เรื่องเวิร์คเวิร์ค!! เอ็นไอเอแชร์อนาคตคลื่นลูกใหญ่แห่งภาคแรงงานปี 2030 ความเสี่ยงที่ท้าทายกว่าเคย และคัลเจอร์ใหม่ที่ต้องตั้งรับ

แม้ว่า “โลกอนาคต”จะเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง แต่ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการคาดการณ์ภาพเหตุการณ์ล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ ๆ สำหรับตอบโจทย์การใช้ชีวิตให้มีความสะดวกสบายและทันกับการเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ จากความสำคัญดังกล่าวสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ภายใต้บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) จึงได้ร่วมกันจัดทำ รายงานวิจัยการคาดการณ์อนาคตประเทศไทยปี พ.ศ. 2573 (Futures and Beyond: Navigating Thailand toward 2030) ซึ่งในวันนี้จะมาแชร์เรื่องอนาคตที่เกี่ยวข้องกับ “การทำงานในอีก 10 ปีข้างหน้า” ใครที่อยากวางแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอนาคตต้องไม่พลาดกับประเด็นสำคัญที่เรานำมาฝากในวันนี้

                ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2563 ระบุว่า ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานมีจํานวนทั้งสิ้น 38.21 ล้านคน แบ่งเป็นผู้มีงานทํา 37.33 ล้านคน ผู้ว่างงาน 3.92 แสนคน และผู้รอฤดูกาล 4.9 แสนคน ประกอบด้วยผู้ทํางานในภาคบริการและการค้า 17.5 ล้านคน ภาคเกษตรกรรม 11.28 ล้านคน และภาคการผลิต 8.55 ล้านคน โดยผู้มีงานทําร้อยละ 84.3 ทํางานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ผู้ที่ทํางานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีร้อยละ 13.8 และผู้ที่ไม่ได้ทํางานในสัปดาห์แห่งการสํารวจ มีร้อยละ 1.9 งานวิจัยขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คาดการณ์ว่าใน 20 ปีข้างหน้า ตําแหน่งงานและการจ้างงานในไทยไม่ตํ่ากว่าร้อยละ44 (กว่า 17 ล้านตําแหน่ง) มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่โดยระบบอัตโนมัติ โดยกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือแรงงานในภาคบริการ ภาคเกษตรกรรม และแรงงานทักษะตํ่า

                เมื่อการทำงานถูกเทคโนโลยีเทคโอเวอร์

              ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์กำลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน งานที่เราทำในปัจจุบันจะแตกต่างจากเดิมร้อยละ 50-70 หลายอาชีพกำลังจะสูญหายไป อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และมนุษย์มีการทำงานร่วมกันจะก่อให้เกิดทีมและผลลัพธ์การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ระบบการทำงานที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) จะเปลี่ยนแปลงการทำงานในสาขาและวิชาชีพที่เน้นด้านความรู้ เช่น การเงิน การแพทย์ ความเป็นผู้นำ กฎหมาย โดย AI จะช่วยเสริมการทำงานของผู้เชี่ยวชาญและระบบปฏิบัติการให้มีความแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วให้มากยิ่งขึ้น ถึงกระนั้น คําถามเกี่ยวกับจริยธรรมทางเทคโนโลยีจะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ในอนาคตจะเกิดการถกเถียงประเด็นทางศีลธรรมและการออกกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา และการใช้ AI จะกลายเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงอย่างมากในอนาคต

                อีกสิ่งที่จะตามมาคือ 6G Network ที่คาดการณ์ว่าจะมีความเร็วมากกว่า 5G ถึง 8,000 เท่า โดยความเร็วของเครือข่าย 6G สามารถเปิดใช้งานแอปพลิเคชันเทคโนโลยีใหม่ๆ และปฏิวัติวงการได้ทั้งหมด สามารถเร่งการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งเปิดใช้งานอินเทอร์เฟซอัจฉริยะ ส่งผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าชุดเสริมกำลัง (exoskeleton) ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างกว้างขวาง แม้จะมีการออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ทั้งการแพทย์ อุตสาหกรรม การทหาร การใช้ชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุ แต่อุปกรณ์นี้จะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพทางกายภาพต่อการทำงานในอนาคตอย่างมาก

                ชั่วโมงบิน – ชั่วโมงการทำงาน และเมื่อโลกเปิดรับทักษะที่หลากหลาย

              เมื่อโลกเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง ความต้องการทักษะที่หลากหลายก็เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ประการแรกคืออาชีพด้าน STEM เป็นอาชีพที่พนักงานใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม หรือคณิตศาสตร์ เพื่อพยายามทําความเข้าใจว่าโลกทํางานอย่างไรและแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งยังเป็นงานที่ต้องการอยู่ในปัจจุบันต่อเนื่องไปในอนาคต และจะมีบทบาทสําคัญต่อวิธีการทํางานของโลกและการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่อีกนัยยะหนึ่งก็มีการคาดการณ์ว่า วุฒิการศึกษาจะมีความจำเป็นน้อยลงต่อการพิจารณารับเข้าทำงาน โดยองค์กรจะมุ่งเน้นการพิจารณาการคัดเลือกเข้าทำงานจากทักษะและความสามารถที่มีและตรงกับความต้องการของงานในตำแหน่งนั้น และจะใช้วิธีการทดสอบระดับความสามารถของทักษะต่างๆ เพื่อใช้ในการคัดเลือกรับเข้าทำงาน

