พฤติกรรมของคนแต่ละเจนที่เปลี่ยนไปหลังเจอโควิด 19 เข้ามา Disrupt

โควิด 19 เข้ามา Disrupt ชีวิตและพฤติกรรมของผู้คนในสังคมให้มีความแปลกต่างไปจากเดิม โดยทำให้เกิดความท้าทายที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น โดยพฤติกรรมของผู้คนกลายเป็นตัวกำหนดทิศทางการตลาดที่สำคัญ หากได้ทำความเข้าใจเรียนรู้ให้ถึงความต้องการของคนแต่ละ Gen ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางใดและต้องการอะไร ก็จะสามารถทำการตลาดให้เข้าถึงความต้องการของผู้คนได้ไม่ยาก
#covid19 #
โควิด
19 #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

โควิดเข้ามาช่วย Disrupt อะไรได้หลายอย่าง ทั้งเรื่องของเทคโนโลยี การใช้ชีวิต บริบทของโลกและสังคมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับดิจิทัล ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มดังระดับโลก เช่น Garena, Shopee และ SeaMoney เผยเทรนด์จากรายงาน ASEAN Youth 2020 “COVID-19 : The True Test of Resilience and Adaptability” ซึ่งจัดทำร่วมกับสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) โดยมีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบจากวิกฤติ COVID-19 และความพร้อมในการปรับตัว การรับมือของคนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 16–35 ปี ราว 70,000 คน จากทั่วภูมิภาคอาเซียน มีการวิเคราะห์แนวทางการร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อลดผลกระทบที่กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รับจากภัยโรคระบาด ตลอดจนติดอาวุธคลื่นลูกใหม่ในอาเซียน ให้มีความเข้มแข็งและศักยภาพการแข่งขันในโลกดิจิทัล ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรือภายหลังวิกฤต COVID-19 จบลง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

พบว่าแม้การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะทำให้เกิดความท้าทายที่ไม่คาดคิด คนรุ่นใหม่ในกลุ่มอาเซียนยังคงแสดงสัญญาณที่ดี โดย 72% แสดงการเติบโตด้าน “Adaptability & Resilience” หรือความกระตือรือร้นในการปรับตัวและความยืดหยุ่น หรือแนวโน้มการฟื้นตัวกลับมาจากสถานการณ์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาด ซึ่ง 48% ระบุว่ามีความพร้อมในการรับมือสถานการณ์โรคระบาด 41% ระบุว่ามีการพัฒนาทักษะใหม่ๆ 38% ระบุว่าเรียนรู้การคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ และอีก 31% สามารถสร้างรายได้จากช่องทางใหม่ๆ ได้สำเร็จ

การพัฒนา “Adaptability & Resilience” ในด้านต่างๆ ยังมีความสอดคล้องกับช่วงวัย อาชีพ และบทบาทหน้าที่ โดยกลุ่มเด็กนักเรียนมีความโดดเด่นมากที่สุดในด้านการพัฒนาทักษะใหม่ๆ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ระบุว่าเป็นผู้ประกอบการมุ่งพัฒนาตนเองด้านการสร้างแบบจำลองธุรกิจ (Business Model) ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางหารายได้ ส่วนกลุ่มวัยทำงานให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวรับมือสถานการณ์โรคระบาดมากที่สุด

ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนแต่ละ Generation ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือการกระโจนเข้าสู่โลกออนไลน์ 70-80% แม่แต่คนวัย 57-64 ปี หรือกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) หรือ Gen-B หรือคนรุ่นพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยายเรา ที่รู้จักการประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ยังหันเข้าไปใช้บริการสื่อออนไลน์ เพื่อความบันเทิงและแก้เหงาในแอพพลิเคชั่นดังอย่าง TikTok ที่ได้รับความนิยมมากในกลุ่มคน Gen X, Milleniuem และ Gen Z ในการแสดงความสามารถที่คนกลุ่มนี้ทำได้ และดูคลิปวิดีโอต่างๆ สร้างเสียงหัวเราะและความสนุก เป็นการผ่อนคลายไปจนถึงการเข้าไปใช้บริการสื่อออนไลน์ เสพข้อมูลข่าวสาร เพื่อหามิตรภาพและคนคุยแก้เหงากันมากขึ้น แทนการจับเจ่าอยู่หน้าทีวีเหมือนปกติ และยังคงมีการใช้ชีวิตที่ยึดติดกับวิถีแบบเก่า เช่น การเดินจ่ายตลาดซื้อของที่จับต้องได้ ในราคาที่พอใจ ไม่เห็นด้วยกับการซื้อขายบนตลาดออนไลน์

ส่วนคน Gen X ที่มีอายุอยู่ระหว่าง 38-56 ปี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีอำนาจ เป็นศูนย์กลางของครอบครัว อยูู่ระหว่างเทคโนโลยีและการวางแผนชีวิตให้มีความสมบูรณ์ นิยมการใช้จ่ายเงินไปกับการดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวนอกบ้าน กลับมีพฤติกรรมอยู่ติดบ้านมากขึ้น เป็นช่วงวัยที่มีภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สิน จากการสร้างชีวิต ได้ปรับชีวิตมาสู่การใช้ชีวิตอย่างประหยัดและหันมาเสพสื่อทางทีวีเพิ่มขึ้นด้วย โดยเลือกหากิจกรรมมาทำเชื่อมโยงคนในครอบครัว เช่น ฝึกทำอาหารทานเอง เล่นโยคะ ทำสวน ปลูกต้นไม้ จัดแต่งบ้านให้น่าอยู่ ใส่ใจสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นหลัก

คนยุค Millennials จะอยู่ในช่วงอายุ 23-37 เป็นกลุ่มคนที่ตื่นตัวอยู่เสมอ เน้นการเติมเต็มชีวิตตามความต้องการมากที่สุด มีความชื่นชอบในการทำอะไรตามใจตัวเอง โดยไม่อิงกระแสหลัก ชอบประสบการณ์แปลกใหม่ที่ท้าทาย คนกลุ่มนี้ยินดีที่จะจ่ายเงินให้กับการได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ การสร้างโมเมนต์ที่ดี สำหรับโพสต์บนสื่อโซเชียล จากรายงานการตลาดของ Eventbrite ระบุว่า คนกลุ่ม Millenial กว่า 72% ยินดีจ่ายเงินให้กับประสบการณ์ที่ยากแก่การเข้าถึง ถึงแม้จะต้องใช้บัตรเครดิตจนเต็มวงเงิน เพื่อเติมเต็มสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเอง ได้มีการปรับพฤติกรรมมาสู่การตระหนักถึงการวางแผนชีวิตเพื่อวัยเกษียณ มีความตั้งใจที่จะวางแผนการใช้เงินอย่างระมัดระวังมากขึ้นในอนาคต ลดการใช้จ่ายลง จากที่ไม่เคยต้องกังวลด้านการเงิน ก็วิตกกังวลด้านการเงินมากขึ้น และถึงแม้ว่าจะเป็นกลุ่มที่ตอบรับกับโลกออนไลน์จนเป็นปกตินิสัย แต่ก็ยังคงต้องการประสบการณ์ที่สามารถจับต้องได้ในแบบเดิม ก็มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสู่ชีวิตเรียบง่ายแบบดั้งเดิม เช่น การปลูกต้นไม้ ทำสวน อ่านหนังสือแบบรูปเล่มมากขึ้น

คน Gen Z เป็นกลุ่มคนที่ยังมีอายุน้อยช่วงอายุ 16-24 ปี ที่ยังไม่สามารถสร้างรายได้ให้ตัวเองได้ แต่กลับเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ใจกว้างมากที่สุด ในการเปิดรับกับสิ่งแปลกใหม่ มีความสงสัยและเกิดคำถามกับพฤติกรรรม หรือค่านิยมไม่สมเหตุสมผล ที่เคยทำต่อๆ กันมาในอดีต ดังนั้นจึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นกลุ่มที่คิดนอกกรอบได้ตลอดเวลา เป็นกลุ่มคนที่ติดโซเลียลมีเดีย และเปิดรับกับสิ่งใหม่ๆ ตามกระแส ยังคงใช้ชีวิตติดออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างๆ ทุกแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะการเสพคอนเทนส์ต่างๆ ที่มีบนโลกออนไลน์มากขึ้นจากเดิม แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนชีวิตไปจากเดิมมากนัก เนื่องจากยังอยู่ในช่วงวัยเริ่มต้นชีวิต