Sustainable Aviation Fuel (SAF) อีกก้าวสำคัญในการลดโลกร้อน

ตอบโจทย์ BCG Economy Model รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหารมาผลิต “เชื้อเพลิงเครื่องบินคาร์บอนต่ำ” ครั้งแรกในไทย

 

Sustainable Aviation Fuel (SAF) หรือเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อโลกยั่งยืน ที่จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมการบินลงได้ โดยเฉพาะเมื่ออุตสาหกรรมการบินวางแผนจะก้าวเข้าสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี ค.ศ. 2050

วันนี้ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ตอกย้ำความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอีกครั้ง ด้วยการร่วมกับพันธมิตรอย่างบริษัท ธนโชค ออยล์ ไลท์ จำกัด และ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) ร่วมทุนกันจัดตั้งบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF) เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF จากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหาร (Used Cooking Oil)  ด้วยงบลงทุน 8,000-10,000 ล้านบาท โดย SAF นั้นเป็นเชื้อเพลิงที่ภาคการบินทั่วโลกสามารถนำมาใช้ทดแทนได้ทันทีโดยไม่ส่งผลต่อเครื่องยนต์

ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ BSGF เป็นผู้การผลิต “เชื้อเพลิงเครื่องบินคาร์บอนต่ำ” จากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหารแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นแห่งที่สองในภูมิภาคเอเชีย  

ตอกย้ำความเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ด้วยธุรกิจ SAF ที่คาร์บอนต่ำลงกว่า 80%

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เมื่อถนนทุกสายมุ่งสู่ Net Zero ทุกๆ อุตสาหกรรมต่างก็หาวิถีที่เหมาะสมกับตนเอง ตัวอย่างเช่น วงการแข่งรถอย่าง Formula 1 ก็เตรียมเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน Sustainable Fuel 100% ในปีค.. 2026

สำหรับอุตสาหกรรมการบินนั้น SAF จากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหารจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้กว่า 80% เทียบเท่าการบินด้วยเชื้อเพลิงการบินในปัจจุบัน โดยหน่วยผลิต SAF ที่ BSGF กำลังจะตั้งขึ้นคาดว่าจะพร้อมให้บริการอุตสาหกรรมการบินทั้งในและต่างประเทศในไตรมาส 4 ของปีค.ศ. 2024 โดยเริ่มจากกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 ล้านลิตรต่อวัน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทางและขนส่งทางอากาศลงได้ราว 80,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

BSGF ยังพร้อมขยายเพิ่มกำลังการผลิตรองรับความต้องการใช้ SAF ตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้นทั่วโลก สอดคล้องตามที่สหภาพยุโรปกำหนดสัดส่วนการผสม SAF ในน้ำมันอากาศยานที่จะบินเข้าสู่สนามบินในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (จากการลงมติของสมาชิกสภายุโรป เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กำหนดไว้ที่ 2% ในปีค.ศ. 2025 และเพิ่มขึ้นเป็น 6%, 37% และ 85% ในปีค.ศ. 2030, 2040 และ 2050 ตามลำดับ) รวมถึง มาตรการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และสมาคมการบินระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) ที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปีค.. 2050 ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนฯ ลงได้อีกมากในอนาคต 

ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ป้องกันการใช้น้ำมันซ้ำหรือทิ้งไม่ถูกที่

ต่อคำถามสำคัญที่หลายคนสงสัยว่า แล้วน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหารที่ว่ามาจากไหน? เก็บรวบรวมอย่างไร? ธนวัฒน์ ลินจงสุบงกช กรรมการผู้จัดการบริษัท ธนโชค ออยล์ ไลท์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการน้ำมันพืชใช้แล้วทั้งระบบทั่วประเทศไทยมากว่า 4 ทศวรรษ เล่าให้ฟังว่าเป็นน้ำมันที่ใช้แล้วจากการทำอาหารที่ธนโชคฯ รวบรวมมาจากแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดต่าง ๆ รายใหญ่ๆ ในตลาด จากกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่ทำอาหารหรือของขบเคี้ยวส่งออกกว่า 98% และจากเครือข่ายที่ดูแลการรับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วจากชุมชน ที่พักอาศัย ฯลฯ ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวมเป็นปริมาณน้ำมันใช้แล้วทั้งสิ้นราว 17 ล้านลิตรต่อเดือน

“เมื่อน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหารสามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันเครื่องบินคาร์บอนต่ำได้นั้น จะยิ่งส่งผลดีต่อการรณรงค์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการนำเอาน้ำมันพืชใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำหรือระบายลงพื้นที่สาธารณะหรือเทลงท่อน้ำทิ้งและแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนโชคฯ ดำเนินมาตลอดผ่านโครงการเพื่อสังคมต่าง ๆ ซึ่งจากนี้ไปธนโชคและกลุ่มบางจากฯ ในนาม BSGF ก็จะมีความร่วมมือในการรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหารเพิ่มเติมเพื่อนำมาผลิต SAF ต่อไป”

ส่งผลดีทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ BCG Economy Model อย่างครบวงจร

BSGF ยังได้รับการสนับสนุนด้านจากความชำนาญในการปฏิบัติการโรงงานไบโอดีเซล เทคโนโลยี และ วัตถุดิบ จากปริมาณ feedstock ที่มีเพียงพออย่างบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน)

SAF มีหลายวัตถุดิบ แต่ผลิตภัณฑ์ SAF จากน้ำมันใช้แล้วในการทำอาหารนั้น เรียกได้ว่าส่งผลดีทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ BCG Economy Model อย่างครบวงจร ซึ่งการร่วมลงทุนครั้งนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบีบีจีไอในการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปีค.. 2050 กิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า ผลิตภัณฑ์ SAF นี้สอดรับทางตรงกับเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่นำวัสดุต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน 

การร่วมบรรเทาวิกฤตโลกร้อนในทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นเรื่องของทุกคน ความพร้อมในการผลิต SAF ผ่าน BSGF ในครั้งนี้จะช่วยสร้างระบบนิเวศรองรับความต้องการของผู้โดยสารทางอากาศอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแค่ลดการปล่อยคาร์บอนฯ สู่ชั้นบรรยากาศ แต่ยังช่วยลดจัดการน้ำมันพืชใช้แล้วอย่างเป็นระบบ ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กลายมาเป็นเชื้อเพลิงมูลค่าสูงที่ทั่วโลกต้องการ เพื่อให้ทุกๆ การเดินทางสามารถเลือกใส่ใจโลกยั่งยืนกันได้ด้วย