โชว์ 27 ผลงานเด่นรอบ 2 ปี “จุรินทร์” นำพาณิชย์ “ทำได้ไวทำได้จริง”สั่งลุยสร้างผลงานปี 3

วันที่ 28 ต.ค. ที่กระทรวงพาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) พร้อมนางลลิดา จิวะนันทประวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ และรองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ และคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ ร่วมแถลงผลงาน 2 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นางมัลลิกา กล่าวว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการให้เดินหน้าภารกิจกระทรวงพาณิชย์ปีที่ 3 โดยผลงานเด่นในรอบ2ปีรวมทั้งหมด 27 ผลงาน ประกอบด้วย 1.ประกันรายได้พืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิด ได้ช่วยเหลือเกษตรกร 7.8 ล้านครัวเรือน ข้าว 4.68 ล้านครัวเรือน ยางพารา 1.83 ล้านครัวเรือน มันสำปะหลัง 0.52 ล้านครัวเรือน ปาล์มน้ำมัน 0.37 ล้านครัวเรือน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 0.45 ล้านครัวเรือน โอนเงินส่วนต่างผ่านธนาคาร ธ.ก.ส. และช่วยเศรษฐกิจฐานรากในภาวะวิกฤตโควิด 2.ผลไม้ ราคาดีเกือบทุกตัว ช่วยชาวสวนได้ 6.54 แสนครัวเรือน ดันผลไม้ส่งออก 8 เดือนแรก2564 มูลค่า 169,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46.29% และมียุทธศาสตร์มาตรการเสริม ได้แก่ 1.สนับสนุนกล่องพร้อมค่าจัดส่ง

2.กระจายผลไม้ออกนอกแหล่งผลิตและสนับสนุนรถเร่-รถโมบาย ไปรับซื้อและจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง 3.ประสานงานกับตลาดห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันเปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกร 4. จัดการเจรจาจับคู่ธุรกิจเจรจาออนไลน์ขายผลไม้ 5. ทำ OBM (Online Business Matching )รายสัปดาห์ต่อเนื่อง 6. จัดThai Fruits Golden Months ในจีนต่อเนื่อง 7.Memorandum of Purchasing : MOP 8.In-Store Promotion 9. แพลตฟอร์มออนไลน์

นางมัลลิกา กล่าวต่อว่า 3.ตั้ง กรอ.พาณิชย์ โดยรัฐหนุนเอกชนนำ นำกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายดึงเอกชนเป็นทัพหน้า ภาครัฐเสริมทัพ บุกตลาดทำงานร่วมกันและขึ้นทะเบียนปัญหา เพื่อติดตามประสานงานแก้ไขอย่างต่อเนื่องและทันท่วงที ผลักดันการส่งออกแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าต่างๆ ทั้งการส่งเสริมการส่งออกข้าวไทย การแก้ปัญหาโลจิสติกส์และการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ทางด้านการเปิดด่าน และมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 4.สร้างเซลล์แมนประเทศ เซลล์แมนจังหวัดปรับบทบาททูตพาณิชย์เป็นเซลล์แมนประเทศ พาณิชย์จังหวัดเป็นเซลล์แมนจังหวัด เพื่อขยายการค้าไทยส่งเสริมการขายสินค้าผลักการส่งออกและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้าทำหน้าที่เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนสินค้า ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งทีมเซลล์แมนประจำจังหวัดต่างๆ ซึ่งมีเอกชนร่วมทีมด้วย ประสบความสำเร็จอย่างมาก มีการจับคู่เซลล์แมนจังหวัดนำสินค้าท้องถิ่นไปขายต่างประเทศ จับคู่เจรจาการค้ากว่า 213 คู่ ส่งมอบสินค้าแล้ว 77 คู่ มีสินค้าหลากหลายทั่วทุกภูมิภาคทั่วไทย