                ขณะที่การทำงานออนไลน์ยังคาดว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าทำให้รูปแบบการทำงานแบบเดิมเปลี่ยนไป หลายอาชีพสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ การทำงานจึงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่บางงานยังมีความจำเป็นที่ต้องเข้าสำนักงาน นอกจากนี้ โลกยังจะให้ความสำคัญกับชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น เพื่อให้พนักงานสามารถเริ่มต้นและสิ้นสุดวันทำงานได้เมื่อต้องการ ทำให้พนักงานสามารถเข้ามาทำงานได้เร็วหรือช้ากว่าเวลาที่กำหนด ช่วยให้สามารถจัดตารางการทำงานในช่วงเวลาที่เหมาะกับตนเองเพื่อทำงานให้สำเร็จมากขึ้น นายจ้างก็สามารถเลือกรับพนักงานได้หลากหลายมากขึ้น

                คนรุ่นใหม่กับคุณค่างานที่เปลี่ยนแปลง

           คนรุ่นใหม่จํานวนมากตั้งเป้าที่จะเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย แทนที่จะประกอบอาชีพที่ประสบความสําเร็จ พวกเขาพยายามสะสมเงินออมให้เพียงพอเพื่อให้มีอิสระทางการเงินไปตลอดชีวิตงาน การทำงานเพื่อสร้างรายได้และความมั่งคั่งไม่ใช่ปัจจัยหลักของความสุข คนรุ่นใหม่จะให้ความสำคัญกับ “คุณค่าของเวลาว่าง (Valuing Free Time)” มากกว่าการเติบโตในสายอาชีพหรือการเติบโตของฐานเงินเดือน เป้าหมายการทำงานจึงเน้นที่การสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต ดังนั้น องค์กรที่ต้องการรับพนักงานที่มีแรงบันดาลใจและมุ่งมั่นจำเป็นต้องเพิ่มการลงทุนในความหมายและความยืดหยุ่นในการทำงาน

                “กิ๊ก อีโคโนมี” ในยุคที่ทุกคนผันตัวเป็นชาวกิ๊ก

             เมื่อเทคโนโลยีและโลกดิจัทัลเปลี่ยนแปลงไป หลายอาชีพต้องปรับตัว องค์กรส่วนใหญ่มีนโยบายการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็นต่ออนาคตให้พนักงาน เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในงาน อีกสิ่งที่คาดว่าจะตามมาคือ “ระบบเศรษฐกิจแบบงานชั่วคราวและงานพาร์ทไทม์ หรือ Gig Economy” ตลอดจนงานอิสระหรือสัญญาตามโครงการจะกลายเป็นเรื่องปกติของตลาดงาน นายจ้างมีเป้าหมายที่จะลดจำนวนสัญญาแบบถาวรให้น้อยที่สุดด้วยเหตุผลทางการเงิน พนักงานก็เต็มใจที่จะพิจารณาสัญญาที่มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การทำงานภายใต้โมเดล Gig Economy ถือว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากเป็นแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน โดยเน้นการทำงานที่ใช้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ซึ่งทุกคนสามารถได้รับผลประโยชน์แบบ win-win

                NIA กับการสร้างนวัตกรรมและงานแห่งอนาคต

นอกจากการส่งเสริมความสามารถทางนวัตกรรมให้กับเอสเอ็มอีของประเทศแล้ว NIA ยังให้ความสำคัญกับ “การสร้างงานแห่งอนาคต” ด้วยการปั้นคลื่นลูกใหม่ทางเศรษฐกิจอย่างสตาร์อัพ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าโมเดลธุรกิจดังกล่าวสามารถเติบโตได้รวดเร็ว เนื่องด้วยเป็นธุรกิจที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยความแตกต่าง พร้อมเปิดรับการระดมทุนจากนักลงทุน โดยปัจจุบันมีสตาร์ทอัพกว่า 1,700 ราย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยยกระดับการจ้างงาน และทำให้มูลค่าเศรษฐกิจ – คุณภาพชีวิตของคนในประเทศเติบโตยิ่งขึ้น นอกจากนี้ NIA ยังได้เตรียมคนเพื่อก้าวสู่ศตวรรษใหม่ด้วยการบ่มเพาะหลักสูตรและองค์ความรู้ใหม่ ๆ เช่น STEAM หรือทักษะทางด้านนวัตกรรมที่จำเป็นให้กับกลุ่มคนนิวเจนตั้งแต่ระดับนักเรียนไปจนถึงมหาวิทยาลัย เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้ก้าวเป็น “นักสร้างการเปลี่ยนแปลง” ในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงนำไปใช้กับการทำงานในแต่ละองค์กร อีกทั้งยังมีการกระจายโอกาสทางนวัตกรรมไปสู่ระดับภูมิภาคผ่านทั้งเรื่องของการเชื่อมโยงองค์ความรู้ การสร้างพื้นที่นวัตกรรม การให้ทุนสำหรับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ซึ่งโอกาสเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการรองรับภาคแรงงานที่กำลังจะต้องฟันผ่ากับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงลูกใหญ่ที่กำลังจะมาถึงทุกคนในอนาคตอันใกล้

                ทั้งนี้ รายงานวิจัยการคาดการณ์อนาคตประเทศไทยปี พ.ศ. 2573 ยังมีการฉายภาพอนาคตการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า ในมิติอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อนาคตของการใช้ชีวิต อนาคตของการเรียนรู้ อนาคตของความเพลิดเพลิน อนาคตของการเดินทาง และอนาคตของความยั่งยืน โดยผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องดังกล่าวสามารถติดตามได้ที่ https://www.nia.or.th/FuturesandBeyond-Navigating-Thailand-toward-2030