต้แบบหนึ่ง เด็กม้งปากาเกอญอก็อีกแบบ ทำไมสักอาศรมจึงร่วมงานกับมูลนิธิเพราะเห็นปัญหาร่วมกัน

ทุ่งสักอาศรมเราทำก่อนแล้ว และทำกับโรงเรียนทั่วประเทศ แต่เฉพาะทำกับบางจาก จนแตกดอกเป็นมูลนิธิ เราทำตามจำนวน เวลาเคลื่อนไปแล้วจำนวนที่ทำก็ขยายตัวมากขึ้น แล้วในช่วงออนไลน์ ไม่ต่างกับสอนออนไซน์ การติดตาม การนิเทศ มันเป็นการประดับประคองตามสภาพ ในเหตุปัจจัยเราได้ดีที่สุดแค่ไหน สิ่งที่เราพบในการออนไซน์

เราลงลึกกับเด็กรายบุคคล แต่ออนไลน์ ทำได้เท่านี้ สิ่งที่ปรับจากออนไซน์เป็นออนไลน์ก็ปรับเป้าหมาย ที่ปกติเน้นผลสัมฤทธิ์ในตัวเด็ก ในช่วงออนไซน์จะเห็นว่าเด็กผ่านโครงการกว่า 70% มีทดสอบทั้งก่อนและหลังผ่านโครงการ เราทำโครงการไม่ใช่แค่แก้ปัญหาและยังป้องกันปัญหาด้วย

ก่อนออนไลน์ จะทำใน ป.1 แต่พอแก้ในชั้นป. 2 จนถึงชั้นสุด มีก่อนโครงการในการทดสอบได้ 0 หลังผ่านโครงการได้คะแนนเต็ม กระบวนการและโครงการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพ แต่ศักยภาพของครูในการสอนแม่นยำแค่ไหน

นายกฤษดา เรืองโชติวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ESG เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด กล่าวว่า เราเห็นปัญหาขยะพลาสติก ต้องบอกจริงๆว่าสาเหตุเกิดจากพฤติกรรม เราเลยคิดว่ามีเครื่องมืออะไร จึงเอาความรู้เป็นเครื่องมือ พลาสติกยังมีค่ามีคุณสมบัติที่ทำอะไรได้อีก เป็นวัสดุราคาถูก ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เชื่อว่าเครื่องมือจะตอบโจทย์ความยั่งยืน ใช้พลังงานน้อย ก่อของเสียน้อย ก็ประหยัดได้ทุกอย่าง ได้จุดนั้น เราก็ทำให้คนเข้าใจ เรามีโครงการรักปันสุข นำเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เด็กมีความรู้ ซึ่งเด็กมีความเข้าใจมากขึ้่น เด็กๆทุกคนจับรู้ว่าเป็นแก้ว เป็นกระดาษ เป็นพลาสติก

ถ้าอย่างนั้น เรามาร่วมมือกับบางจาก ดูแลเด็กๆ ทำยังไงให้รู้จักการแยะวัสดุให้ถูกต้องและสร้างคุณค่าได้ ก็ไปสำรวจ ก็จริงๆแล้ว พบว่ามีถุงนมพลาสติก ถุงนมโรงเรียนเป็นพลาสติกที่ดีมาก เลยชวนครูหาทางออก ทำโครงการ พวกถุงนม ถ้าเก็บถุงนมยังไงไม่ให้เน่า แล้วนำมาทำเก้าอี้คุณภาพดี เด็กๆเริ่มมองวัสดุใช้งานหมุนเวียนได้ หรือน้ำจากเศษนมรดน้ำต้นไม้ได้

หรือเศษอาหาร ลดยังไง หรือปรับเปลี่ยนเป็นปุ๋ย เด็กๆเริ่มเรียนรู้จากวัสดุและขยายผลต่อที่บ้านได้อีก และสร้างรายได้ได้อีก เป็นวิทยาศาสตร์และวัสดุศาสตร์เป็นอีกตัว เราเริ่มคุยกับโรงเรียนและผู้บริหาร ก็ประมาณหมื่นคนทั่วประเทศมาร่วมโครงการ จริงๆตัวโรงเรียนสามารถเป็นธนาคารขยะได้ เก็บขยะ ใช้แอพลิเคชั่นคล่อง มีเรื่องเก็บข้อมูล เด็กสามารถนำวัสดุแลกเป็นคะแนนหรือสินค้าที่มีค่าสำหรับเด็ก
ต้องบอกว่าโครงการที่ทำมา 7-10 เดือน ของเสียที่นำกลับไปหมุนเวียนกว่า 6 พันกิโลกรัม ถ้าคิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกก็ได้ 17,000 กิโลกรัม แค่หาเครื่องมือ รู้จักแยกขยะ ช่วยสามารถลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก

ในดวงตากล่าวอีกว่า การอ่านตัวอักษรของไทยจะเป็นแบบไหน มักสอดคล้องกับบทกลอน เป็นกุศโลบายที่ทำให้เด็กท่องสนุก ถ้ามีบทร้อยกรอง เด็กจะท่องง่ายขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุด เมื่อเด็กขึ้นชั้น ป.1 เด็กและครูต้องเปลี่ยนวิธีการสอน คือการอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ เพื่อใช้สะกดคำ แต่พอลงนิเทศติดตาม ถ้าครูบางคนอบรมแล้วลืม ใช้วิธีการเดิม เด็กกลางๆหรือเรียนรู้ช้า ที่ต้องการความลึกซึ้ง ถ้าเราไม่เปลี่ยน ก.ไก่ ข.ไข่ เป็น ก.กา ข.ขา