5. เปิดด่าน ผลักดันการค้าชายแดน/ผ่านแดน มูลค่าส่งออกผ่านชายแดและผ่านแดน ช่วง2 ปี (25 ก.ค. 62 – 30 ส.ค. 64) ทั้ง มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เมียนมา จีน สิงคโปร์ เวียดนาม นำรายได้เข้าประเทศ 1,832,066 ล้านบาท มีมูลค่าการค้ารวม 3,088,748 ล้านบาท สามารถผลักดันเปิดด่าน 46 ด่านจากทั้งหมด 97 ด่าน 6. เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด วิสัยทัศน์ เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาดยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต นำเกษตรและพาณิชย์จับมือสร้างประเทศไทย เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก โดยเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ เพิ่มจีดีพีประเทศ เพิ่มรายได้เกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยภารกิจจัดทำแดชบอร์ดสินค้าเกษตรสำเร็จ จัดทำ QR Code ตรวจสอบย้อนกลับสินค้า ต่อยอดการขายผ่านแพลตฟอร์มกลาง ของภาครัฐและภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จ

7. เคาน์เตอร์เทรด”ช่วยเกษตรกรหาตลาด”แลกเปลี่ยนสินค้า หาตลาดล่วงหน้า ผ่านทีมเซลส์แมนจังหวัด (ทีมพาณิชย์ 76 จังหวัด) ทำงานเชิงรุก สร้างมูลค่ารวม 2 ปีถึง 6,600 ล้านบาท 8. อาหารไทย อาหารโลกนโยบาย เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด ยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต ให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาหารคุณภาพมาตรฐานโลก โดยปรับแผนโลจิสติกส์ จับมือลดต้นทุนและใช้ระบบโลจิสติกส์ ส่งเสริมตลาดภายในและส่งออก ปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆทั้งสินค้าเกษตร Thai Select และฮาลาล ผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริม 3,413 ราย จับคู่เจรจา 4,043 คู่ สร้างมูลค่า2 ปีรวม 55,367.46 ล้านบาท ชูมาตรการ5 ลุย1นำ ลุยเปิดด่านแก้วิกฤต ลุย Online ลุย Matching ลุยเชื่อมโยงเครือข่าย ลุยอบรมพัฒนาและนำเอกชนเอ็มโอยู

สำหรับ 9. การเป็นประธานประชุม รมต.การค้า RCEP 15 ประเทศ สำเร็จ หลังจากมีความพยายามมานานถึง 7 ปี ทำให้ได้รับการยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที 29,891 รายการ กำหนดเริ่มใช้บังคับเดือนมกราคม 2565 ซึ่ง RCEPมีขนาดใหญ่สุดในโลก ประกอบด้วย 15 สมาชิก ประเทศ มูลค่า GDP 33.6% ของ GDPโลก มูลค่ารวม 30.3% ของการค้าโลก ขยายโอกาสส่งออก เช่น ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง น้ำผลไม้ รถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง 10. บุกตลาดเมืองรองด้วย Mini FTA สำเร็จแล้ว 2 แห่ง MOU กับไห่หนาน (จีน)ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้าเป็น 12,000 ล้านบาทภายใน 2 ปี MOU กับโคฟุ (ญี่ปุ่น)ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับกว่า 15,500 ล้านบาทในปี 64 และจะทำเพิ่มอีก 3 แห่งคือ กานชู (จีน)เตลังคานา (อินเดีย) และคยองกี (เกาหลีใต้)

11. ผลักดันส่งออกฝ่าวิกฤต นำทีมเอกชนเซ็น MOU ขายสินค้าทั่วโลก ภารกิจเซลส์แมนประเทศ ผลักดันการส่งออกผ่านการลงนาม MOU และกิจกรรม Business matching ทำแล้ว 231 คู่ ทำให้มูลค่าส่งออก 2 ปี 94,822.17 ล้านบาท ส่งมอบแล้ว 60 % โดยส่งเสริมการค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Thaitrade.com ปัจจุบันมีสมาชิกบนเว็บไซต์ 160,000 ราย สินค้า 215,611 รายการ มูลค่าการสั่งซื้อรวม 2,322 ล้านบาท สร้างมูลค่าจากงานแสดงสินค้าและคณะผู้แทนการค้าทั้งในและต่างประเทศ ผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมกว่า 13,138 ราย มูลค่าการสั่งซื้อกว่า 161,756 ล้านบาท

