ชู SDG move ขับเคลื่อน ววน. เพื่อการพัฒนากลุ่มภาคใต้ชายแดน

สกสว. ร่วมกับหน่วยบริหารจัดการทุน จัดเวทีรับฟัง และ นำเสนอข้อมูลความต้องการด้าน ววน.ระดับพื้นที่ (กลุ่มภาคใต้ชายแดน) วิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้ม สถานการณ์ในอนาคต ภายใต้แนวคิด SDG move เป็นแผนที่นำทางด้านการสนับสนุนการวิจัย และ การขับเคลื่อนด้วย ววน.  

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับหน่วยบริหารจัดการทุน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) / สวก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) / NIA จัดเวที นำเสนอข้อมูลความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมระดับพื้นที่กลุ่มภาคใต้ชายแดน โดยมี ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำ สกสว. ผู้บริหารและผู้แทนหน่วยบริหารจัดการทุน รวมถึงคณะวิจัยจากศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG move) ภาคีเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partners) ได้แก่ ผู้แทนของหน่วยงานในระบบ ววน. ในพื้นที่ (สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย) ผู้แทนหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน องค์กรภาคประชาสังคมและเอกชนในพื้นที่ เข้าร่วมเวที

โอกาสนี้ ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง กล่าวว่า สกสว.มีบทบาทหน้าที่ในการจัดแผนและกรอบงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ ในทุกมิติ ดังนั้น ความต้องการ สถานการณ์ของพื้นที่ จึงเป็นข้อมูลสำคัญ ที่ สกสว.นำมาประกอบการจัดทำแผนด้าน ววน. จึงได้สนับสนุนโครงการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน เพื่อให้ได้ข้อมูลความต้องการด้าน ววน. ระดับพื้นที่ในระดับภาค 6 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน แก่ ผศ.ดร.ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG move)  และคณะวิจัยตามภูมิภาค เพื่อจัดทำแบบสอบถามและสัมภาษณ์จากผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ ผู้ทรงคุณวุฒิ เครือข่ายนักวิจัย ผู้แทนของหน่วยงานในระบบ ววน. ในพื้นที่ (สถาบันการศึกษา, หน่วยงานวิจัย) ผู้แทนหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน องค์กรภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคเอกชนในพื้นที่

ผศ.ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับ

จากนั้น ทีมวิจัยจะนำไปสังเคราะห์ และสรุปเป็นข้อเสนอให้แก่ สกสว.นำไปพิจารณายกร่างแผน ววน.และ การกำหนดเป้าหมายสำคัญ ๆ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงสถานการณ์และความต้องการทางสังคมไทยและภูมิภาค ให้ความต้องการของพื้นที่ถูกส่งต่อและขับเคลื่อนด้วย ววน. อาทิ การขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำโดยการเพิ่มโอกาส และยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ การพัฒนานโยบายและต้นแบบสำหรับสังคมคุณธรรม การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และการเสริมสร้างธรรมาภิบาล การพัฒนาเมืองน่าอยู่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมสู่ทุกภูมิภาค การพัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อสร้างสังคมไทยไร้ความรุนแรง การพัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

ด้าน ผศ. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอข้อค้นพบจากแบบสอบถามและสัมภาษณ์ ว่า จากการสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาในภูมิภาคภาคใต้ชายแดน สามารถระบุประเด็นท้าทายสำคัญของภูมิภาคดังกล่าวออกเป็น 10 ด้าน ในที่นี้ขอกล่าวถึง 5 มิติ คือ (1) มิติสังคมด้านปัญหายาเสพติด ผู้ให้ข้อมูลให้ความเห็นว่ายาบ้า น้ำกระท่อม กัญชาและยาเสพติดอื่น แพร่หลายในพื้นที่อย่างมาก อย่างไรก็ดี กระบวนการป้องกันก่อนเกิดปัญหายังไม่ทั่วถึง รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดปัญหายาเสพติดในพื้นที่มีเป็นจำนวนมาก เช่น ความยากจน ครอบครัวแตกแยก การหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชน (2) มิติเศรษฐกิจ ด้านการค้าชายแดน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ทำให้ด่านชายแดนระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียได้ปิดทำการ ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ทั้งในส่วนของการขนส่งสินค้าที่ราคาแพงขึ้น ต้นทุนเพิ่ม (มาเลเซียเข้าได้ 4 กิโลเมตร ไทยเข้าได้ 8 กิโลเมตร) ทำให้เกิดการส่งออก นำเข้านอกระบบ (3) มิติสังคม ด้านการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับคุณภาพของบุคลากรทางการศึกษาด้วย โดยเฉพาะครูในระบบโรงเรียนไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ตามที่ควรจะเป็น อีกทั้งครูมักสอนตามอัตภาพ ไม่จริงจังทุ่มเทในการสอน อ้างว่าสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ทำให้ครูไม่มีแรงจูงใจในการทำหน้าที่ (4) มิติด้านการเกษตร ที่กำลังถดถอย เนื่องจากพืชเศรษฐกิจหลักที่เป็นรายได้พื้นฐานของประชาชนในภาคใต้ชายแดน ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือนในวงกว้าง ซึ่งเป็นผลจากนโยบายของภาครัฐที่ยังไม่มีประสิทธิภาพที่จะแก้ไขปัญหาระยะยาว ประกอบกับภาพจำเกี่ยวกับความหวาดกลัวที่มีต่อเหตุก่อความไม่สงบในพื้นที่ของผู้คนภายนอก เช่น กลุ่มพ่อค้าคนกลาง นักลงทุน และประชาชนทั่วไป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน สินค้าภาคเกษตรในภาคใต้ชายแดนส่วนใหญ่ที่ขายไม่ได้ราคา เพราะไม่มีการการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (value  added) ส่วนใหญ่จะขายในช่วงฤดูกาลทำให้ราคาตกอย่างมาก เช่นเดียวกับ (5) มิติสันติภาพ ที่พบว่ามีความรุนแรงลดลง แต่สถานการณ์โดยรวมไม่ดีขึ้น แม้รัฐบาลจะยังคงสนับสนุนให้มีการพูดคุยสันติภาพ

อย่างไรก็ดี สกสว.และคณะนักวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดเวที รับฟัง และนำเสนอข้อมูลความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมระดับพื้นที่กลุ่มภาคใต้ชายแดนในครั้งนี้ จะเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญให้แผน ววน.นั้นเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งจากสถานการณ์โควิ-19 สถานการณ์โลก และ สถานการณ์ในพื้นที่