เมื่อผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีนวัตกรรมและปลอดภัย

ไม่เพียงต้องสะดวก มีนวัตกรรม ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ แต่เรื่องความปลอดภัยในอาหาร ยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ผลิตต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค เพราะแม้กลุ่มอาหารแช่แข็ง อาหารพร้อมปรุง จะเป็นช่วงที่ตลาดเติบโตมากในปัจจุบัน แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องการปนเปื้อนหรือติดเชื้อในอาหาร
#FoodIndustry #ReadyToCook #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กลายเป็นตัวแปรสำคัญเร่งอัตราการเติบโตของตลาดอาหารพร้อมรับประทานและอาหารพร้อมปรุง (Ready To Cook) เติบโตไม่หยุด หรือมีอัตราการขยายตัว 3-5% ต่อปี ซึ่งจากข้อมูลสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่าในปี 2563 มูลค่าทางการตลาดประมาณ 20,200-20,500 ล้านบาท เป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมดาวเด่นที่ยังคงมีอัตราการเติบโตสูงกว่าตลาดโดยรวม และมีแนวโน้มลากยาวไปถึงปี 2564 เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงจากเดิม นิยมซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้านมากขึ้น เกิดกิจกรรมการปรุงอาหารรับประทานเองมากขึ้น และนิยมซื้อทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)

สำหรับกลุ่มอาหารแช่แข็ง อาหารพร้อมรับประทาน และอาหารพร้อมปรุง เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ปลอดภัยสำหรับยุควิกฤติโควิด 19 เพราะผู้บริโภคสามารถซื้อเก็บไว้ได้นาน ลดความเสี่ยงจากการไปซื้อของตามตลาด หรือห้างร้านที่แออัดได้ และด้วยเทคโนโลยีการผลิตอาหารในปัจจุบัน ทำให้อาหารแช่แข็งนอกจากจะเก็บรักษาได้นานแล้ว ยังสามารถคงคุณภาพและสารอาหารได้ครบถ้วน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

จากการรายงานของสถาบันอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ระบุว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 โดยมียอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอีก ความสำเร็จนี้เป็นเพราะผู้ประกอบการของไทยสามารถรักษามาตรฐานการผลิตในทุกขั้นตอนจนถึงมือผู้บริโภค แม้ว่าจะอยู่ในช่วงของการระบาด ทำให้ประเทศไทย เป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่เพียงไม่กี่รายของโลกที่สามารถป้องกันสายการผลิตจากโรคระบาด และไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโคโรนาในอาหาร จึงเป็นโอกาสสำคัญของธุรกิจอาหาร

โดยอาหารพร้อมปรุงยังคงมีอัตราการเติบโตไม่หยุด กลับกลายเป็นโอกาสมากับวิกฤติโควิด แต่สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม คือการสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ ในสถานที่ผลิต และการให้ข้อมูลผู้บริโภค เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหาร เชื่อว่าผู้ประกอบการไทยจะก้าวสู่การเป็นผู้ส่งออกหนึ่งใน 10 ของโลก ในอีก 3-5 ปีได้ไม่ยาก

 

อาหารมื้อที่ 4 เทรนด์ใหม่ตลาดเอเชียมาแรง

กระนั้นแม้ปัจจัยเหล่านี้จะยังหนุนการเติบโตตลาดอาหารพร้อมปรุง แต่ภายใต้แรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ที่มีผลต่อกำลังซื้อที่อาจยังอ่อนแรงบ้างในปี 2563 ดังนั้นผู้ประกอบการอาหารพร้อมปรุงต้องมีคุณลักษณะไม่แตกต่างจากอาหารปรุงสด ต้องสร้างความหลากหลายแปลกใหม่ของสินค้า และสะดวกกับการบริโภค

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องเร่งยกระดับพัฒนาสินค้า ให้สอดรับกับพฤติกรรมกลุ่มผู้บริโภคสมัยใหม่ที่หันมารับประทานอาหารมื้อดึก หรือมือที่ 4 เพิ่มมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “4th Meal” อาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือสินค้าไก่แช่แข็ง เช่น ไก่ทอด ไก่นักเก็ต รวมทั้งเกี๊ยวซ่าแช่แข็ง ไส้กรอก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวพร้อมรับประทาน ลูกชิ้น เบเกอรี่แช่แข็ง เป็นต้น โดยผู้บริโภคยังให้ความสำคัญเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดีต่อสุขภาพแม้ว่าราคาจะสูงก็ตาม

สอดคล้องผลสำรวจความคิดเห็นของบริษัทวิจัย Nielsen เมื่อต้นปี 2563 จากผู้บริโภค 11 ประเทศในเอเชีย หลังเกิดสถานการณ์โควิด 19 พบว่าผู้บริโภค 86% ในจีนจะรับประทานอาหารที่บ้าน รองลงมาคือ ฮ่องกง  77% และมาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้  62 % โดยพบว่ามูลค่าค้าปลีกอาหารในเอเชียมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 20-25 % ต่อสัปดาห์ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา บ่งชี้ว่ากลุ่มผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมซื้ออาหารกลับไปปรุงรับประทานที่บ้าน ซึ่งผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องปรับตัวผลิตอาหารพร้อมปรุง เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคสมัยใหม่

โดยผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีนวัตกรรม สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายรูปแบบต่างๆ ไขมันน้อย แคลอรีต่ำ สามารถบริโภคได้แม้กระทั่งมื้อดึก หรือมื้อที่ 4 ซึ่งจะเป็นโอกาสของแบรนด์ต่างๆ ในการสร้างสินค้านวัตกรรมที่จะช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันของโรคในอนาคต เช่น กลุ่มผู้บริโภคเวียดนามนิยมรับประทานกระเทียมดำเพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายชาวฟิลิปปินส์นิยมรับประทานผลิตภัณฑ์จากมะรุมและน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มากขึ้น, ส่วนสิงคโปร์ต้องการวิตามินซีและวิตามินรวมมากขึ้น 3-5 เท่า

เห็นได้ชัดว่าความต้องการอาหารนั้นเปลี่ยนไปตามบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ซึ่งผู้ผลิตอาหารเองจึงต้องมีการปรับตัวและนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาพัฒนารูปแบบอาหารอยู่เสมอ เพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค ที่สำคัญต้องเน้นด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงการระบาดของโควิด 19 ในขณะนี้ ผู้ผลิตต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคด้วยว่าอาหารผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีที่สะอาด ปลอดภัย มีมาตรการในการทำให้ปลอดเชื้อที่เชื่อถือได้

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

ดันน้ำปลา ปลาร้า สมุนไพรไทยเจาะตลาดแคนาดา

10 Megatrends อาหารเพื่อโลกที่หิวโหย

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน
1333