12. การส่งเสริมการค้ารูปแบบใหม่ สู่ New Normal ซึ่งมีการปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องรับมือกับภาวะวิกฤตโควิดสร้างมูลค่าการค้าให้เกิดขึ้นรวมกว่า 158,113 ล้านบาท ส่งเสริมผู้ประกอบการไทย มากกว่า 14,000 ราย ผ่านการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า โดยVirtual Trade Fair จัดกิจกรรมคู่ขนานระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ในรูปแบบ Hybrid Edition – Mirror Mirror Mission เจรจาการค้าผ่านระบบออนไลน์พร้อมจัดแสดงตัวอย่างสินค้าในงานแสดงสินค้า ทำ Online In-Store Promotion จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายผ่านช่องทางออนไลน์ร่วมกับผู้นำเข้า/แพลตฟอร์มพันธมิตร- Webinar ปรับรูปแบบอบรมสัมมนาสู่ช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์กรมและสื่อสังคมออนไลน์ – Online Business Matching จัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ซื้อต่างประเทศผ่านออนไลน์ – Online SMEs Pro-active ขยายขอบเขตการสนับสนุนกิจกรรม ขยายตลาดต่างประเทศให้ครอบคลุมช่องทางออนไลน์

13. ทำโครงการ พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน ทำแล้ว 12 Lot เริ่ม 16 เม.ย. 2563 ถึง 31 ก.ค. 2564 ลดภาระค่าครองชีพกว่า 4,300 ล้านบาท และโครงการคาราวานธงฟ้าฝ่าภัย COVID-19” ในส่วนภูมิภาค ส่งรถเร่ 685 คันจำหน่ายสินค้าจำเป็นราคาประหยัดใน 7 จังหวัด14. โครงการรถโมบายพาณิชย์ ลดราคา! ช่วยประชาชน จัดรถโมบาย 1,000 คันช่วงล็อกดาวน์โควิด-19 (ระลอก 3)สามารถลดค่าครองชีพ 85.85 ล้านบาท

15. จับคู่กู้เงิน ช่วยหาแหล่งเงินกู้เงื่อนไขพิเศษให้ร้านอาหารและ SMEs ส่งออก ทั้ง 2 โครงการช่วยกู้ได้ 4,512 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนร้านอาหารในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ เปิดโอกาสให้ร้านอาหาร120,000 ร้านเข้าถึงแหล่งเงินกู้ โครงการจับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับ SMEs ส่งออก ร่วมกับสถาบันการเงินพันธมิตร อย่าง EXIM BANK ให้ผู้ประกอบการ SMEsส่งออก และผู้ประกอบการที่อยู่ใน Value chain ส่งออก ในเครือข่ายของกระทรวงพาณิชย์กว่า 30,000 ราย ให้สามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อด้วยเงื่อนไขพิเศษ มีวงเงินสนับสนุนรวม 2,500 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ 120 วัน

16. ช่วย SMEs และ Micro SMEs พัฒนาศักยภาพและการตลาด ผ่านเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club 12,873 ราย สำหรับต่างประเทศ เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพ กิจกรรมการตลาด และรับคำปรึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศ 73,230 ราย ทุกภารกิจของการส่งเสริมการส่งออกให้เพิ่มโอกาส SMEs ในสัดส่วน 10-15% ช่วยเพิ่ม SMEs ได้ 57,890 ราย ซึ่ง SMEs ทั้งประเทศมีจำนวน 3,134,442 ราย 17. ช่วยซาเล้ง ยกระดับราคาเศษกระดาษผลักดันโดยกรมการค้าต่างประเทศ #ซาเล้งเพื่อนยาก บูรณาการความร่วมมือ ชาวซาเล้งและครอบครัว ร้านรับซื้อของเก่า โรงงานอัดกระดาษ โรงเยื่อกระดาษ สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าและกระทรวงพาณิชย์โดยขึ้นทะเบียน ผู้ประกอบอาชีพซาเล้งและผู้ค้าของเก่า ช่วยประชาชนได้ 1.5 ล้านครัวเรือน

