“ซีพี ออลล์” พาชมภูมิปัญญามูลค่าเพิ่มผ่านโครงการ “ท่องโลกกล้วย”   สร้างสรรค์กล้วย สู่ผลิตภัณฑ์รักษ์​สิ่งแวดล้อม จากโรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์ จ.นครศรีธรรมราช 

การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ถือเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเลี้ยงชีพคนในชุมชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และกลายเป็นมรดกส่งต่อไปยังลูกหลาน โครงการ ท่องโลกกล้วย ของโรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์ .นครศรีธรรมราช ภายใต้การขับเคลื่อนมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดี (CONNEXT ED) ของบมจ.ซีพี ออลล์ ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่โรงเรียน ปราชญ์ชาวบ้าน คนในชุมชน ร่วมกันเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างกล้วย ยกระดับภูมิปัญญา สร้างสรรค์สู่หลักสูตรการเรียนรู้ สร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชน  

นายธานินทร์ บูรณมานิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชนผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่  กล่าวว่า การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จาก “ปาล์มกล้วย” และส่วนต่างๆ ของต้นกล้วยของโรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์ .นครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการท่องโลกกล้วย นับเป็นอีกหนึ่งโครงการภายใต้ CONNEXT ED ของซีพี ออลล์ที่มีความโดดเด่นอย่างมาก เนื่องจากมีการออกแบบหลักสูตรท้องถิ่นและการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน สร้างสรรค์กล้วย สู่ผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม นำวิธีการแปรรูปปาล์มกล้วย มาบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระได้อย่างน่าสนใจ ทำให้เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ตลอดจนปราชญ์ชาวบ้าน และคนในชุมชน ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างอาชีพ สร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน 

ทีมผู้นำรุ่นใหม่หรือ School Partner ของซีพี ออลล์เข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณ และให้คำแนะนำด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 จนโครงการดังกล่าวสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ออกมาจำนวนมาก ทั้ง เชือกกล้วยหูหิ้วถ้วยกาแฟ ถาดใส่อาหารทำจากใบตอง กระถางต้นไม้จากใยกล้วย ข้าวของเครื่องใช้หลายอย่างได้รับการเพิ่มมูลค่า ลดการใช้พลาสติก ประหยัดค่าใช้จ่าย ดูโดดเด่น สะดุดตา นำภูมิปัญญาสร้างรายได้อย่างยั่งยืนสู่โรงเรียนและชุมชน ส่งผลให้โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนที่ดำเนินโครงการได้อย่างยอดเยี่ยมหรือ โรงเรียน Best Practice ภายใต้ CONNEXT ED” นายธานินทร์ กล่าว

ด้านนายประจวบ  พูลเพิ่ม ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์ .นครศรีธรรมราช กล่าวว่า บันไดขั้นต่อไปของโรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์  คือ ต่อยอดและพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากการทำโครงการ ประยุกต์เข้าสู่ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ บูรณาการเรียนการสอนแบบ Active Learning เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning หรือ PBL) พร้อมที่จะเป็น “ศูนย์การเรียนรู้” ให้ชาวบ้านในชุมชนเข้ามาศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long Learning)

 

ทั้งนี้ ปราชญ์ชาวบ้าน คนในชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน ในการคิดวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากกล้วยเสริมทักษะการคำนวณต้นทุนผลผลิต การคิดราคาจำหน่าย การใช้สื่อออนไลน์ในการขายสินค้าด้วย

นายมานพ สถาพร ผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชนอาสาสมัครร่วมลงพื้นที่และคอยให้คำแนะนำในการพัฒนาโครงการของโรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์ .นครศรีธรรมราช อย่างใกล้ชิด กล่าวว่าหลักสูตรท้องถิ่นในการแปรรูปจากส่วนต่างๆ ของต้นกล้วย ท่องโลกกล้วย สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการมีส่วนร่วม “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียนโดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน (Learning Community Center) ได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืน ผสานการศึกษาเข้ากับภูมิปัญญา มีปราชญ์ชาวบ้านตัวจริง ร่วมฝึกลูกหลานให้เกิดไอเดียนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้แทนถุงพลาสติก

 

เราหวังว่าเมื่อโรงเรียนเกิดการเรียนรู้ ชุมชนเกิดการยอมรับ นักเรียนได้ประโยชน์ จะทำให้เกิดการสร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราพบว่า เชือกกล้วยหูหิ้วถ้วยกาแฟ ถาดใส่อาหารทำจากใบตอง ลดการใช้ถุงหูหิ้วจากพลาสติก กระถางต้นไม้จากใยกล้วย นำไปปลูกต้นไม้สามารถเพาะลงกระถางและย่อยสลายไปพร้อมกับดิน เมื่อทุกคนเห็นความสำคัญเชื่อว่าองค์ความรู้นี้เด็กๆ จะสืบสานต่อไม่มีวันหายอย่างแน่นอน” นายมานพ กล่าว

น้องน้ำฝน” ..นภาพร ศรีอรัญ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์ .นครศรีธรรมราช กล่าวว่า เธอมีส่วนร่วมในการร่วมจัดการวางแผนโครงการท่องโลกกล้วย ลงมือปฏิบัติ แก้ไขทดลอง เรียนรู้การนำส่วนต่างๆ ของต้นกล้วยมาเพิ่มมูลค่า ได้รับความรู้เรื่องกล้วย ตั้งแต่การปลูก การบำรุงรักษาตลอดจนการผลิต การแปรรูป และจัดจำหน่าย ซึ่งนอกจากนำเครือไปขาย หรือรับประทาน ก็นำต้นกล้วย ที่มีเส้นใยเหนียวมาแปรรูปเป็นสิ่งต่างๆ สามารถนำไปสร้างรายได้ ส่งเสริมการใช้วัสดุจากธรรมชาติให้ได้มากที่สุด สามารถลดต้นทุนจากการใช้กล่องพลาสติกได้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

คุณแม่วนิดา  ศรีเจริญ ในฐานะปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวว่า ภูมิใจที่มีส่วนในการส่งต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ตามศาสตร์พระราชา “กล้วย” เป็นพืชมหัศจรรย์ที่หลายคนมองข้าม แต่จริงๆ มีคุณค่าในตัวเยอะมาก เมื่อโครงการคอนเน็กซ์ อีดี เข้ามาจุดประกายยิ่งทำให้คุณค่าของกล้วยทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ ชุมชน โรงเรียน วัดมีส่วนร่วม มีกิจกรรมทำร่วมกัน และที่สำคัญที่สุดช่วยส่งเสริมให้เด็กตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม มีรายได้กลับสู่ครอบครัว

สำหรับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในพันธมิตรก่อตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED) และเป็น 1 ใน​ 44  องค์กรเอกชนที่เล็งเห็นความสำคัญและตอบรับการมีส่วนร่วมทางการศึกษาโดยปัจจุบัน ซีพี ออลล์ ดูแลโรงเรียนในโครงการ CONNEXT ED จำนวน 392 แห่งทั่วประเทศ ร่วมสนับสนุนโรงเรียนให้สามารถดำเนินโครงการด้านต่างๆ ทั้งโครงการที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ โครงการพัฒนาคุณภาพคน โครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โครงการส่งเสริมอาชีพ โครงการด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้นำรุ่นใหม่ หรือ School Partner ซึ่งเป็นอาสาสมัครจากในองค์กรร่วมลงพื้นที่และคอยให้คำแนะนำในการพัฒนาโครงการของโรงเรียนต่างๆอย่างใกล้ชิด