ข้อกำหนดราคาและสินค้าควบคุมที่ผู้ประกอบต้องใส่ใจ

ปัจจุบัน พ.ร.บ. สินค้าและบริการ พ.ศ. 2562 ยังควบคุมถึงการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ และราคาขนส่งของผู้ส่งอาหาร Delivery ด้วย เรื่องนี้ใกล้ตัวกว่าที่คิด #พรบ_สินค้าและบริการ #สินค้าควบคุม #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

การกำหนดสินค้าและราคานั้นมีข้อกฎหมายบัญญัติไว้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ภายใต้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 เป็นต้นมา เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อใช้คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในด้านราคาสินค้าและบริการ ป้องกันไม่ให้ราคาสินค้า-บริการสูงขึ้นรวดเร็วเกินสมควร และทำให้ปริมาณสินค้ามีเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศด้วย

การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติมขึ้นมาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นภายในประเทศไทย ดังนั้นการที่ภาครัฐจะออกมาปรับเปลี่ยนข้อกำหนดบางอย่าง เช่น ออกมาตรการควบคุมการจำหน่ายหน้ากากอนามัย หรือควบคุมบริการขนส่งสำหรับธุรกิจออนไลน์ดังที่เป็นข่าวในขณะนี้ก็เป็นสิ่งที่ควร เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์และหน้ากากอนามัยนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ของคนในยุคที่ต้องเผชิญกับโรคโควิด-19 ตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้มีความต้องการสูงท่ามกลางกระแสการแพร่ระบาดที่ยังควบคุมไม่ได้แบบเด็ดขาดถาวร

พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 (สำหรับท่านที่ต้องการศึกษา) http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C753/%C753-20-2542-a0001.pdf ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme

ไทม์ไลน์ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

การกำหนดราคาสินค้าหรือบริการควบคุมเกิดขึ้นมาในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ภาคเศรษฐกิจของไทยเป็นการเกษตรกรรมและธุรกิจขนาดเล็ก ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจึงมุ่งสนับสนุนภาคการเกษตร ซึ่งเป็นภาคที่มีประชากรเป็นจำนวนมากของประเทศ

ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการทางกฎหมายเพื่อรับมือกับการกักตุนสินค้าของธุรกิจเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค คือ พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พุทธศักราช 2480 ก่อนจะยกเลิกการใช้ข้อกฎหมายการค้ากำไรเกินควรไปในปี 2480 และเปลี่ยนผ่านมาสู่ยุคสมัยของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันทางการตลาดเกิดขึ้น

จึงมีความเห็นชอบให้ตราเป็นพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 ขึ้นมา เพื่อควบคุมการกำหนดราคาสินค้าที่ไม่เป็นธรรมและป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ และมีการปรับปรุงข้อ

กฎหมายให้เหมาะสมแยกเรื่องการกำหนดราคาสินค้าออกจากการผูกขาดทางเศรษฐกิจ เพราะมีระเบียบปฏิบัติต่างกันและมีการปรับใช้ให้เข้าสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ ก่อนจะมาเป็นตราพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่มีการบังคับใช้มาจนถึงวันนี้ มีทั้งในส่วนของการกำกับดูแลราคาสินค้าหรือบริการของประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะขอกล่าวถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับราคาสินค้าหรือบริการภายในประเทศไว้พอสังเขป ดังนี้

– การดำเนินการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการ : ตามข้อกำหนดในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 กล่าวคือกำหนดให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการแสดงราคาสินค้าและบริการได้ ซึ่งคณะกรรมการฯ ดังกล่าวจะมีการพิจารณาและทบทวนรายการสินค้า ที่จะต้องมีการปิดป้ายแสดงราคาสินค้าหรือบริการเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบว่าสินค้ารายการใดยังไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในบัญชีรายการที่จะต้องปิดป้ายแสดงราคา ก็จะต้องมีการออกประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้สินค้านั้นๆ อยู่ในบังคับต้องปิดป้ายแสดงราคา

– การกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ : ตามข้อกำหนดในมาตรา 29 ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการใดๆ โดยจงใจที่จะทำให้ราคาต่ำเกินสมควรหรือสูงเกินสมควร หรือทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใด และคณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ถือว่าเป็นการทำให้ราคาต่ำเกินสมควรหรือสูงเกินสมควร หรือทำให้ปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใดก็ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

· มาตรการการกำกับดูแลสินค้าควบคุม ตามข้อกำหนดในมาตรา 30 ได้กำหนดห้ามมิให้บุคคลใดกักตุนสินค้าควบคุม หรือไม่นำสินค้าควบคุมที่มีไว้เพื่อจำหน่ายออกจำหน่ายหรือเสนอขายตามปกติ หรือปฏิเสธการจำหน่าย หรือประวิงการจำหน่ายหรือการส่งมอบสินค้าควบคุม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

· มาตรการกำกับดูแลธุรกิจบริการควบคุม ตามข้อกำหนดในมาตรา 31 ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการควบคุมหยุดการให้บริการตามปกติ หรือปฏิเสธการให้บริการ หรือประวิงการให้บริการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เนื่องจากปัจจุบันได้มีการซื้อขายสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง

คณะกรรมการฯ จึงได้มีประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฉบับที่ 49 พ.ศ. 2561 เรื่องการแสดงราคาและรายละเอียดเกี่ยวกับการจําหน่ายสินค้าและบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์ ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561 ให้ใช้บังคับในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 (5) และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์ต้องแสดง

1. ราคาสินค้า

2. ค่าบริการ เช่น ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์

3. ประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด น้ำหนักของสินค้าหรือบริการ

4. รายละเอียดของสินค้าหรือบริการ

5. กรณีมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากราคาจำหน่วยสินค้าหรือบริการ

ที่แสดงไว้ตามข้อ 1-4 ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแสดงค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้ชัดเจน ครบถ้วนและเปิดเผยโดยแสดงไว้ควบคู่กับการแสดงราคาจำหน่ายสินค้าหรือค่าบริการที่ให้บริการด้วย กรณีการแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าหรือค่าบริการที่ให้บริการตามข้อ 1+4 ต้องแสดงให้ตรงกับราคาที่จำหน่ายหรือค่าบริการที่ให้บริการ แต่มิให้ใช้บังคับกับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อต่ำกว่าราคาจำหน่าย หรือค่าบริการที่แสดงไว้ โดยวิธีการแจ้งราคาสินค้าและบริการที่ถูกต้อง คือ

(1) เขียน พิมพ์ หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นใดในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบออนไลน์ของผู้ประกอบธุรกิจ

(2) ในลักษณะชัดเจน ครบถ้วน เปิดเผย และสามารถอ่านได้โดยง่าย

(3) ให้แสดงราคาต่อหน่วย

(4) ราคาหรือค่าบริการนั้น จะมีตัวเลขภาษาใดก็ได้ แต่ต้องมีตัวเลขอารบิคอยู่ด้วย

(5) ข้อความหรือรายการที่แสดงควบคู่กับราคาจำหน่ายหรือค่าบริการต้องเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได

รายละเอียดรายการสินค้าควบคุมตามประกาศกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ วันที่ 3 กรกฎาคม 2562 https://www.dit.go.th/

ต่อมาคณะรัฐมนตรีเห็นชอบการกำหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 2563 รวม 51 รายการ (46 สินค้า และ 5 บริการ) เพิ่มเติมตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งเป็นการทบทวนรายการสินค้าและบริการควบคุมที่ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 53 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 4 ก.ค. 62 และจะสิ้นสุด 3 ก.ค. 63 สำหรับการกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ปี 63 ยังคงรายการสินค้าควบคุมตามเดิม จำนวน 50 รายการ ปรับรายละเอียด 2 รายการ และเพิ่มเติม 1 รายการ มีรายละเอียดดังนี้

1. ปรับรายละเอียด 2 รายการ

– รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุก ปรับเป็น “รถจักรยานยนต์ รถยนต์บรรทุก” เนื่องจากรถยนต์นั่งเป็นสินค้าที่มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและไม่กระทบกับผู้บริโภคทั่วไป

– บริการขนส่งสำหรับธุรกิจออนไลน์ ปรับเป็น “บริการซื้อขายและหรือบริการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์” เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ประกอบการและผู้บริโภคตามชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) หันมาใช้บริหารสินค้าออนไลน์มากขึ้น และมีการร้องเรียนของผู้บริโภคที่ได้รับเดือดร้อนจากการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์

2. เพิ่มรายการสินค้าควบคุม 1 รายการ

คือ กากดีดีจีเอส เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนมาปรับใช้ในสูตรอาหารสัตว์ที่ผลิตในประเทศ สามารถทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ ปัจจุบันมีแน้วโน้มการนำเข้ากากดีดีจีเอสจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านราคาที่เกษตรกรจะได้รับและเสถียรภาพของตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตในประเทศ

3. ยกเลิกรายการสินค้าควบคุม 2 รายการ คือ

1) น้ำยาปรับผ้านุ่ม เนื่องจากเป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นใช้ในทุกครัวเรือน และมีการแข่งขันสูง และเป็นสินค้าทางเลือกขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้บริโภค

2) บริการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้า เนื่องจากปัจจุบันจำนวนสถานที่เก็บสินค้ามากกว่าความต้องการและมีการแข่งขันสูง จึงไม่กระทบต่อราคาค่าเช่าสถานที่เก็บสินค้า

ทั้งนี้ การกำหนดให้สินค้าและบริการใดให้เป็นสินค้าควบคุมนั้นให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. สินค้าและบริการ พ.ศ. 2562 เพื่อป้องกันการกำหนดราคาซื้อ ราคาจำหน่ายหรือการกำหนดเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และในปัจจุบันนี้มีเรื่องร้อนเรียนจากผู้บริโภคทั้งในการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ และราคาขนส่งของผู้ส่งอาหาร Delivery จำนวนมาก การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 63 จะครอบคลุมผู้ให้บริการกลุ่มผู้ให้บริการเหล่านี้ด้วย

ว่าด้วยเรื่องการจับกุมผู้กระทำความผิด ตามข้อกำหนดในมาตรา 23 เพื่อประโยชน์ในการจับกุมผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การจับกุมผู้กระทําความผิดให้กระทําได้โดยไม่ต้องมีหมายจับเมื่อปรากฏว่ามีการกระทําความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุอื่นที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ.

แหล่งอ้างอิง :

https://www.senate.go.th/

https://www.dit.go.th/

http://web.krisdika.go.th/

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< เพิ่มยอดขายด้วยการ “เล่า” ยิ่งทำให้เชื่อ โอกาสยิ่งมาก ธุรกิจปรับตัวอย่างไร เมื่อ Digital Lifestyle แทรกอยู่ทุกมิติ