โดยมีมาตรการปิดป้ายราคารับซื้อกระดาษขั้นต่ำกิโลกรัมละ 2 บาท ดันราคาเพิ่มขึ้นตามกลไกตลาด จาก 50 สตางค์ เป็น 9 บาท/กิโลกรัม 18. สร้างสมาร์ทโชวห่วย เพื่อให้ร้านโชวห่วยพัฒนาและอยู่คู่กับชุมชน ได้กว่า 34,572 ร้านค้าโดยใช้เทคโนโลยีช่วยร้านค้าโชวห่วย ปรับภาพลักษณ์ให้สะอาดและทันสมัยบริหารสต๊อก และยกระดับการบริการให้ชุมชนเข้าถึงสินค้าได้อย่างเท่าเทียม 19. สร้างอาชีพจากธุรกิจแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ไทยมี 597 ธุรกิจ วางเป้า 1 ปี สร้างอาชีพจากธุรกิจแฟรนไชส์ 10,000 ราย มูลค่าการตลาด 4,600 ล้านบาท

20. อบรมสร้างนักธุรกิจยุคใหม่ผ่านการพัฒนาและส่งเสริมจากสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สร้างผู้ประกอบการได้ 84,283 ราย โดยสถาบัน NEA สร้างนักธุรกิจใหม่ อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ 66,695 ราย 1)ด้านความรู้พื้นฐานการค้าระหว่างประเทศ 15,997 ราย 2)ด้านการสร้างช่องทางตลาด 41,319 ราย 3)ด้านการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ส่งออกและเครือข่าย 3,426 ราย 4)ด้านเศรษฐกิจกระแสใหม่ 5,953 รายสร้างนักธุรกิจใหม่ พัฒนาด้านการค้าดิจิทัล 17,588 ราย21. ปั้น CEO Gen Zอบรมอย่างเข้มแข็งทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์แล้วกว่า 20,674 ราย โดยร่วมมือกับ 93 มหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวศึกษาโครงการ Gen Z to be CEO ครอบคลุมทั้งประเทศทั้ง กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

22. เช็กราคายา-ค่าบริการ โรงพยาบาลเอกชนด้วยมาตรการแจ้งค่ายา-ค่าบริการก่อนการรักษา โดยแสดงผลผ่านระบบ QR Code เพื่อเปิดเผยให้ประชาชนทราบก่อนการรักษา เน้นความเป็นธรรมในการรับบริการ23. MOC Online One Stop Serviceลดขั้นตอนการให้บริการ ในด้านต่างๆ ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ด้วยระบบออนไลน์ 85 บริการ ทั้งกระทรวง โดยสามารถเข้าใช้บริการได้ที่ www.moc.go.th24. ดันทุกจังหวัดมีสินค้า GI เพิ่มมูลค่าและรายได้ให้ชุมชนด้วยการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ตอนนี้ครบ 77 จังหวัดแล้ว และมีสินค้า GI ของไทยขึ้นทะเบียนแล้ว 152 รายการ สร้างมูลค่าที่เกิดขึ้นในประเทศกว่า 39,000 ล้านบาท

25. พัฒนาส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยโดยใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตร ลดระยะเวลาการจดทะเบียน 26. สร้างฮับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์/ภาพยนตร์พัฒนาผู้ประกอบการไทย ในกลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์และภาพยนตร์ เพื่อเร่งสร้างโอกาสพร้อมทั้งขยายตลาดไปทุกช่องทาง สร้างมูลค่าแล้วกว่า 8,852 ล้านบาทโดยในประเทศผ่านโครงการ/กิจกรรมสำคัญ สร้างมูลค่า 6,377.25 ล้านบาทต่างประเทศผ่านโครงการ/กิจกรรมสำคัญ อาทิ งานแสดงสินค้า American Film Market & Conference สร้างมูลค่า 2,474.73 ล้านบาท27. ส่งเสริมศิลปาชีพของคนไทย ปฏิรูปองค์กร อย่างเป็นรูปธรรม และเปลี่ยนชื่อจากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)” เป็นสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)” ส่งเสริมให้ครูศิลปาชีพ ช่างศิลปาชีพ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม