เรื่องควรรู้ ‘ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง’

ลดความซ้ำซ้อนของการเสียภาษีด้วยข้อกฎหมายใหม่ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 (... ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) หากละเลยระวังถูกเรียกปรับแพง ไปจนถึงการยึดและอายัดทรัพย์ขายทอดตลาด
#
ภาษีที่ดิน
#bangkokbank #bangkokbanksme #sme

การเสียภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของประชาชนที่ไม่ควรละเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินได้ ที่ดิน อาคารปลูกสร้าง การนำเข้าสินค้า ฯลฯ เช่นเดียวกับเรื่องของภาษีที่ดิน ที่มีการปรับเปลี่ยนใหม่ เป็นภาษีที่ดินขึ้นมาแทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งถูกยกเลิกไป โดยผู้ที่เคยเสียภาษีดังกล่าวตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปจะไม่ต้องเสียภาษีเหล่านี้ซ้ำอีก แต่จะเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน เพื่อลดการซ้ำซ้อนของการเรียกเก็บภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 (... ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) โดยตามกำหนดการเดิมได้ประกาศไว้ให้มีผลบังคับใช้ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 .. 63 ที่ผ่านมา

โดยขอบเขตข้อกำหนดสำหรับการเสียภาษีที่ดินหรือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ จะทำการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง ซึ่งจะจัดเก็บเป็นรายปี ตามประเภทของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี 4 ประเภทดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. เกษตรกรรม เรียกเก็บภาษีจากการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อการบริโภคหรือจำหน่ายเพื่อบริโภค หรือใช้งานในฟาร์ม ทั้งทำเกษตรเต็มพื้นที่และทำเกษตรไม่เต็มพื้นที่ (เสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์) ทั้งนี้คำว่าที่ดินเพื่อการเกษตร จะต้องปลูกต้นไม้ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดด้วย เช่น หากปลูกกล้วยต้องไม่ต่ำกว่า 200 ต้น/ไร่ ถ้าปลูกน้อยกว่าที่กำหนดไว้จะคิดภาษีที่ดินที่เหลือ ซึ่งจะพิจารณาจากสถานภาพความเป็นจริงของพื้นที่ที่ใช้ทำเกษตรกรรม รวมถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อเนื่องที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม โดยมีอัตราการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีเพดานภาษีสูงสุด 0.15% คิดจากมูลค่าราคา ตามอัตราที่จัดเก็บ ดังนี้

– 0-75 ล้านบาท เรียกเก็บในอัตรา 0.01%

– 75-100 ล้านบาท เรียกเก็บในอัตรา 0.03%

– 100-500 ล้านบาท เรียกเก็บในอัตรา 0.05%

– 500-1,000 ล้านบาท เรียกเก็บในอัตรา 0.07%

– 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เรียกเก็บในอัตรา 0.1%

หมายเหตุ บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นละไม่เกิน 50 ล้านบาท

 

2. ที่อยู่อาศัย เรียกเก็บภาษีบ้านทุกหลัง โดยบ้านหลังหลัก จะเรียกเก็บกับเจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนดและทะเบียนบ้าน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน/เจ้าของคนใดคนหนึ่งที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ส่วนบ้านหลังอื่น จะเรียกเก็บจากเจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนดแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน มีเพดานภาษีสูงสุด 0.3% สำหรับคำจำกัดความของที่อยู่อาศัยนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้

2.1 เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะให้บุคคลใช้เพื่อการอยู่อาศัย เช่น ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง ให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัยหรือให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย ให้เสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย

2.2 ให้ครอบคลุมถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อสร้าง หรือปรับปรุงต่อเติมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ใช้ เพื่อการอยู่อาศัยด้วย เช่น บ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการตกแต่ง เป็นต้น

2.3 ไม่รวมถึงโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมและที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาหรือสร้างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ขายตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกรณีบ้านหลังหลัก โดยบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (บ้าน+ที่ดิน)

อัตราภาษีที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย

มูลค่าไม่ถึง 25 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (เท่ากับต้องเสียภาษีล้านละ 300 บาท)

มูลค่า 25-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (เท่ากับต้องเสียภาษีล้านละ 500 บาท)

มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (เท่ากับต้องเสียภาษีล้านละ 1,000 บาท)

** ในปี 2563-2564 กรณีบ้านหลังหลักที่เป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน (เจ้าของบ้านอาศัยอยู่เอง) และมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น จะได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรก อื่นๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย เช่น สิ่งก่อสร้าง เพื่อการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ

 

3. กลุ่มอื่นๆ (พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม) เพดานภาษีสูงสุด 1.2% หมายถึงที่ดินอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่นเป็นที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์ อย่างโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ โรงงานอัตราภาษีปี 2563-2564

มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% (ล้านละ 3,000 บาท)

มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% (ล้านละ 4,000 บาท)

มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% (ล้านละ 5,000 บาท)

มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% (ล้านละ 6,000 บาท)

มูลค่า 5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.7% (ล้านละ 7,000 บาท)

 

4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ เพดานภาษีสูงสุด 1.2% แต่จะเพิ่มเพดานเป็น 3% เมื่อปล่อยรกร้างว่างเปล่าติดต่อกัน 3 ปี

มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% (ล้านละ 3,000 บาท)

มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% (ล้านละ 4,000 บาท)

มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% (ล้านละ 5,000 บาท)

มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% (ล้านละ 6,000 บาท)

มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7% (ล้านละ 7,000 บาท)

หากปล่อยรกร้างเป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกัน จะถูกเก็บภาษีเพิ่มอีก 0.3% ในปีที่ 4 และถูกเก็บเพิ่มขึ้น 0.3% ทุกๆ 3 ปี หากยังไม่ได้มีการนำมาทำประโยชน์ แต่สูงสุดไม่เกิน 3% ทั้งนี้อัตราการเก็บภาษีตามมูลค่าแบบขั้นบันไดดังกล่าว จะบังคับใช้ใน 2 ปีแรก (2563-2564) ส่วนปีต่อไปจะพิจารณาเก็บตามอัตราเพดานสูงสุดอีกครั้งนี้

ในการเรียกเก็บภาษีจะมีจดหมายแจ้งการประเมินภาษีส่งตรงไปถึงที่ หากได้เเจ้งประเมินภาษีแล้วพบว่ามีข้อผิดพลาด สามารถยื่นคำร้องขอทบทวนภาษีได้ใหม่ภายในเวลา 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ โดยคำร้องที่ยื่นไปจะพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 60 วัน เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว หากมีการประเมินภาษีที่ผิดพลาดไปทางท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งจำนวนภาษีที่จะต้องเสียแล้วให้ไปรับคืนภาษีภายใน 15 วัน หากผู้บริหารท้องถิ่นเห็นว่าภาษีที่ประเมินไปนั้นถูกต้องแล้ว สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อผู้บริหารท้องถิ่นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง

จากนั้นผู้บริหารท้องถิ่นจะส่งคำอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีภายใน 15 วัน และต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน โดยมีสิทธิขยายเวลาพิจารณาได้อีกไม่เกิน 30 วัน เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยเสร็จ จะต้องแจ้งคําวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พิจารณาเสร็จ หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ขยายออกไป จะมีสิทธิฟ้องเป็นคดีต่อศาลได้โดยไม่ต้องรอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําวินิจฉัยอุทธรณ์

หากไม่ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีสิทธิ์ถูกยึดอายัติ

หากไม่มีการชำระภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด จะกลายเป็นภาษีค้างชำระที่จะต้องเร่งตามติดเร่งรัดให้เกิดการชำระให้หมด โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้เสียภาษีภายในเดือนถัดไป เพื่อให้มาชําระภาษีค้างชําระ พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม โดยจะเสียค่าปรับดังนั้น

ถ้าไม่ได้มาจ่ายภาษีภายในเวลาที่กําหนด แต่ต่อมาได้มาชําระภาษีก่อนที่จะได้รับหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 10% ของจํานวนภาษีค้างชําระ

ถ้าจ่ายภาษีภายในระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 20% ของจํานวนภาษีค้างชําระ

ถ้าจ่ายภาษีภายหลังจากเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 40% ของจํานวนภาษีค้างชําระ

ผู้เสียภาษีที่มิได้ชําระภาษีภายในเวลาที่กําหนด ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนของจํานวนภาษีค้างชําระ โดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกําหนดเวลาชําระภาษีจนถึงวันที่มีการชําระภาษี แต่ต้องไม่เกินกว่าจํานวนภาษีที่ต้องจ่าย

ขณะเดียวกันถ้าผู้เสียภาษีไม่มาชําระภายในระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งเตือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะส่งข้อมูลการค้างชำระไปให้สำนักงานที่ดิน ทำให้การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างทําไม่ได้ หากมีภาษีค้างชำระ และหากพ้นกําหนด 90 วันนับแต่วันที่ผู้ค้างชําระภาษีได้รับหนังสือแจ้งเตือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถยึด อายัด ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ค้างชำระภาษีไปขายทอดตลาดได้

แหล่งอ้างอิง

https://blog.ghbank.co.th/

http://www.fpo.go.th/

https://www.posttoday.com/   

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

6 เหตุผลที่ต้องลงทุนคอนโดมิเนียมลีสโฮลด์

จับตาอสังหาฯ ยุค New Normal และดีมานด์หลังโควิด-19

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน
1333