เราจะพบปัญหาว่าเป็นจุดเล็กที่สำคัญ เพราะครูหลายคนมองไม่เห็นปัญหา มีภาระมากมาย งานที่ไม่เกี่ยวกับการสอน ดังนั้น สิ่งที่ครูไม่รู้คือ กระทรวงฯพอวัดผลเช่น RT ก็วัดผลการอ่านก่อน หลายโรงเรียนบอกเด็กอ่านได้ แต่พอเขียนกลับเขียนไม่ได้ ตกกว่า 50% เราพบว่าสะกดแม่น ผันเสียงแม่น แต่ให้เขียนปุ๊บ กลับเขียนไม่ได้ เพราะไม่รู้เสียงในคำ หรือนึกถึงหน้าตาตัวพยัญชนะไม่ออก ไม่รู้จักรูปผันเสียง หรือสะกดไม่เป็น ซึ่งกลุ่มนี้แก้ง่ายที่ปรับการสอนของครู

เมื่อถึงจุดนี้ สิ่งที่เราทำคือต้องอบรมครู ทำให้เห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น พอเราลงลึก ครูก็จะเห็นทางมากขึ้น มีครูหลายคนทุกข์ใจ ไม่จบเอกภาษาไทยหรือสายสังคม พออบรมจบตาสว่างเลย และเพิ่งพบล่าสุดที่บางโรงเรียน มีบัญชีคำพื้นฐาน เขาจะเรียนตามลำดับตัวอักษร เริ่มจาก “ก็” แต่ไม่รู้จะเรียนสระอะไร เมื่อเรียงตามแบบนี้ ดังนั้น ครูไม่เข้าใจ ก็จะสอนเรียงตามลำดับ ซึ่งไม่ได้ หนังสือแบบเรียนที่ดีและเหมาะคือเรียงตามทักษะ มักพบว่าหนังสือในท้องตลาดหรือของกระทรวง ยังขาดคุณสมบัติแบบนี้อยู่ เปิดมาหน้าแรก สระสับสนปนกัน จนครูไปไม่เป็น

นอกจากนี้ นางกลอยตา กล่าวว่า ก็เป็นจุดที่ช่วยได้ และพบพันธมิตรที่ดี มาช่วยเรื่องการสอนและ SCG ก็มาช่วยสิ่งแวดล้อม และการพูดถึงการเป็นคนดี พนักงานบางจากมีวัฒนธรรมว่า เป็นคนดี เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น เรามีพี่ๆอาสา ที่เข้าอบรมแล้วก็มีอาสาโครงการรักปันสุข และอ่านเขียนเรียนสนุก การดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นดีเอ็นเอของเรา พอมาอยู่บางจาก เขาอนุญาตให้เราทำ CSRโดยบริษัทสนับสนุน หัวใจได้พองฟู ตอบแทนการรับรู้จากหัวหน้างานและสังคม นอกจากนี้ อยากขอบคุณทางผู้บริหารและพนักงานที่ทำให้ห้องมีผัก จากโครงการและมูลนิธิ เกิดจากช่วงโควิด-19 คิดว่าพนักงานควรทำอะไรที่บ้านในช่วงล็อกดาวน์ “พอ พัก ผัก” เราแจกเมล็ดพันธุ์ให้พนักงานไปปลูกกินในบ้าน พอจบโควิดก็ปลูกอยู่ที่ยอดตึก รายได้จากขายผักก็เข้ามูลนิธิ ใครเป็นวิทยากรอบรม ก็เอาค่าตอบแทนเข้ามูลนิธิ

ทั้งนี้ นายกฤษดา กล่าวอีกว่า สิ่งที่ต้องทำให้เข้าใจง่ายๆเลย เศษอาหาร วัสดุที่เหลือ มีคนอยากใช้ ในส่วน SCG ตอนนี้นอกจากการสร้างความรู้กับเด็ก เราขยายผลไปทางโรงแรม มหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาล ในเรื่องการพัฒนา ต้องปรับกระบวนการคิด เราสื่อสารคนเหล่านี้ ทุกคนอยากทำดี แต่ในเรื่องการทำดีแค่ยังไม่เห็นทาง ต้องเริ่มให้องค์ความรู้ การสื่อสาร

“ในเรื่องของการให้และดูแลสังคม การเป็นคนดี อยู่ในตัวบางจาก มูลนิธิแข็งแรงและดูแลตัวเองได้แล้ว แต่ยังต้องการสนับสนุนจากพันธมิตร เราต้องติดตามโครงการนักเรียนตั้งแต่เชียงใหม่ถึงนราธิวาสต่อ นี่คงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นและเราจะทำต่อ และยังต้องขอการสนับสนุนแรงกาย แรงใจ สมองและแรงทรัพย์” นางกลอยตา กล่าวทิ้งท้าย